ตามนัยแห่งกำเนิด

         กำเนิด บาลีว่า โยนิ หมายถึงอาการที่เกิดใหม่ของสัตว์ทั้งหลายอีกนัยหนึ่งหมายความว่า ที่ที่ปฏิสนธิวิญญาณ
อาศัยเกิด หรือที่ที่สัตว์ทั้งหลายอาศัยเกิดมี ๔ อย่าง

         ๑. ชลาพุชกำเนิด ต้องอาศัยเกิดจากท้องมารดา เกิดในมดลูก คลอดออกมา เป็นตัวเลย แล้วค่อย ๆ โตขึ้นตาม
ลำดับสัตว์ที่เป็นชลาพุชกำเนิด ได้แก่
          ก. มนุษย์
          ข. เทวดาชั้นต่ำ
          ค. สัตว์ดิรัจฉาน
          ง. เปรต (เว้นนิชฌามตัณหิกเปรต คือ เปรตจำพวกที่ถูกไฟเผาอยู่เสมอ)
          จ. อสุรกาย
         ที่เรียกว่าเทวดาชั้นต่ำ ในที่นี้หมายถึงเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา ที่เป็นภุมมัฏฐ เทวดา คือเทวดาที่อาศัยอยู่บนพื้น
แผ่นดิน ไม่มีวิมานที่ลอยอยู่ในอากาศเป็นที่อยู่ ซึ่งมีชื่อว่า วินิปาติกอสุรา และเวมานิกเปรต เฉพาะพวกที่ปฏิสนธิด้วยอุเบกขา สันตีรณกุสลวิบากเท่านั้น


หน้า ๑๑๒

         ๒. อัณฑชกำเนิด คือเกิดในฟองไข่ ต้องอาศัยเกิดจากท้องมารดาเหมือนกัน แต่มีฟองห่อหุ้ม คลอดออกมาเป็นไข่
ก่อนแล้วจึงแตกจากไข่มาเป็นตัว และค่อย ๆ เติบโตขึ้นตามลำดับ สัตว์ที่เป็นอัณฑชกำเนิด ได้แก่
         ก. มนุษย์ (มีมาในธัมมบทว่า พระ ๒ องค์ที่เรียกกันว่า ทเวพาติกเถระ ซึ่งเป็นลูกของโกตนกินรี เมื่อเกิดมาทีแรก
ออกมาเป็นฟองไข่ก่อน แล้ว จึงคลอดออกมาจากฟองไข่นั้นอีกทีหนึ่ง)
         ข. เทวดาชั้นต่ำ
         ค. สัตว์ดิรัจฉาน
         ง. เปรต (เว้นนิชฌามตัณหิกเปรต)
         จ. อสุรกาย
         ชลาพุชกำเนิด และอัณฑชกำเนิด ทั้ง ๒ นี้ รวมเรียกว่า คัพภเสยยกกำเนิด เพราะต้องอาศัยเกิดในครรภ์มารดา
เหมือนกัน ต่างกันแต่เพียงว่า ออกมาเป็นตัวเลย หรือออกมาเป็นฟองไข่ก่อน แล้วจึงแตกเป็นตัวภายหลัง

         ๓. สังเสทชกำเนิด หมายถึงเกิดขึ้นในที่มีความเปียกชื้น เกิดขึ้นโดยไม่ต้อง อาศัยบิดา มารดา ไม่ได้อาศัยเกิดจาก
ท้องมารดา เกิดขึ้นโดยอาศัย ต้นไม้ ผลไม้ ดอกไม้ ดอกบัว โลหิต หรือที่เปียกชื้น เป็นต้น เกิดมาก็เล็กเป็นทารก แล้วจึง
ค่อย ๆ เติบโตขึ้นมา สัตว์ที่เป็นสังเสทชกำเนิด ได้แก่


หน้า ๑๑๓

         ก. มนุษย์ (เช่น นางจิญจมาณวิกาเกิดจากต้นมะขาม นางเวฬุวดีเกิดจาก ต้นไผ่ นางปทุมวดีเกิดจากดอกบัว โอรสของนางปทุมวดีรวม ๔๙๙ องค์ เกิดจากโลหิต เป็นต้น)
         ข. เทวดาชั้นต่ำ
         ค. สัตว์ดิรัจฉาน
         ง. เปรต (เว้นนิชฌามตัณหิกเปรต)
         จ. อสุรกาย

         ๔. โอปปาติกกำเนิด หมายถึงเกิดขึ้นและใหญ่โตเต็มที่ในทันทีทันใดนั้นเลย ทีเดียว ไม่ต้องอาศัยเกิดจากท้อง
มารดาไม่ได้อาศัยสิ่งใดเกิด อาศัยอดีตกรรมอย่าง เดียว สัตว์ที่เป็นโอปปาติกกำเนิด ได้แก่
         ก. มนุษย์ มีในสมัยต้นกัปป์
         ข. เทวดาทั้ง ๖ ชั้น (เว้นเทวดาชั้นต่ำ)
         ค. พรหมทั้งหมด
         ง. สัตว์นรก, สัตว์ดิรัจฉาน, อสุรกาย
         จ. เปรต (รวมทั้งนิชฌามตัณหิกเปรตด้วย)


หน้า ๑๑๔

         ๕. หรือจะ กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า
         ก. มนุษย์ ๑ ภูมิ
         ข. เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา (เว้นเทวดาชั้นต่ำ) ๑ ภูมิ
         ค. สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภูมิ
         ง. เปรต (เว้นนิชฌามตัณหิกเปรต) ๑ ภูมิ
         จ. อสุรกาย ๑ ภูมิ
รวม ๕ ภูมินี้ มีกำเนิดได้ทั้ง ๔

         ๖. เทวดาชั้นต่ำ (เทวดาชั้นจตุมหาราชิกาที่เป็นภุมมัฏฐเทวดา) มีกำเนิดได้ เพียง ๓ คือ ชลาพุชกำเนิด อัณฑช
กำเนิดและสังเสทชกำเนิด เท่านั้น

         ๗. เทวดาตั้งแต่ชั้นดาวดึงส์ขึ้นไป ๕ ภูมิ รูปพรหม ๑๖ ภูมิ อรูปพรหม ๔ ภูมิ นิชฌามตัณหิกเปรต ๑ ภูมิ และสัตว์
นรก ๑ ภูมิ มีกำเนิดได้อย่างเดียว คือ โอปปาติกกำเนิด

         ๘. ชลาพุชกำเนิด และ อัณฑชกำเนิด ทั้ง ๒ กำเนิดนี้ รวมเรียกว่า คัพภเสยยกกำเนิด นั้น ย่อมเกิดได้เฉพาะ
ในกามภูมิเท่านั้น
         ในปฏิสนธิกาล มีรูปเกิดได้ ๓ กลาป คือ กายทสกกลาป มีรูป ๑๐ รูป, หทยทสกกลาปมีรูป ๑๐ รูป และภาวทสกกลาป
(กลาปใดกลาปเดียว)มีรูป ๑๐ รูป รวม ๓ กลาป เป็นรูป ๓๐ รูป แต่ถ้านับรวมรูป (ซ้ำไม่นับ) ก็ได้เพียง ๑๕ รูป คือ อวินิพโภครูป ๘, ชีวิตรูป ๑,


หน้า ๑๑๕

กายปสาทรูป ๑, หทยรูป ๑, อิตถีภาวรูปหรือ ปุริสภาวรูป ๑, ปริจเฉทรูป ๑, อุปจยรูป ๑, และสันตติรูป ๑
         รูปที่เกิดไม่ได้ในปฏิสนธิกาล ๑๓ รูป คือ ปสาทรูป ๔ (เว้นกายปสาทรูป), สัททรูป ๑, ภาวรูป (รูปใดรูปเดียว) ๑, วิญญัตติรูป ๒, วิการรูป ๓, ชรตารูป ๑, และ อนิจจตารูป ๑
         ในปวัตติกาล ถ้าไม่บกพร่องเลย รูปก็เกิดได้ทุกกลาป คือ กัมมชกลาป ๘ (เว้นอิตถีภาวทสกกลาป หรือปุริสภาวทสก
กลาป กลาปใดกลาปหนึ่ง), จิตตชกลาป ๖, อุตุชกลาป ๔, อาหารชกลาป ๒, แต่เมื่อนับรวมรูป (ซ้ำไม่นับ) ก็ได้ครบทั้ง ๒๗
รูป คือ ต้องเว้นภาวรูป รูปใดรูปหนึ่งเสีย ๑ รูป

         ๙. สังเสทชกำเนิด และ โอปปาติกกำเนิด ถ้าเกิดในกามภูมิ ในปฏิสนธิกาล ก็มีกัมมชกลาปเกิดได้ทั้ง ๘ กลาป (เว้นภาวทสกกลาปเสีย ๑ กลาป เพราะคงมีได้แต่เพียงกลาปเดียว) รวม ๗๙ รูป แต่ถ้านับรวมรูป (ซ้ำไม่ นับ) ก็ได้ ๑๙ รูป
คือ อวินิพโภครูป ๘, ชีวิตรูป ๑, ปสาทรูป ๕, หทยรูป ๑, ภาวรูป (รูปใดรูปเดียว) ๑, ปริจเฉทรูป ๑, อุปจยรูป ๑, และ
สันตติรูป ๑          
         รูปที่เกิดไม่ได้ในปฏิสนธิกาล ๙ รูป คือ สัททรูป ๑, ภาวรูป (รูปใดรูปเดียว) ๑, วิญญัตติรูป ๒, วิการรูป ๓,
ชรตารูป ๑, อนิจจตารูป ๑


หน้า ๑๑๖

         ในปวัตติกาล ถ้าไม่บกพร่องเลย ก็มีรูปเกิดได้ครบทั้ง ๒๗ รูป (เว้นภาวรูป รูปใดรูปหนึ่งเสีย ๑ รูป)
         อนึ่ง โอปปาติกกำเนิด ที่เกิดในกามภูมิ เฉพาะสัตว์นรก และนิชฌามตัณหิก เปรตนั้น ภาวรูปไม่มีทั้ง ๒ รูป เพราะ
สัตว์ ๒ จำพวกนี้ ไม่มีเพศ

         ๑๐. โอปปาติกกำเนิด ที่เกิดในรูปพรหม ๑๕ ภูมิ (เว้นอสัญญสัตตภูมิ)
         ในปฏิสนธิกาล มีรูปเกิดได้ ๔ กลาป คือ จักขุทสกกลาป มีรูป ๑๐ รูป, โสตทสกกลาป มีรูป ๑๐ รูป, หทยทสกกลาป มีรูป ๑๐ รูป, ชีวิตนวกกลาป มีรูป ๙ รูป รวมเป็น ๓๙ รูป แต่ถ้านับรวมรูป (ซ้ำไม่นับ) แล้วคงได้ ๑๕ รูป คือ อวินิพโภครูป
๘, จักขุปสาทรูป ๑, โสตปสาทรูป ๑, หทยรูป ๑, ชีวิตรูป ๑, ปริจ เฉทรูป ๑, อุปจยรูป ๑, สันตติรูป ๑
         ในปวัตติกาล มีรูปเกิดได้อีก คือ สัททรูป ๑, วิญญัตติรูป ๒, วิการรูป ๓, ชรตารูป ๑, อนิจจตารูป ๑ รวม ๘ รูป          ส่วนรูปที่มีไม่ได้ เกิดไม่ได้เลย ไม่ว่าในปฏิสนธิกาล หรือในปวัตติกาลนั้น คือ ฆานปสาทรูป ๑, ชิวหาปสาทรูป ๑, กายปสาทรูป ๑ ,ภาวรูป ๒ รวม ๕ รูป


หน้า ๑๑๗

         ๑๑. โอปปาติกกำเนิด ที่เกิดในอสัญญสัตตภูมิ ๑ ภูมิ นั้น
         ในปฏิสนธิกาล มีรูปเกิดได้กลาปเดียว คือ ชีวิตนวกกลาป มีรูป ๙ รูป ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘ ชีวิตรูป ๑
         แต่เมื่อนับรูปทั้งหมดแล้ว ก็ต้องนับปริจเฉทรูป ๑, อุปจยรูป ๑ และสันตติ รูป ๑ ซึ่งไม่นับเป็นองค์ของกลาปนั้นเพิ่ม
เข้าไปอีกด้วย จึงเป็นรูปที่เกิดได้ใน ปฏิสนธิกาล เป็นจำนวน ๑๒ รูป
         ในปวัตติกาล มีรูปเกิดได้อีก ๕ รูป คือ วิการรูป ๓, ชรตารูป ๑ และ อนิจจตารูป ๑

         ๑๒. โอปปาติกกำเนิด ที่เกิดในอรูปพรหมนั้น ไม่มีรูปเกิดเลย

---------------------------------


หน้า ๑๑๘

นิพพาน

         ปรมัตถธรรม มี ๔ อย่าง คือ
         ๑. จิต เป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์
         ๒. เจตสิก เป็นธรรมชาติที่ประกอบกับจิต ปรุงแต่งจิต
         ๓. รูป เป็นธรรมชาติที่แตกดับด้วยปัจจัยที่เป็นข้าศึกแก่กัน
         ๔. นิพพาน เป็นธรรมชาติที่พ้นจากเครื่องร้อยรัด คือ ตัณหา
         ทั้ง ๔ นี้ เป็นปรมัตถ เป็นของจริง มีจริง ไม่แปรผันเปลี่ยนแปลง มีลักษณะ พิเศษเฉพาะตัวทรงสภาพของตนเองไว้
ไม่เสื่อมสลาย ธรรมชาติใดที่ทรงไว้ซึ่งสภาวะ ของตนเองไม่เสื่อมสลายไป ธรรมชาตินั้นเรียกว่า " ปรมัตถ " ซึ่งมีอยู่ ๔
ประการ ดังกล่าวแล้ว

         อภิธรรม คือ ธรรมอันประเสริฐยิ่ง ที่ว่าประเสริฐยิ่ง เพราะเป็นธรรมที่มีอยู่ จริง เป็นธรรมที่เป็นจริง
         ปรมัตถธรรม คือ ธรรมที่มีเนื้อความอันไม่วิปริตแปรผัน

         อภิธรรม กล่าวถึงปรมัตถธรรม ๔ ประการ อันได้แก่ จิต เจตสิก รูป และ นิพพาน
         จิต เจตสิก และรูป ได้กล่าวมาแล้ว บัดนี้จะกล่าวถึง นิพพาน
         รูป เป็นรูปธรรม และ เป็นรูปขันธ์ด้วย
         จิต และ เจตสิก เป็นอรูปธรรม คือ ธรรมที่ไม่ใช่รูปและธรรมที่ไม่มีรูป จึงมี ชื่อว่า เป็น นามธรรม และเป็นนาม
ขันธ์ด้วย
         นิพพาน ก็เป็น อรูปธรรม คือ ธรรมที่ไม่ใช่รูป เป็นธรรมที่ไม่มีรูปเหมือน กัน และก็เป็นนามธรรมเช่นเดียวกัน แต่นิพพาน ไม่เป็นนามขันธ์ เพราะ
         ธรรมที่จะขึ้นชื่อว่าขันธ์ หรือที่จัดเป็นขันธ์ จะต้องสามารถมีลักษณะได้เป็น ๑๑ กอง หรือ ๑๑ อย่าง คือ ขันธ์ เป็นได้ในกาลทั้ง ๓ คือ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ส่วนนิพพานนั้น พ้นจากกาลทั้ง ๓ จึงไม่เป็นขันธ์


หน้า ๑๑๙

         ขันธ์ เป็นได้ทั้ง อัชฌัตตะ ภายใน และพหิทธะ ภายนอก ส่วนนิพพานเป็น พหิทธะ แต่อย่างเดียว จึงไม่เป็นขันธ์
         ขันธ์ เป็นได้ทั้ง โอฬาริกะ หยาบ และสุขุมะ ละเอียด ส่วนนิพพานเป็น สุขุมะ แต่อย่างเดียว จึงไม่เป็นขันธ์
         ขันธ์ เป็นได้ทั้ง หินะ เลว และ ปณีตะ ประณีต ส่วนนิพพานเป็นปณีตะแต่ อย่างเดียว จึงไม่เป็นขันธ์
         ขันธ์ เป็นได้ทั้ง สันติเก ใกล้ และทูเร ไกล ส่วนนิพพานเป็นทูเร ไกลแต่ อย่างเดียว จึงไม่เป็นขันธ์
         เมื่อ นิพพาน ไม่ใช่ขันธ์ จึงเรียกว่าเป็น ขันธวิมุตติ คือ พ้นจากขันธ์ และ นิพพาน พ้นจากกาลทั้ง ๓ ด้วย จึงได้ชื่อว่าเป็น กาลวิมุตติ

         จิต เจตสิก รูป นั้นเป็นสังขตธรรม เป็นธรรมที่ต้องมีปัจจัยมีสิ่งที่มาปรุง แต่ง จึงจะเกิดมีเกิดเป็นไปได้ คือ
จะต้องมี
         (๑) อารมณ์ วัตถุ มนสิการ มาประชุมมาปรุงแต่ง จึงจะเกิดจิตและเจตสิก
         (๒) กรรม จิต อุตุ อาหาร มาประชุมมาปรุงแต่ง จึงจะเกิดรูป
         หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า นามขันธ์นั้นเกิดจากอารมณ์ วัตถุ มนสิการ ส่วนรูปขันธ์นั้นเกิดจาก กรรม จิต อุตุ
อาหาร
          ส่วน นิพพาน เป็นธรรมที่พ้นจากการปรุงแต่งทั้งปวง ดังนั้นจึงได้ชื่อว่าเป็น อสังขตธรรม


หน้า ๑๒0

ปรมัตถธรรม สังขตธรรม   จิต
เจตสิก
ต้องมีอารมณ์ วัตถุ มนสิการ ปรุงแต่ง
รูป ต้องมีกรรม จิต อุตุ อาหาร ปรุงแต่ง
อสังขตธรรม นิพพาน ไม่ต้องมีอะไรปรุงแต่ง

สภาพของนิพพาน

         เมื่อกล่าวโดยสามัญญลักษณะสภาพของนิพพานมีเพียง ๑ คือ อนัตตลักษณะ เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่ว่างเปล่า ปราศจากตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่มีการเกิดแก่ เจ็บ ตาย ใด ๆ ทั้งสิ้น
         แต่นิพพาน ไม่มีอนิจจลักษณะ เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่เที่ยง มั่นคง ยั่งยืน ไม่แปรผัน
         และนิพพาน ไม่มีทุกขลักษณะ เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่ทนอยู่ได้ ด้วยว่า ไม่มีการเกิด ไม่มีการดับ และด้วยเหตุที่
นิพพานเป็นสิ่งที่ว่างเปล่า จึงมีสภาพที่ทนอยู่ หรือดำรงคงอยู่ในสภาพที่ว่างเปล่านั้นตลอดไป ไม่มีอะไรที่จะมาปรุงแต่งให้ กลายเป็นไม่ว่างได้