ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

         ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติตั้งมั่นพิจารณาเนือง ๆ ซึ่งธรรมมี ๕ บรรพ คือ
         บรรพที่ ๑ นิวรณ์ ๕
         บรรพที่ ๒ ขันธ์ ๕
         บรรพที่ ๓ อายตนะ ๑๒
         บรรพที่ ๔ โพชฌงค์ ๗
         บรรพที่ ๕ อริยสัจจ ๔
         นิวรณ์ ๕ ได้กล่าวแล้วข้างต้นในอกุสลสังคหะ อันเป็นสังคหะแรกของ ปริจเฉทนี้
         ขันธ์ ๕, อายตนะ ๑๒ และ อริยสัจ ๔ จะกล่าวต่อไปในสัพพสังคหะ อันเป็นสังคหะสุดท้ายของปริจเฉทนี้
         โพชฌงค์ ๗ ก็จะได้กล่าวในโพธิปักขิยสังคหะ ที่กำลังกล่าวอยู่นี่แหละ
         สติตั้งมั่นพิจารณาเนือง ๆ ซึ่งนิวรณ ๕ นั้น เช่น กามฉันทะ หรือ อุทธัจจะ เกิดขึ้น ก็ให้รู้ทันในทันใดนั้นว่า กามฉันทะหรืออุทธัจจะเกิดขึ้น เมื่อดับไป ก็ให้รู้ ทันในทันทีว่า ดับไป
         สติตั้งมั่นในการพิจารณา อุปาทานขันธ์ ๕, อายตนะ ๑๒, โพชฌงค์ ๗ หรือ อริยสัจจ ๔ นั้น เมื่อธรรมใด
ปรากฏขึ้น ก็ให้รู้ทันว่า ธรรมนั้น ๆ เกิดขึ้น เมื่อธรรม ที่เกิดขึ้นนั้นดับไป ก็ให้รู้ทันว่าธรรมนั้น ๆ ดับไป ทำนองเดียวกัน
         ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ใช้ในการเจริญวิปัสสนาภาวนาแต่อย่างเดียว เป็น การพิจารณาให้รู้ให้เห็นทั้งรูป
ทั้งนาม จึงกล่าวได้ว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน และ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานทั้ง ๓ นี้ ย่อม
รวมลงได้ ในธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานนี้ทั้งสิ้น ดังนั้น ข้อความและความหมายต่าง ๆ ใน ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็เป็นไปตามนัยแห่ง กาย เวทนา จิต ที่กล่าวมาแล้วนั้น


หน้า ๕๒

สรุปสติปัฏฐาน

         สติปัฏฐาน ๔ นี้ สรุปความได้โดยย่อว่า
         การเจริญสติปัฏฐาน ก็เพื่อให้เกิดปัญญารู้เห็นว่า กายก็สักแต่ว่ากาย เวทนา ก็สักแต่ว่าเวทนา จิตก็สักแต่ว่าจิต ธรรมก็สักแต่ว่าธรรม ไม่ใช่ สัตว์ บุคคล ตัว ตน เรา เขา แม้ญาณความรู้นั้น ก็เพียงสักแต่ว่ารู้ สติที่ระลึก ก็เพียงแต่ว่า
อาศัย ระลึก ไม่อิงอาศัย ตัณหา ความอยาก และ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ไม่ยึดมั่นถือมั่นใน สิ่งหนึ่งสิ่งใด กล่าวคือ ไม่ยึดมั่น
ถือมั่นว่า เอตํ มม นั่นเป็นของเรา(ยึดมั่นใน ตัณหา) เอโสหมสฺมิ เราเป็นนั่น(ยึดมั่นในมานะ) เอโส เม อตฺตา นั่นเป็น
ตัวของเรา(ยึดมั่นในทิฏฐิ) อย่างนี้แหละจึงจะเรียกว่า เจริญสติปัฏฐาน
         กายานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้นพิจารณารูปธรรม เมื่อกำหนดจนเกิดปัญญารู้แจ้ง เห็นชัดในรูปก็เรียกว่าถึง รูปปริจเฉทญาณ
         เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้นพิจารณานามธรรม คือ นามเจตสิก เมื่อ กำหนดจนเกิดปัญญารู้แจ้งเห็นชัดใน
นามเจตสิก ก็เรียกว่าถึง นามปริจเฉทญาณ
         จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้นพิจารณานามธรรม คือ นามจิต เมื่อกำหนดจน เกิดปัญญารู้แจ้งเห็นชัดใน
นามจิต ก็เรียกว่าถึง นามปริจเฉทญาณ
         ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้นพิจารณาทั้งรูปธรรมและนามธรรม เมื่อกำหนด จนเกิดปัญญารู้แจ้งเห็นชัดทั้งรูป
ทั้งนาม ซึ่งแยกจากกันได้ว่าเป็นคนละสิ่งคนละส่วน รูปอยู่ส่วนรูป นามเป็นส่วนนาม ไม่ปะปนกัน ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน รู้เห็นเช่นนี้แล้วก็ เรียกว่าถึง นามรูปปริจเฉทญาณ อันเป็นญาณต้นแห่ง โสฬสญาณ คือ ญาณ ๑๖ ซึ่งเป็นทางให้
บรรลุถึง มัคคญาณ ผลญาณต่อไป

อารมณ์ของสติปัฏฐาน

         ๑. มนฺทสฺส ตณฺหาจริตสฺส โอฬาริกํ กายานุปสฺสนาสติปฏฺฐานํ วิสุทฺธิ มคฺโค ฯ การพิจารณา
กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งมีอารมณ์หยาบ เป็นเหตุแห่ง ความบริสุทธิ์จากกิเลสแก่มันทะบุคคลที่มีตัณหาจริต
         ๒. ติกฺขสฺส สุขุมํ เวทนานุปสฺสนาสติปฏฺฐานํ วิสุทฺธิมคฺโคฯ การพิจารณา เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งอารมณ์ละเอียดสุขุม เป็นเหตุแห่งความบริสุทธิจาก กิเลส แก่ติกขะบุคคลที่มีตัณหาจริต


หน้า ๕๓

         ๓. ทิฏฺฐิจริตสฺสปิ มนฺทสฺส นาติปฺปเภทคตํ จิตฺตานุปสฺสนาสติปฏฺฐานํ วิสุทฺธิมคฺโค ฯ การพิจารณา
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งมีอารมณ์ไม่กว้างขวางนัก เป็นเหตุแห่งความบริสุทธิ์จากกิเลส แก่มันทะบุคคลที่มีทิฏฐิจริต
         ๔. ติกฺขสฺส ทิฏฺฐิจริตสฺส อติปฺปเภทคตํ ธมฺมานุปสฺสนาสติปฏฺฐานํ วิสุทฺธิมคฺโค ฯ การพิจารณา
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งมีอารมณ์กว้างขวางมาก เป็นเหตุแห่งความบริสุทธิจากกิเลส แก่ติกขะบุคคลที่มีทิฏฐิจริต
         ๕. ยสฺมา ปน กายเวทนาจิตฺตธมฺเมสุ กิญฺจิ ธมฺมํ อนามสิตฺวา ภาวนา นาม นตฺถิ ตสฺมา กิญฺจิ ธมฺมํ มนสิกาตพฺพํ ฯ บุคคลผู้ต้องการ มัคค ผล ถ้าไม่ เอาใจใส่พิจารณาธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดา กาย เวทนา
จิต ธรรม จะได้ชื่อ ว่า ทำมัคคญาณให้เกิดขึ้นไม่ได้ เพราะฉะนั้นผู้ปรารถนามัคคผล ควรเอาใจใส่ พิจารณาสติปัฏฐาน
ทั้ง ๔ อย่างใดอย่างหนึ่ง
         ๖. อยญฺหิ มคฺโค ภาวิโต อนุปุพฺเพน นิพฺพานสจฺฉิกิริยํ สาเธติฯ หนทาง คือ สติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้แล เมื่อบุคคลอบรมทำให้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่ง พระนิพพาน ให้สำเร็จได้โดยลำดับ
         ติกขะบุคคล ผู้รู้เร็ว มันทะบุคคล ผู้รู้ช้า ทั้ง ๒ นี้ต่างก็เป็น ติเหตุกปฏิสนธิบุคคลอย่างเดียวกัน คือ เป็นผู้ที่มีปัญญามาแต่กำเนิดเหมือนกัน เพียงแต่ว่าปัญญา นั้นกล้าหรืออ่อนกว่ากันไปหน่อยหนึ่งเท่านั้นเอง การรู้เร็วหรือรู้ช้านี้มีแสดงไว้อีก นัยหนึ่งว่า
         ก. อุคฆฏิตัญญูบุคคล คือผู้ที่มีอุปนิสัยบารมีแก่กล้ายิ่ง สามารถรู้ธรรมพิเศษ ได้โดยพลัน เพียงแต่ได้ฟังพระ
ธรรมเทศนาโดยสังเขป ก็ตรัสรู้มัคคผลนิพพาน อุปมาบุคคลจำพวกนี้ว่าเหมือนดอกบัวที่ขึ้นพ้นจากน้ำแล้ว คอยรับแสง
อาทิตย์อยู่ เมื่อได้รับแสงอาทิตย์ ก็จะบานในวันนั้นเอง
         ข. วิปจิตัญญูบุคคล คือผู้มีอุปนิสัยบารมีพอปานกลาง ต่อเมื่อได้จำแนก อรรถาธิบายแห่งพระธรรมเทศนา
นั้น ๆ ให้พิสดารออกไป จึงจะสามารถรู้ธรรม พิเศษนั้น ๆ จนตรัสรู้มัคคผลนิพพานได้ อุปมาบุคคลจำพวกนี้ว่า เหมือน
ดอกบัวที่ เพิ่งโผล่ขึ้นมาเสมอผิวน้ำ อันจะบานต่อเมื่อถึงวันรุ่งขึ้น
         ค. เนยยบุคคล คือ ผู้ที่มีอุปนิสัยบารมีน้อยหน่อย แม้จะได้สดับพระธรรม เทศนาอย่างพิสดาร ก็ยังไม่เห็น
แจ้งในธรรมนั้น ต้องกระทำมนสิการด้วยอุบาย ปัญญา สมาคมคบหาด้วยกัลยาณมิตร บำเพ็ญกิจอย่างพากเพียร เล่า
เรียนสมถะ วิปัสสนาด้วย ความอุตสาห จึงจะสำเร็จมัคคผล เปรียบบุคคลจำพวกนี้ว่า เหมือน ดอกบัว ที่ยังอยู่ใต้น้ำ ซึ่งมีโอกาสที่จะบานได้เหมือนกัน แต่ว่านานวันสักหน่อย


หน้า ๕๔

         ง. อภัพพบุคคล คือ ผู้ที่มีอุปนิสัยบารมียังไม่สมบูรณ์ แม้จะพากเพียรสัก เพียงไร ก็ไม่อาจที่จะรู้ธรรมพิเศษ
ในชาตินั้นได้เลย แต่ก็จะเป็นนิสัยปัจจัยต่อไปใน ภายภาคหน้า เปรียบบุคคลจำพวกนี้ว่า เหมือนดอกบัวที่ยังไม่ทันจะ
ได้โผล่พ้นเปือก ตมขึ้นมาด้วยซ้ำไป รังแต่จะเป็นอาหารของเต่าปลา
         เพื่อให้เห็นได้ง่ายว่า สติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้มี อารมณ์ อะไรเป็นที่อาศัย พิจารณา นิมิต (คือเครื่องหมาย) อันเกิด
จากการพิจารณา, วิปัลลาสธรรม (คือสิ่งที่ทำให้ เห็นวิปลาสไป) ที่ประหารได้ และ ปปัญจธรรม (คือสิ่งที่ทำให้เนิ่นช้า)
อันเป็นตัว การที่ก่อให้เกิดการวิปลาสไป จึงขอแสดงดังนี้

วิปัลลาสธรรม

         วิปัลลาสธรรม คือ สิ่งที่ทำให้เห็นวิปลาสคลาดเคลื่อนไปจากสภาพแห่งความ เป็นจริงนั้น มี ๔ ประการ คือ
สุภสัญญา สุขสัญญา นิจจสัญญา และ อัตตสัญญา
         ธรรม ๔ ประการนี้ ยังแยกความวิปลาสออกได้เป็น ๓ สาขา คือ
         ทิฏฐิวิปัลลาส วิปลาสไปเพราะเห็นผิด
         จิตตวิปัลลาส วิปลาสไปเพราะเข้าใจผิด
         สัญญาวิปัลลาส วิปลาสไปเพราะจำผิด จึงรวมเป็น วิปัลลาสธรรม ๑๒ ประการ ดังต่อไปนี้


หน้า ๕๕

         อนึ่ง คำว่า อัตตา นี้มีความหมายเป็นหลายนัย แล้วแต่ว่าความที่กล่าวนั้น มุ่งหมายว่ากระไร หมายว่าเป็น
ตัวตนก็ได้ หมายถึงอย่างอื่นก็มี ดังจะยกมาพอเป็น ตัวอย่างสัก ๒-๓ ประโยค เช่น
         อตฺตทีปา ภิกฺขเว วิหรถ ฯ ภิกษุทั้งหลายพวกเธอจงเป็นผู้มีตนเป็นที่พึ่งอยู่ คำว่า ตน ในที่นี้หมายถึง
กุสลธรรม
         อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา ฯ บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกฝนตน คำว่า ตน ในที่นี้หมายถึง จิตใจ
         นตฺถิ อตฺตสมํ เปมํ ฯ ความรักเสมอด้วยตนนั้นไม่มี คำว่า ตน ในที่นี้ หมายถึง กาย คือ ที่ประชุมแห่ง
รูปนาม

องค์ธรรมของสติปัฏฐาน

         องค์ธรรมของสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ได้แก่ สติเจตสิก
         ตามสัมปโยคนัยนั้น สติเจตสิกประกอบกับจิตที่เป็นโสภณได้ทั้งหมด คือ ๕๙ หรือ ๙๑ ดวง


หน้า ๕๖

         แต่สติเจตสิก ในสติปัฏฐานนี้ได้แก่ สติเจตสิกที่ประกอบกับติเหตุกชวนจิต ๓๔ ดวง เท่านั้น
         ส่วนสติเจตสิกที่ประกอบกับจิตที่เป็น มหากุสลญาณวิปปยุตต ๔ , มหากิริยา ญาณวิปปยุตต ๔, มหาวิบาก ๘, มหัคคตวิบาก ๙ รวมจิต ๒๕ ดวงนี้ เป็น สติปัฏฐานไม่ได้ เพราะ
         ก. สติเจตสิกที่ในมหากุสลญาณวิปปยุตต ๔, มหากิริยาญาณวิปปยุตต ๔ นั้น เป็นจิตที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา จึงไม่สามารถกำหนดให้ระลึกรู้ และตั้งมั่นใน อารมณ์อันเป็นหน้าที่ การงานของสติปัฏฐานนั้นให้ถึงนามรูปปริจเฉทญาณ
ได้ เหตุนี้จึงเป็นสติปัฏฐานไม่ได้
         แต่อีกนัยหนึ่งแสดงว่า แม้สติเจตสิกที่ประกอบกับจิตที่เป็นมหากุสลญาณ วิปปยุตต ๔ และมหากิริยาญาณ
วิปปยุตต ๔ ก็จัดเป็นสติปัฏฐานได้ เพราะการ เจริญสติปัฏฐานนั้น มิใช่ว่าจิตจะเป็นมหากุสลญาณสัมปยุตตอยู่เสมอ
ตลอดไป ย่อมต้อง มีจิตที่เป็นญาณวิปปยุตตบ้าง สัมปยุตตบ้าง สลับกันไป ดังนั้นสติเจตสิกที่ ประกอบกับจิต
มหากุสลญาณวิปปยุตตที่เกิดขึ้นในขณะที่เจริญสติปัฏฐาน จึงนับว่า เป็นสติปัฏฐานได้ ส่วนการที่จะเจริญได้ผลเพียงใด
หรือไม่นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ต่างหาก
         ส่วนมหากิริยาญาณวิปปยุตตจิต ๔ จะเกิดขึ้นในขณะใด จึงจะนับว่าเป็นสติ ปัฏฐานได้อย่างไรหรือไม่ ยังไม่
พบคำอธิบาย
         ข. สติเจตสิกที่ในมหาวิบากจิต ๘ มีหน้าที่ทำ ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ จุติกิจ และ ตทาลัมพนกิจ ไม่ได้ทำ
หน้าที่ระลึกรู้อารมณ์ และตั้งมั่นในอารมณ์เพื่อให้เห็น รูปนาม อันเป็นหน้าที่การงานของสติปัฏฐาน คือ ชวนจิต ดังนั้นจึงเป็นสติปัฏฐาน ไม่ได้
         ค. สติเจตสิกที่ในมหัคคตวิบากจิต ๙ ก็เช่นเดียวกัน มีหน้าที่การงานทำ ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ และ จุติกิจเท่านั้น ไม่ได้ทำหน้าที่ รู้เห็นรูปนาม อันเป็นการ งานของสติปัฏฐาน คือ ชวนกิจแต่อย่างใดเลย จึงเป็นสติปัฏฐานไม่ได้

สติปัฏฐาน กับ สติสัมปชัญญะ

         สติปัฏฐาน คือ สติตั้งมั่นในการพิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม ซึ่งมี ความหมายว่า ให้พินิจในธรรมเหล่านั้น เพื่อให้เกิดปัญญาเห็นรูปเห็นนาม โดยความ เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
         สติสัมปชัญญะ ก็หมายถึงว่าให้พินิจในประโยชน์ ให้พินิจในการควร เป็นต้น เมื่อพินิจเห็นว่ามีประโยชน์และ
พินิจเห็นว่าควรทำ จึงทำ ซึ่งมีความมุ่งหมายให้พินิจ เพื่อให้เกิดปัญญาเช่นเดียวกัน


หน้า ๕๗

         ดังนั้น การเจริญสติปัฏฐานจึงต้องกระทำไปด้วยความมีสติสัมปชัญญะ คือให้ พินิจด้วยปัญญา เพื่อให้เกิด
ปัญญาภิญโญยิ่ง ๆ ขึ้นไป
         อันว่าความพินิจที่ประกอบด้วยปัญญานี้ ถ้ามีแก่ผู้ใดแล้ว นับว่าผู้นั้นอยู่ใกล้ พระนิพพาน ดังปรากฏใน
ธรรมบท ว่า
         นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส
         ความพินิจย่อมไม่มีแก่ผู้หาปัญญามิได้
         นตฺถิ ปญฺญา อฌายิโน
         ปัญญาเล่า ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ
         ยมฺหิ ฌานญฺจ ปญฺญา จ
         ความพินิจและปัญญามีในผู้ใด
         ส เว นิพฺพานํ สนฺติเก
         ผู้นั้นแหละอยู่ในที่ใกล้พระนิพพาน

โพธิปักขิยสังคหะกองที่ ๒ สัมมัปปธาน ๔

         สมฺมา ปทหนฺติ เอเตนาติ สมฺมปฺปธานานิ ฯ ธรรมที่เป็นความเพียร พยายาม กระทำโดยชอบนั้น ชื่อว่า สัมมัปปธาน
         สัมมัปปธาน กล่าวโดยความหมายที่ง่ายแก่การจำก็ว่า ตั้งหน้าทำชอบ คือ เพียรพยายามกระทำการงาน
ที่ชอบธรรม
         ความเพียรพยายามทำชอบที่จะจัดว่าถึงสัมมัปปธานนั้น ต้องประกอบด้วย
         ก. ต้องเป็นความเพียรพยายามอันยิ่งยวด แม้ว่า เนื้อจะเหือดเลือดจะแห้ง ไป คงเหลือแต่ หนัง เอ็น
กระดูกก็ตาม ตราบใดที่ยังไม่บรรลุถึงธรรมอันพึงถึงได้ ก็จะไม่ท้อถอยจากความเพียรนั้นเป็นอันขาด


หน้า ๕๘

         ข. ต้องเป็นความเพียรพยายามอันยิ่งยวดในธรรม ๔ ประการ จึงจะได้ชื่อว่า ตั้งหน้าทำชอบในโพธิปักขิยธรรมนี้
ธรรม ๔ ประการที่ว่านี้ได้แก่
         ๑. อุปฺปนฺนานํ ปาปกานํ ปหานาย วายาโม ฯ เพียรพยายามละอกุสลที่ เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป
         ๒. อนุปฺปนฺนานํ ปาปกานํ อนุปฺปาทาย วายาโม ฯ เพียรพยายามไม่ให้ อกุสลธรรมที่ยังไม่เกิด
ไม่ให้เกิดขึ้น
         ๓. อนุปฺปนฺนานํ กุสลานํ อุปฺปาทาย วายาโม ฯ เพียรพยายามให้กุสล ธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น
         ๔. อุปฺปนฺนานํ กุสลานํ ภิยฺโย ภาวาย วายาโม ฯ เพียรพยายามให้กุสล ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เจริญยิ่ง ๆ
ขึ้นไป
         ด้วยเหตุว่า ต้องเพียรพยายามอย่างยิ่งยวดในธรรม ๔ ประการ จึงได้ชื่อ ว่า สัมมัปปธาน ๔
         มีข้อที่ควรจะได้กล่าวไว้ในที่นี้แต่เพียงประการเดียวว่า อกุสลที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมล่วงเลยไปแล้ว จะละคือ
ประหารเสียได้อย่างไร
         จริงอยู่ อกุสลที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปแล้ว การที่จะลบล้างอกุสลที่เกิดขึ้น แล้วให้สูญสิ้นไป ย่อมไม่ใช่สิ่งที่จะ
กระทำได้ การเพียรพยายามละอกุสลที่เกิดขึ้น แล้วให้หมดไปนั้น ในที่นี้มีความหมายว่า อกุสลใด ๆ ที่เคยได้ทำแล้วก็
จงอย่าไป นึกไป คิดถึงอกุสลนั้น ๆ อีก เพราะว่าการคิดการนึกขึ้นมาอีก ย่อมทำให้จิตใจ เศร้าหมอง อันจะก่อให้เกิด
ความโทมนัสเดือดร้อนกระวนกระวายใจไม่มากก็น้อย เมื่อจิตใจเศร้า หมองเดือดร้อน นั่นแหละได้ชื่อว่า จิตใจเป็นอกุสล
แล้ว ฉะนั้นใน ประการต้น จะต้องไม่นึกไม่คิดถึงอกุสลที่ได้เคยทำมาแล้ว คือ ละเสีย ลืมเสีย ไม่เก็บมานึกคิดอีก จิตใจก็จะไม่เศร้าหมอง ประการต่อมา เมื่อจิตใจผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมองแล้ว ก็ตั้งใจ ให้มั่นว่าจะไม่กระทำการอันใดที่เป็น
อกุสลอีก ดังนี้จึงได้ ชื่อว่าเพียรพยายามละอกุสล ที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป ทั้งนี้มีมาในวิภังคอรรถกถา แห่ง สัมโมหวิโนทนี          อีกนัยหนึ่งแสดงว่า อกุสลที่ได้กระทำมาแล้วนั้น ที่ได้ผลแล้วก็มี ที่ยังไม่ให้ ผลเพราะยังไม่มีโอกาสก็มี ที่จะ
อันตรธานสูญหายไปเองนั้นไม่มีเลย แต่ถ้าในชาติใด มีความสามารถประหารสักกายทิฏฐิได้ด้วยสัมมัปปธานทั้ง ๔
นี้แล้ว ชาตินั้นแลได้ประหารได้ละอกุสลที่เคยทำมาแล้วได้สิ้นเชิง


หน้า ๕๙

องค์ธรรมของสัมมัปปธาน

         องค์ธรรมของสัมมัปปธานทั้ง ๔ นี้ได้แก่ วิริยเจตสิก
         ตามสัมปโยคนัย วิริยเจตสิกประกอบกับจิตได้ ๗๓ หรือ ๑๐๕ ดวง (เว้นอวีริยจิต ๑๖)
         แต่วิริยเจตสิกที่เป็นสัมมัปปธานได้ เฉพาะที่ประกอบกับกุสลญาณสัมปยุตต จิต ๑๗ เท่านั้น คือ มหากุสลญาณ สัมปยุตตจิต ๔, มหัคคตกุสล ๙, มัคคจิต ๔
         ส่วนวิริยเจตสิกที่ในอกุสลจิต ๑๒, ที่ในอเหตุกจิต ๒ (คือ มโนทวารา วัชชนจิต ๑ หสิตุปปาทจิต ๑) ที่ในมหากุสลญาณวิปปยุตตจิต ๔, ที่ในมหาวิบาก จิต ๘, ที่ในมหากิริยาจิต ๘, ที่ในมหัคคตวิบากจิต ๙, ที่ใน
มหัคคตกิริยาจิต ๙ และที่ในผลจิต ๔ รวม ๕๖ ดวงนี้ ไม่นับเป็นสัมมัปปธาน เพราะ
         ก. วิริยเจตสิกที่ในอกุสลจิต ๑๒ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะสัมมัปปธาน หมายความว่า การเพียร
พยายามโดยชอบธรรม แต่อกุสลจิตเป็นจิตที่ไม่ชอบธรรม ดังนั้นวิริยเจตสิกที่ในอกุสลจิตจึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได้ แต่
เรียกได้ว่าเป็น มิจฉาปธาน
         ข. วิริยเจตสิกที่ในมโนทวาราวัชชนจิต ๑ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะ มโนทวาราวัชชนจิตไม่มีหน้า
ที่ทำชวนกิจประการหนึ่ง และเป็นจิตที่ไม่มีสัมปยุตต เหตุเลยอีกประการหนึ่ง ความเพียรพยายามนั้นจึงมีกำลังอ่อน
ไม่เรียกว่าเป็นความ พยายามอันยิ่งยวด ดังนั้น จึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได้
         ค. วิริยเจตสิกที่ในหสิตุปปาทจิต ๑ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะจิตดวง นี้เป็นจิตยิ้มแย้มของพระอรหันต์ การยิ้มแย้มของพระอรหันต์เป็นแต่เพียงกิริยา ไม่มี การละอกุสลหรือเจริญกุสลแต่อย่างใด ดังนั้นจึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได้
         ง. วิริยเจตสิกที่ในมหากุสลญาณวิปปยุตต ๔ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะจิตที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา ก็ย่อมมีความเพียรพยายามน้อยเป็นธรรมดา ไม่ มากจนถึงกับเรียกว่าเป็นอย่างยิ่งยวดได้ และถ้าหากว่าจะเกิดมี
ความเพียรพยายาม เป็นอย่างยิ่งยวดขึ้นมา แต่เมื่อไม่ประกอบด้วยปัญญาแล้วไซร้ ก็ไม่สามารถที่จะรู้ อริยสัจจ ๔ ได้ ดังนั้นจึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได้
         แต่อีกนัยหนึ่งก็แสดงว่า วิริยเจตสิกที่ในมหากุสลญาณวิปปยุตต ๔ ก็เป็น สัมมัปปธานได้ เพราะจิตที่เป็น
มหากุสลญาณวิปปยุตตที่เกิดขึ้นในขณะเจริญสติปัฏฐาน ก็นับว่าเป็นสติปัฏฐานได้ดังที่กล่าวแล้วตอนแสดงองค์ธรรมของ
สติปัฏฐาน นั้น เมื่อเป็นเช่นนี้วิริยะที่ในมหากุสลญาณวิปปยุตต ๔ อันเกิดขึ้นในขณะเจริญ สติปัฏฐาน ก็ควรนับเป็น
สัมมัปปธานได้โดยทำนองเดียวกัน ส่วนที่จะบังเกิด ผลเพียงใดหรือไม่นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก


หน้า ๖0

         จ. วิริยเจตสิกที่ในมหาวิบากจิต ๘ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะวิบากจิต ไม่ใช่ชวนจิต จึงไม่มีหน้า
ที่ทำการละอกุสล ไม่ก่ออกุสล ทำกุสล และเจริญกุสล รวม ๔ อย่าง อันเป็นกิจการงานโดยเฉพาะของสัมมัปปธาน มหาวิบากจิตมีหน้าที่ ทำแต่ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ จุติกิจ และตทาลัมพนกิจเท่านั้น ดังนั้นจึงเป็น สัมมัปปธานไม่ได้
         ฉ. วิริยเจตสิกที่ในมหากิริยาจิต ๘ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะจิตทั้ง ๘ ดวงนี้เป็นจิตของพระอรหันต์ ซึ่งเรียกว่า อเสกขบุคคล คือบุคคลผู้จบการศึกษาแล้ว ละกิเลสได้เป็นสมุจเฉทปหาน ไม่มีอกุสลใดที่จะต้องละ ต้องระวังอีก รวมทั้งไม่มี กุสลใดที่จะต้องก่อ จะต้องรักษาให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีกแล้ว รวมความมหากิริยาจิต ไม่ต้องทำหน้าที่การงาน
ของสัมมัปปธานนั้นเลย ดังนั้นจึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได้
         ช. วิริยเจตสิกที่ในมหัคคตวิบากจิต ๙ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะ จิตทั้ง ๙ ดวงนี้ ทำหน้าที่ ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ จุติกิจ โดยเฉพาะเพียง ๓ อย่างนี้ เท่านั้น ไม่มีหน้าที่ในชวนกิจเลย จึงไม่มีหน้าที่ทำการ ละอกุสลไม่ก่ออกุสล
ทำกุสล และเจริญกุสลทั้ง ๔ อย่างนี้แต่อย่างใดเลย เมื่อไม่มีหน้าที่ทำกิจการงานของสัมมัป ปธานจึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได้
         ซ. วิริยเจตสิกที่ในมหัคคตกิริยาจิต ๙ เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะจิต ๙ ดวงนี้ เป็นจิตของพระอรหันต์ เมื่อเป็นจิตของพระอรหันต์ ก็มีเหตุผลดังกล่าวมา แล้วในมหากิริยาจิตนั้น ดังนั้นจึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได้
         ญ. วิริยเจตสิกที่ในผลจิต ๔ (หรืออย่างพิสดาร ๒๐) เป็นสัมมัปปธานไม่ได้ เพราะผลจิตไม่ได้เป็นผู้กระทำ
การ ละอกุสล ไม่ก่ออกุสลไม่ทำกุสล และ เจริญกุสล อันเป็นหน้าที่การงานโดยเฉพาะของสัมมัปปธานแต่อย่างใด ๆ เลย
เป็นแต่เพียงเป็นผู้รับผลเสวยผลที่มัคคจิตได้กระทำการงานทั้ง ๔ นั้นมาให้แล้ว เมื่อ ไม่ได้ทำหน้าที่ของสัมมัปปธาน จึงเป็นสัมมัปปธานไม่ได้