อกุศลกรรมบถ 10

ตัวที่ 1 เรียกว่า ปาณาติบาต ตัวนี้ถ้าเราพิจารณาดูให้ดีแล้ว เราไม่พูดในแง่ของ ที่จะได้รับในปัจจุบันชาติ หรือตายไปแล้ว จะได้รับอย่างไร เราไม่ขอพูด เพราะว่า อ้ายนี่ แล้วแต่เขาจะสร้าง กรรมหนัก กรรมเบา ของเขา เพราะว่านรกนั่น มันมีหลายชั้นนี่ นี่ มันเป็นอย่างนี้ ทำไมที่เราพูดกันมาอย่างนี้ ที่หัดจับความผิดของเราเองนี้ ทำไม ถึงไม่แนะนำสั่งสอน ให้ทำคุณงามความดี ให้เกิดขึ้นเล่า ก็เราพูดกันมาแล้ว เรื่องคุณงามความดี แต่สติมันไม่เกิดขึ้น ตัวจับความผิดของเรานี้ ตัวที่หยาบที่สุดคือ ปาณาติบาต ปาณาติบาตนี้ ได้แก่อะไร ปาณาติบาตนี้ก็คือ การเบียดเบียน และการฆ่าเขาให้ตาย แต่การกระทำเช่นนี้ ผลที่จะได้รับอย่างไร เราไม่ต้องมาพูดกันหรอก เพราะว่า ทำไมเราถึงจะ ป้องกัน ไม่ให้มันเกิดขึ้นได้ เราควรจะทำความเข้าใจกันเสีย เพราะว่าบางคนทำบาป ทำไมไม่ตกนรก บางคนทำบุญทำไม ไม่ขึ้นสวรรค์ นี่ ทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าเรามีความเข้าใจ ความรู้แล้ว กำไรชีวิตมันก็จะเกิด อย่างไม่มีปัญหา ทั้งนี้ ความหมาย ของคำว่า "ปาณาติบาต" นั้น เราควรจะได้รู้จักในเรื่ององค์ประกอบ อ้ายองค์ประกอบนี่ ผมเองก็ไม่มีความรู้ ก็เอามาจาก พระธรรมคำสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง

องค์ประกอบตัวที่1 นั้น พระองค์ตรัสว่า สัตว์นั้นมีชีวิต คำว่า "สัตว์"นั้นอะไร เราก็เป็นสัตว์ สัตว์เดรัจฉาน ก็เป็นสัตว์ คือสิ่งที่มีชีวิตอยู่นั่นเอง ตัวที่เวียนว่ายตายเกิดใน 31 ภพภูมินั่นเองนั่นแหละ นั่นแหละ ผู้ที่มีชีวิตนั้น เป็นตัว ประกอบตัวที่1 นอกจากสัตว์นั้นมีชีวิตจริงๆแล้ว ถ้าเราพิจารณาดูให้ดี ทำไมสัตว์บางอย่าง ถึงได้รับวิบากกรรมมาก สัตว์ บางอย่าง ทำไมรับผลวิบากกรรมน้อย อ้ายนี่แล้วแต่สภาวะของสัตว์นั้น ถ้าเป็นยุงเป็นมด อ้ายนี่ถ้ามันกัดเรา เราตบมัน อะไรมัน อ้ายนี่ มันก็ได้รับน้อย แต่ถ้าป็นคนเราไปฆ่าเขา ฆ่าคนนั้น... ฉะนั้นความหมายของ"สัตว์"นั้น เราอย่าลืม เป็น สัตว์ที่มีชีวิตเหมือนกัน คนก็คนเหมือนกัน แต่สภาวะแห่งความดี ความชั่วนั้น มันไม่เหมือนกัน การที่เราจะได้รับ ผลวิบากมากหรือน้อยนั้น ไม่เหมือนกัน สังเกตดูให้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มดปลวกนี่ ก็ได้รับผลวิบากเหมือนกัน แต่อาจ จะไม่ถึงตกนรกก็ได้ แต่ถ้าเราไปฆ่าคน เราอาจจะตกนรก แต่ฆ่าคนชนิดไหนล่ะ ถ้าเราไปฆ่าคนที่เป็นมหาโจร มันก็น้อย หน่อย ถ้าไปฆ่าคนที่เขาดี มันก็มากหน่อย นอกจากนี้แล้ว ถ้าเขาดีถึงที่สุด มันก็มากขึ้นไปอีกแล่ะ ทั้งนี้เพราะเหตุไร พิจารณาดูให้ดี ในเรื่องที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ว่า ครุอกุศลกรรมง่ะ เรียกอะไรผมไม่รู้ ที่ว่าฆ่าพ่อฆ่า แม่นั่นน่ะ ทำไมถึงได้ลงถึงอเวจีมหานรก ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น การฆ่าคนปกติไม่ถึงเช่นนั้น เพราะเหตุไร เพราะพ่อแม่ ของเรานั้น เป็นผู้ที่มีคุณงามความดี เป็นผู้ที่มีพระคุณต่อเรา เช่นนี้ มันกลายเป็นครุอกุศลกรรมไป ฉะนั้นถ้าเราพิจารณา ดูให้ดีแล้ว ครุอกุศลกรรมนี้ มีอยู่ที่

1 การฆ่าพ่อฆ่าแม่ 2 ฆ่าพระอรหันต์ 3 ทำพระพุทธเจ้าให้ห้อพระโลหิต 4 ทำสงฆ์ให้แตกแยกกัน

นี่ เป็นครุอกุศลกรรม และครุอกุศลกรรมอีกตัวหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่ ไม่ว่าพระหรือฆราวาส ไม่ได้สำนึกกัน ตัวนี้ ตัวนั้นก็คือ มิจฉาทิฏฐินั่นเอง แต่มิจฉาทิฏฐิินั้น มันแบ่งกันมากมาย หลายประเภท แต่ตัวครุอกุศลกรรมตัวนี้ ก็คือ นิยตมิจฉาทิฏฐิ 3 นั่นเอง และถ้าเราสังเกตดูให้ดีแล้ว ทั้งพระและฆราวาส ในปัจจุบันนี้ ได้สร้างให้เกิดขึ้นโดย ไม่รู้ตัว นั่นอะไร เพราะเอาหลักปรัชญามาทำความเข้าใจกัน แทนที่จะเอาเหตุ และผล มาทำความเข้าใจกันเช่นนั้น ซึ่งเรียกว่า อนันตริยกรรม คนส่วนใหญ่เข้าใจ ในเรื่องอนันตริยกรรมอย่างเดียว แต่ไม่ได้นึกถึงครุอกุศลกรรมอีกตัว หนึ่ง ตัวมิจฉาทิฏฐิทั้ง 3 นี่ อเวจีเช่นเดียวกันเหมือนกัน และอเวจีเช่นเดียวกันเหมือนกันนี้ เราพิสูจน์กันได้ เราพิสูจน์ กันได้ ทั้งนี้ถ้าเราจะพิจารณาดูให้ดี มีการสั่งสอนกันว่า สวรรค์อยู่ในอกนรกอยู่ในใจเท่านั้น เราอย่างมงายเลย นรกหรือ สวรรค์ไม่มีจริง มันอยู่ที่ใจเราต่างหากล่ะ นี่ก็คือตัว นิยตมิจฉาทิฏฐิ ตัว 1ใน 3ล่ะ

อ้ายผมพูดนี่ ก็พูดเพ้อเจ้อไปไกลแล้ว ฉะนั้นย้อนกลับกันมาใหม่ องค์ประกอบในเรื่องการฆ่า เราต้องยอม รับรู้ ความตัวที่ 1 สัตว์นั้นมีชีวิตจริงๆ

และประการที่ 2 การที่สัตว์มีชีวิตนั้น ตามพระธรรมคำสอน เขา เรียกว่า ปาโณ หรือสัตว์นั้นมีชีวิต ตัวที่ 2 เรารู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต นี่รียกว่า ปาณะสัญญิตา รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต 2 ตัวละ สัตว์นั้นมีชีวิต ถ้าเราไม่รู้ ไปอีกเรื่องหนึ่ง

และตัวที่ 3 เรียกว่า วะธะกะจิตตัง หมายความว่า เจตนาคิดที่จะฆ่าเขาให้ตาย เจตนาคิดที่จะฆ่าเขาให้ตาย

องค์ประกอบตัวที่ 4 นั้น เรียกว่า อุปักกะโม คือทำความเพียรเพื่อจะฆ่าเขา เป็นตัวที่ 4 คุณสมบัติ

คุณสมบัติตัวที่ 5 เรียกว่า เตนะมะระณัง คือ สัตว์นั้นก็ตายเพราะความเพียรที่เราฆ่า

ครบองค์ละ ครบองค์ละ ทีนี้ความหมายของคำว่า"ความเพียร"นี้ ผมเองผมไม่พอใจพวกคุณบางคน ผม อยากจะฆ่า แต่ผมกลัวติดตาราง ผมก็ติดสินบนพวกเราไป คิดเหรอว่าผมจะไม่ลงนรก ผมก็ต้องลงเหมือนกัน ตัวนี้ ฉะนั้น ความเพียรที่จะฆ่าตัวนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเรียกว่า ปโยคะ ปโยคะ ความเพียรที่จะทำนี่ มันแบ่งแยกได้ถึง 6 ตัว

ตัวที่ 1 เรียกว่า สาหัตถิกะปะโยคะ หมายถึงว่า ลงมือสังหารด้วยตัวของเราเอง ตัวนี้เราก็บาปเหมือนกัน

อีกประการหนึ่ง ตัวที่ 2 เรียกว่า อาณัตติกะปะโยคะ คือใช้ให้ผู้อื่น หรือใช้วาจาสังหาร นี่ เรามีอิทธิพล หน่อยหนึ่ง บอกว่า ฆ่ามันให้ตาย เขาก็ลงมือฆ่า นี่ ผมก็ต้องลงไปเท่งทึ้งอยู่ในนรกเช่นเดียวกัน ทั้งๆที่ผมไม่ได้ลงมือฆ่า ใช้ให้คนอื่นเขาฆ่า

ประการที่ 3 เรียกว่า นิสสัคคิยะปะโยคะ คือ ใช้อาวุธสังหาร เขาอยู่ไกลหน่อยนึง ผมจะตีหัวเขาไม่ได้ เชือด คอเขาไม่ได้ ผมใช้ปืนยิงเขา โดนเขาตาย ผมก็ลงนรก ไม่ใช่ลูกปืนมันลงนรกนะ ตัวผมน่ะ ลงนรกเองง่ะ นี่มันเป็นเช่นนี้

อีกตัวหนึ่งตัวความเพียรสังหารตัวนี้ เรียกว่า ถาวะระปะโยคะ คือ สังหารด้วยหลุมพราง ความหมายของ คำว่า"หลุมพราง"อันนี้ ถ้าพูดอย่างโบราณๆ ก็ขุดหลุมพรางง่ะ แต่ถ้าสมัยนี้ ไม่ใช่หรอก ไม่ใช่หรอก พิจารณาดูให้ดีซิ ตัวนี้เขาทำอะไร เขาใช้อะไรล่ะ อุบายง่ะ เล่ห์เหลี่ยมน่ะ นั่นแหล่ะ เจตนาที่ผมจะฆ่าพวกคุณ ผมก็ใช้อุบายเล่ห์เหลี่ยม ให้เขาไปฆ่ากัน ตัวนี้

อีกตัวหนึ่ง เรียกว่า วิชชามะยะปะโยคะ คือ สังหารด้วยวิชาคุณ อ้ายตัวนี้ พวกเราไม่ค่อยมีกัน เพราะเรา ไม่ได้เป็นเกจิอจารย์ ถ้าเป็นเกจิอาจารย์ ก็ต้องปั้นรูป ปั้นรอยเขา แล้วเอามาเผาไฟมั่ง เชือดคอมั่ง อะไรมั่ง อะไรล่ะ คุณไสยศาตร์น่ะ ไม่รู้ อะไรก็ไม่รู้ ตัวนี้สังหารด้วยวิชาคุณ ตัวที่ 5 บาปนะ ไม่ใช่ไม่บาป

อีกตัวหนึ่ง เรียกว่า อิทธิมะยะปะโยคะ คือ สังหาร ด้วยฤทธิ์อำนาจ ตัวนี้มันก็บาป

ฉะนั้นเราจะเห็นได้ว่า ความเพียรพยายามที่จะสังหารนั้น จะฆ่าเขานั้นน่ะ มันแยกไปได้ถึง 6 ตัว แต่เราจะตก นรกสูง หรือต่ำแค่ไหน ประการใด มันก็แล้วแต่ ผู้ที่จะถูกฆ่าอีกนั่นแหล่ะ ถ้าเราพิจารณา กลั่นกรองดูให้ดีแล้ว ไม่ว่า ในแง่ของ อนันตริยกรรมก็ดี หรือในแง่ที่ พระองค์ทรงสั่งสอน ในเรื่อง ปาณาติบาตก็ดี ไม่เหมือนกัน ไม่เหมือนกัน เพราะการฆ่านั้นถ้าไม่มีเจตนาแล้ว ตัวนี้ไม่ใช่ ไม่เป็น ไม่ต้องได้รับผลมากมายก่ายกองเช่นนั้น เพราะเหตุไร เพราะ คุณสมบัติมันไม่ครบถ้วน ในเรื่องเช่นนี้ เราพูดกันในเรื่อง หลักของทฤษฎี ถ้าเราพิจารณากัน ในเรื่องสภาวะแห่งความ เป็นจริง ซึ่งในสมัยที่พระองค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังดำรงพระชนมายุอยู่ ผมเองก็จำไม่ได้ ที่พระตาบอดน่ะ แล้วไปเดินจงกรม ไปเหยียบสิงสาราสัตว์ตายหมดเลย พระทั้งหลายก็มาฟ้อง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บอกว่า พระองค์นี้ได้ฆ่าสัตว์แล้ว แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปฏิเสธ บอกไม่ได้ฆ่า นั่นเพราะอะไร มันเป็นตัววิบากกรรม ของเขา

ตัวนี้เราจะเห็นได้ว่า ปาณาติบาตตัวนี้ มันให้ผลเช่นนี้แล้ว นอกจากนรกแล้ว อาจจะปัจจุบันชาตินี้ก็ได้ หรือ ในอนาคตชาติก็ได้ แต่ไม่ใช่ตายไปเกิดในนรก ตกนรก มันอาจจะเป็นชาติหนึ่ง ชาติใดก็ได้ ซึ่งปวัตติกาล ผลเป็นยังไง แห่งที่ผมได้ฆ่าสัตว์นั้น เกิดมา ก็มีคุณสมบัติถืง 9 ประการ คุณสมบัติที่ผมจะพูดนี้ ไม่ใช่ผมนะ ไม่ใช่ผมมีความรู้ ผมไม่มี แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสสั่งสอนเอาไว้

ตัวที่ 1 ถ้าเป็นปัจจุบันชาติ หรือ อนาคตชาติ ไม่ใช่ตายไปแล้วรับ อ้ายตัวนั้น ตัวตายไปแล้วรับนั่น ตัวจุติจิต กับ ปฏิสนธิจิต ไม่ใช่ตัวนั้น ไม่ใช่ตัวนั้น ตัวที่ 1 ก็คือ ความทุพพลภาพ ความทุพพลภาพ สังเกตดู คนเราบางคน ความสมบูรณ์ก็มี ทุพพลภาพก็มี นี่ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้เช่นนี้ ถ้าเราทำลายเขาเช่นนั้น ไม่ใช่ว่าเรา ตายแล้ว ตกนรกแล้ว เราจะพ้นไปนะ ยัง ยังไม่หมด เพราะอ้ายตกนรกนั่นน่ะ เรียกว่าขั้นติดคุก ขั้นติดคุก พอออกจาก คุกแล้ว ยังมีคนเขารังเกียจกันอีก สังเกตดูให้ดี ใช่หรือไม่ เราทำความเข้าใจกันอย่างนี้ เอาแต่เพียงปาณาติบาตตัวเดียว เสียก่อน ทุพพลภาพ

ตัวที่ 2 สังเกตดู รูปไม่งาม เกิดมานี่ ไม่สวยสด งดงามเลย แต่บางคน ทำไมถึงได้สวยสดงดงาม ตัวนี้ เพราะ ได้ทำกันมาแล้ว ในเรื่องปาณาติบาต

และ ตัวที่ 3 สังเกตดู คนบางคน มีความเข้มแข็ง แข็งแรง แต่บางคน ทำไม อ่อนแอ ความว่าอ่อนแอนี่ หมายถึงกำลังกายนะ ไม่ใช่กำลังใจ เอาตัวหยาบๆ นี่ ผลมันออกมาเป็นอย่างนี้ จากที่เราไปฆ่าเขาน่ะ ผมเองผมก็ได้ รับ การที่ว่า ในวันนี้ไม่ได้ไปไหนนี่ เพราะว่านอนแล้ว ลุกเดินแทบไม่ไหว นี่ มันคงไปฆ่าเขามาเยอะแยะแล้ว มันถึงได้ เป็นอย่างนี้

นอกจาก ความทุพพลภาพ ความไม่สวยสดงดงามในรูปร่าง และ ร่างกายอ่อนแอแล้ว อีกตัวหนึ่ง พวกเรา คงจะได้พบเห็นกันมามั่งแล้ว นั่นคือ กำลังกาย และกำลังปัญญา กำลังกายยังไง เฉื่อยชา แทนที่ว่าเราจะทำการทำงาน ปุบปับให้มันเสร็จไป โอ้โฮ โอ้เอ้ โอ้เอ้ โอ้เอ้ ทำไม่สำเร็จ และ ปัญญามันก็ใช้ไม่ได้ ไม่ว่องไว นี่ เป็นการสมควรหรือ ไม่ ถ้าเราไม่รักคุณสมบัติเหล่านี้ เราจงละเสียเถอะซึ่งปาณาติบาต พื้นฐาน ก็คือ ฝึกหัด จับความผิดของตัวเราเอง นั่นเอง

นอกจากนี้แล้ว คุณสมบัติ ที่จะได้รับ ในปวัตติกาลนี้ ก็คือ ความเป็นคนขลาด สังเกตดูให้ดี คนเรานี่ ไม่ เหมือนกัน บางคนก็มีความกล้าหาญ บางคนก็มีความขลาด ความหวาดกลัว เช่นนี้ จริงมั้ย ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัม พุทธเจ้า ตรัสสั่งสอนไว้เช่นนั้น แต่ถ้าเรามาพิจารณาในเรื่องทางแพทย์ ในปัจจุบันนี้ นั่นอะไร เขาเรียกว่า โรคประสาท นั่นเองง่ะ

อีกประการหนึ่ง ประการที่ 6 สิ่งที่จะได้รับ ชาตินี้ หรือชาติต่อไป นั้น ซึ่งเราสังเกตดู หนังสือพิมพ์ก็ดี วิทยุ ที่ออกข่าวก็ดี นั่นอะไร ฆ่าตัวเองไงล่ะ หรือบางทีก็ถูกเขาฆ่ายังไงล่ะ ว่าไงล่ะ จริงมั้ย สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสั่งสอน ไว้เช่นนี้ และพวกเราที่ประพฤติธรรม ปฏิบัติธรรม ได้จนแก่กล้าแล้ว เราอย่าเพิ่งไปเชื่อ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สั่งสอนว่า เชื่ออะไร เชื่อด้วยเหตุด้วยผล ผู้ที่เขาถูกฆ่าตายก็ดี เขาผูกคอตายก็ดี เชือดคอเขาตายก็ดี อะไรก็แล้วแต่เถอะ เขาฆ่าตัวเขาเอง หรือคนอื่นจะฆ่าเขาก็ดี ถ้าเราพิจารณาสาวไปให้ดีแล้ว ในอดีตชาติน่ะ เขาทำอะไร นี่ คิดดูให้ดี นี่ คุณสมบัติ ที่จะต้องได้รับ ประการที่ 6

นอกจากนี้แล้ว ประการที่ 7 ซึ่งพวกเราบางคน ก็ได้รับเช่นนั้น ก็คือ โรคภัยเบียดเบียน โรคภัยเบียดเบียน อันนี้ก็อย่างผมนี้แหล่ะ เจ็บมาตลอดชีวิต ตั้งแต่เล็กจนโต นี่ เพราะอะไร เพราะคงไปฆ่าเขามาเยอะแยะแล้ว แต่คงไม่ได้ ไปฆ่ามนุษย์น่ะ อาจจะฆ่าสัตว์ ฆ่าอะไร พวกนี้ นี่ โรคภัยเบียดเบียน

นอกจากนี้แล้ว คุณสมบัติ ที่เราจะได้รับ ประการที่ 8 ความพินาศของบริวาร เออ ความพินาศของบริวาร อันนี้ เราสังเกตดูให้ดี ต่อไปเราคงจะได้เห็น จะบังเกิดขึ้น ในกลุ่มที่เขาทำเช่นนั้น ไม่ว่า พวกก่อการร้ายก็ดี พวกนักการเมือง ก็ดี อะไรจะบังเกิดขึ้น ผมไม่รู้ คิดดูเอาเองก็แล้วกัน

และประการสุดท้าย คุณสมบัติประการสุดท้าย ผู้นั้น อายุสั้น อายุสั้น เราสังเกตดูให้ดี เด็กบางคน อุแว้ออกมา ไม่เท่าไหร่ ปุบปับก็ตายไป บางคน เข้มแข็ง แข็งแรง ปุบปับก็ตายไป ยังหนุ่มยังสาวอยู่ ก็บางคนทำไมแก่เฒ่าแล้ว ยังไม่ตาย

นี่ เป็นผลที่ได้รับ 9 ประการ ในเรื่องของปาณาติบาต ฉะนั้นเราจงฝึดหัดจับความผิดตัวของเราเองเถอะ เริ่มตั้งแต่ จับความผิด ตัวของเราเอง ขั้นหยาบๆ ในแง่ของ กายก็ดี วาจาก็ดี ใจก็ดี เพื่อเราไม่ต้อง ได้รับสมบัติในปวัตติกาลอย่าง นี้ และเมื่อเราตายไปแล้ว เราก็ไม่ต้องลงไปอยู่ข้างล่างอีกต่อไป และกำไรชีวิตของเรานั้น สัมปชัญญะ และสติก็จะเกิดขึ้น ถ้าเรายอมรับสภาพตัวเราเองว่า เราไม่มีความรอบรู้ เรายอมรับนับถือ พระธรรมคำสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัม พุทธเจ้า ประพฤติ ปฏิบัติ แต่ละขั้น แต่ละตอน เช่นนี้ กำไรมันก็จะเกิดขึ้น ถ้าเราทำเช่นนี้ เราก็ได้ชื่อว่า เราเกิดมาแล้ว ไม่เสียชาติเกิด แต่ประการใด

นอกจาก ตัวชั่ว ในเรื่องการฆ่านั้น อีกตัวหนึ่ง เรียกว่า อทินนาทาน อทินนาทานในนี้ ได้แก่อะไร ก็คือ ลักเขา ขโมยเขา เราจงสังเกตดู คนไทยในปัจจุบันนี้ เรากำลังมีคุณสมบัติ กันเยอะแยะ ในประเภทนี้ ในปัญหาในเรื่อง อทินนาทานนั้น เราควรจะได้ทำความเข้าใจกัน ที่ให้ทำความเข้าใจนี้ ไม่ใช่ไปเคี่ยวเข็ญ พวกคุณทั้งหลาย เราจะได้มีความ เข้าใจ ธรรมะอันถูกต้อง อย่าทำความงมงาย เหมือนอย่างผมเลย อทินนาทานมันจะต้องประกอบไปด้วย องค์5 องค์5 ในที่นี้

ตัวที่ 1 คุณสมบัตินั้น ก็คือ ปะระปะริคคะหิตัง หมายความว่า ทรัพย์นั้นเป็นของผู้อื่นเขา เป็นของผู้อื่น สภาวะคำว่า "ทรัพย์นั้นเป็นของผู้อื่น" สิทธิเขามี นั่นเป็นสิทธิของเขา

ตัวที่ 2 ได้แก่ ปะระปะริคคะหิตะสัญญิตา หมายความว่า เราก็รู้ว่า ทรัพย์นั้นเป็นของผู้อื่น เห็นไหม เราก็ เรารู้ และสิทธิตามกฏหมายเขาก็มี นี่ เป็นองค์ประกอบตัวที่ 2

ตัวที่ 3 องค์ประกอบนั้น เถยยะจิตตัง หมายความว่า อ้ายความชั่วของเราเองนั่นแหละ เจ้านายของเราเอง นั่นแหละ นั่นอะไร คือจิตใจของเรานั่นเอง มีจิต หรือเจตนา นั้นเอง ที่คิดจะลักของเขา เห็นไหม เห็นไหม ฉะนั้น ถึงได้ บอกว่า อ้ายจิตใจของเรานั้นน่ะ มันเป็นเจ้านายของเรา เราต้องฝึกหัดอบรมมัน ถ้าไม่ฝึกหัดอบรมมัน มันก็ใช้เราไปทำ แต่ความชั่ว เช่นนี้

นอกจากนี้แล้ว องค์ประกอบตัวที่ 4 เรียกว่า อุปักกะโม หมายความว่า ต้องมีความเพียรที่จะลักของเขา นั้น เห็นไหม เจตนาแล้ว ต้องเพียรพยายามอีก แต่ ตัวเพียรพยายามนี้ มันก็มีอยู่ด้วยกัน ถึง 6 ตัวด้วยกัน เรียกว่า ปโยคะ เพียรยังไง

เพียรลักด้วยตัวของเราเองก็ได้ ตัวที่ 1

ถ้าเราไม่ลัก ด้วยตัวของเราเอง เราใช้ให้ผู้อื่นเขา ไปลักก็ได้ นี่ เป็นตัวที่ 2 เห็นไหม เล่ห์กระเท่ห์

นอกจากนั้นแล้วตัวที่ 3 ได้แก่ นิสสัคคิยะปะโยคะ หมายความว่า ลักโดยใช้อาวุธ เห็นไหม ตัวนี้เยอะแยะ ยกปืนไปขู่เขา แบมือให้เขา เขาก็หยิบมาให้เรา เห็นไหม พิจารณาดูเอาเองเหอะ ทำไมสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถึง ได้ตรัสเอาไว้อย่างนี้ ตั้ง 2500 กว่าปีมาแล้ว

ตัวที่ 4 เรียกว่า ถาวะระปะโยคะ ได้แก่ ลักโดยใช้เครื่องไม่ให้จำหน้าได้ อะไรล่ะ คลุมหัว คลุมอะไรล่ะ ไม่ให้ เขาเห็นอะไรนั่นแหล่ะ นั่นแหล่ะ หมายความว่าตัวนี้ เราจะต้องควาามเข้าใจกัน อย่างนี้ แล้วเราถึงจะพิจารณา เห็นความ จริงกันไปได้

ตัวที่ 5 ได้แก่ วิชชามะยะปะโยคะ หมายถึง ลักโดยใช้วิชาคุณ เช่น สะกดให้เขาหลับบ้าง อะไรบ้าง เช่นนี้ เห็นไหม อย่างนี้ ก็เป็นตัวความเพียรเหมือนกัน

อีกตัวหนึ่งตัวที่ 6 เป็นตัวสุดท้ายตัวพยายาม อิทธิมะยะปะโยคะ หมายความว่า ลักด้วยฤทธิ์ ด้วยเดช นั่น พวกเกจิอาจารย์น่ะ เหล่านี้ นี่ เป็นความหมาย ของความเพียร ที่จะได้รับ

นอกจากนี้แล้ว อุปกรณ์ตัวที่ 5 ได้แก่ เตนะหะระณัง หมายถึง ได้ทรัพย์มาสำเร็จ ตามที่เราเพียรนั้น

นี่แหละ ครบองค์ละ ครบองค์เลย เมื่อครบองค์มาเช่นนี้แล้ว อะไรเล่ามันจะเกิดขึ้น คุณสมบัติที่เราจะได้รับ นั้น อะไร เราไม่พูดกัน ในเรื่องของจุติหรือการตายไปแล้ว เราจะพูดกันเฉพาะในปวัตติกาล มีถึง 6 ประการด้วยกัน ใน ปวัตติกาลนี้ ที่มี 6 ประการนั้น ผลที่เราจะได้รับ นั้นยังไง คือ

1 ด้อยทรัพย์ ด้อยทรัพย์ คนอื่นที่เขาทำมาหากินได้วันละ 100 200 เราทำมาหากินแทบตาย วันหนึ่งได้ 5 บาท 10 บาท เห็นไหม ตัวนี้เป็นความหมายของคำว่า "ด้อยทรัพย์" เห็นไหม ถ้าเราสังเกตดู ในปัจจุบันนี้ ใช้ปัญญา พิจารณาดูให้ดี กรรมกรนี่ ทำไมกรรมกรบางคน มีความอุดมสมบูรณ์ กรรมกรบางคนถึงได้ไปลักเขา ขโมยเขา แล้วติด คุก ติดตารางไป เช่นนี้

ประการที่ 2 คุณสมบัติ ที่ผลที่จะให้ ความยากจนข้นแค้น สังเกตดูให้ดี ในชีวิตของพวกเราทุกคน คงจะได้แล เห็นมาแล้ว บางคน ทำไมเขา มั่งมีสีสุข บางคนทำไมถึงได้มีความยากจนข้นแค้น เช่นนี้ นั่น เพราะในอดีตเขาทำอะไรมา

นอกจากนี้แล้ว ตัวที่ 3 มันก็ได้กับผม อีกนั่นแหละ นั่น คือ อะไร ความอดอยาก ความอดอยาก นี่ เห็นไหม ปัญหาในเรื่อง ความอดอยากนี่ พูดมาแล้วนี่ พวกเรานี่ อาจจะไม่มีความเข้าใจ เพราะว่าทุกๆ คนมีความอุดมสมบูรณ์ ในเรื่องการกินการอยู่ เอาละ ตัวผมนี่แหละเป็นผู้ที่อดอยาก อดอยากยังไง ไม่ใช่ไม่มีของกิน ไม่มีของใช้ มี แต่มันกินไม่ ลง มันกินไม่ได้ นี่ รู้ว่ากินเข้าไปแล้ว มันก็จะเกิดทุกข์ทรมาน อย่างแสนสาหัส จึงไม่ยอมกินมัน ตัวนี้ความอดอยาก แต่ อ้ายความอดอยากของพวกเรา คือตัวผมไม่หมือนกับ ความอดอยาก ของพวกขอทานเขา มันคนละอย่าง อ้ายนั่น เขาไม่ มีกิน เรามีกิน แต่เราไม่ยอมกิน เห็นไหม ถ้ามันไม่เวรกรรมของเรามาแล้ว มันจะเป็นปรากฏอย่างนี้เหรอ คิดดู

คุณสมบัติ ประการที่ 4 ที่เราจะได้รับนั้น ไม่ได้สิ่งที่ตนปรารถนา สิ่งใดที่เราไม่ต้องการ เราก็จะได้สิ่งนั้น อ้ายสิ่งใดที่เราต้องการ เราก็ไม่ได้ สังเกตดูเหอะ สังเกตดูให้ดี นี่ เพราะเราได้ทำความชั่วมาแล้ว ผลมันถึงได้เกิดอย่างนี้ ฉะนั้นเราจงฝึกหัดตัวของเรา แต่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกเรานี้ ปาณาก็ดี อทินนาก็ดี คงไม่มีหรอก แต่เมื่อจะพูดแล้ว เราก็พูดตั้งแต่ขั้นหยาบๆกันไปก่อน แล้วมันค่อยๆละเอียดเข้า ละเอียดเข้า

อีกตัวหนึ่ง ตัวที่ 5 สังเกตดูให้ดี พ่อค้าที่ล้มละลายนั้นน่ะ เพราะอะไร เพราะอะไร พินาศนี่ไง พินาศ พินาศ ในการค้า เห็นไหม บางคนทำไม พ่อค้าบางคน มีความอุดมสมบูรณ์ มีความร่ำรวย ได้กำไร แต่บางคนทำไมฉิบหาย วายวอดไปเช่นนั้น นั่น เพราะอดีตเขาได้ทำ อทินนาทานมาแล้ว ฉะนั้นเราจงจดจำไว้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สั่ง สอนอะไรนั้น สั่งสอนด้วยเหตุด้วยผล

นอกจากนี้แล้ว ตัวที่ 6 ซึ่งในชีวิตของพวกเราคงจะได้แลเห็นกัน นั่น ทรัพย์นั้นจะพินาศไป พินาศ

1 อัคคีภัยก็ได้ นั่นคือ ไฟไหม้น่ะ

ตัวที่ 2 อุทกภัยก็ได้ คือน้ำ น้ำท่วมนั่นเอง

ตัวที่ 3 ราชภัยก็ได้ นั่น ว่ากันเรื่องของกฏหมาย

ตัวที่ 4 ได้แก่ โจรภัยก็ได้

เห็นไหม ความฉิบหายมันจะเกิดขึ้น ถ้าในชีวิตของเรา เราไปลักเขาขโมยเขามาเช่นนี้ ใน 6 ตัวนี้ ตัวหนึ่ง ตัวใด มันจะปรากฏขึ้น

ไม่ว่า การด้อยทรัพย์ก็ดี

ไม่ว่า ความยากจนข้นแค้นก็ดี

ไม่ว่า ความอดอยากก็ดี หรือ

ไม่ได้ในสิ่งที่ตนปรารถนาก็ดี หรือ

ความพินาศ ฉิบหายในเรื่อง การทำมาค้าขายก็ดี หรือ

ความพินาศ ไปด้วยอัคคีภัยก็ดี อุทกภัยก็ดี ราชภัยก็ดี และโจรภัยก็ดี

เหล่านี้ นี่ เป็น เพียงตัวอกุศลกรรมบถ 10 เพียง 2 ตัว ในขั้นหยาบๆ ที่เราทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน

แต่ในปัญหา ในเรื่องนี้ ผมเองผมเข้าใจว่า ในชีวิตของพวกเรานั้น เราคงไม่ได้ไปทำฆ่า หรือปาณา ติบาต ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต หรือไปลักทรัพย์ ขโมยทรัพย์ เขาเหมือนอย่างผม มันถึงได้ตกระกำ ลำบากอย่างนี้ เรา อย่าไปมองไปเลย ในเรื่องตายไปแล้วนี่ เพราะว่าตัวนี้เป็นเพียง ปวัตติกาลเท่านั้น เพราะว่า อ้ายการตกนรก หมกไหม้นั้น มันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ฉะนั้นในเรื่องความชั่วนี้ เห็นไหม เราไม่พูดถึงกัน ในเรื่องนรก เพราะพวก เรานี่ คงจะเชื่อกันล่ะ ในเรื่องนรก ทีนี้เราก็พูดกัน ในเรื่องให้มันต่ำกว่า จากนรกสักหน่อยหนึ่ง ใกล้ๆเข้ามา เราจะได้มีความสำนึกตัวของเราได้ ถ้าเราฝึก หัด ประพฤติ ปฏิบัติ จับความผิดของตัวเราเองเช่นนี้ อะไร อกุศลกรรมบถ 10 คือไม่ทำความชั่ว ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงสั่งสอนเอาไว้ เราก็คงจะไม่ทำ นอกจากเราไม่ทำแล้ว เราควรจะทำความเข้าใจกัน ให้ถ่องแท้ด้วยเหตุด้วยผลอีกว่า อะไรมันเป็นอะไร ตามที่ ผมพูดมานี้ ก็เพราะว่า เนื่องจากว่า ไม่มีโอกาส จะไปเที่ยวไหนได้ในวันนี้ ก็เมื่อมาพบปะ เจอะเจอกันแล้ว ก็ ไม่อยากให้เสียเวลาไป ก็สนทนาวิสาสะกัน แต่ขออย่างเดียว อย่ามายึดมั่นถือมั่น อย่ามาเชื่ออะไรกันเลย ทั้ง นี้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงสั่งสอนไว้แล้วว่า เราจะทำอะไร จงทำด้วยเหตุด้วยผลเถอะ อย่าไปงม งายอะไรเลย เพราะคนส่วนใหญ่ ในปัจจุบันนี้ ไม่ว่าพระ หรือฆราวาส ไปบังคับเขาให้เชื่ออย่างนั้น เชื่ออย่าง นี้ ที่ผมพูดมานี้ ก็เพื่อไม่ให้เวลามันผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ เราก็ทำความเข้าใจกันเสีย อย่างตื้นๆ อย่าง หยาบๆ เพราะว่า การจับความผิดตัวของเราเองนั้น ผู้ที่ประพฤติ ปฏิบัติ ลงไปแล้ว ทำลงไปแล้ว มันจะ ละเอียดเข้า ละเอียดเข้า ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเช่นนี้ เพื่อจะปิดประตูอบาย ไม่ให้เราไปตก นรก เพราะ ตัวอกุศลกรรมบถ 10 นี่ มันลงนรก แต่พวกเรา ถ้าเราตั้งอยู่ในความประมาทแล้ว เราจะเป็น อะไรก็ไม่รู้

ฉะนั้น ตามที่ผมพูดมา เช่นนี้ ก็เป็นอันว่า สมควรแก่เวลา จึงขอยุติกันเพียงแค่นี้...............