เรื่องทำความรู้จักกับนามธรรมตอนที่ ๗
--------------------------------------------------------------------

สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ
การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง

พุทธภาษิตดังกล่าว จะเห็นได้ว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า การให้ธรรมนั้นย่อมชนะการให้ทั้งปวง
เราจะเห็นได้ว่าปัญหาในเรื่องการให้หรือจาคะนั้น มีอยู่มากมายหลายประการ เริ่มด้วยอามิสก็ดี หรืออภัยก็ดี ธรรมะก็ดี
แต่ปัญหาในเรื่องธรรมะนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นการชนะการให้ที่ชนะการให้ทั้งปวงนั้น หมายถึงธรรมะ
อันสมควรแก่ผู้ที่จะได้รับ ธรรมะที่สมควรแก่ผู้ที่จะได้รับนั้น ไม่ใช่หมายความว่าธรรมะของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แล้วนี่ จะให้กันทั่วไปโดยไม่ดูบุคคลว่าสมควรจะได้รับแค่ไหน ประการใด ทั้งนี้เราจะเห็นได้ว่า ธรรมะของสมเด็จพระสัมมา
สัมพุทธเจ้านั้น เริ่มตั้งแต่ธรรมะสำหรับใช้ในชีวิตประจำวันแบบง่ายๆ สิ่งนั้นก็คือศีล ซึ่งถ้าผู้ใดที่มีศีลแล้วก็ย่อมจะไม่เบียด
เบียนซึ่งกันและกัน และในขั้นสูงต่อๆ ไปแล้วเราจะเห็นได้ว่าธรรมะบางประการ ถ้าเราสร้างธรรมะตัวนั้นประกอบด้วย
ทิฏฐุชุกรรมอันถูกต้องแล้ว อานิสงส์ของธรรมในข้อนั้นๆ ก็ย่อมจะตอบสนอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับทาน ซึ่งพวกเรา
ทุกคนได้ประพฤติได้ปฏิบัติกันมาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย ก็คงถือประพฤติปฏิบัติกันมาเช่นนั้น แต่หลายคนเท่าที่ประสบมา
เพราะมันเป็นเรื่องของประเพณีและขนบธรรมเนียมที่ทำกันมาเช่นนั้น แต่เขาไม่เคยคำนึงถึงในปัญหาในเรื่องทิฏฐุชุกรรมของ
ธรรมแต่ละข้อแต่ละประเภทเหล่านั้น ถ้าเราจะพิจารณากันดูให้ดีแล้ว ธรรมะแต่ละตัวนั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้
ทรงสั่งสอนเอาไว้ ในเรื่องนี้แต่ละตัวๆ นั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะทำกันได้ง่ายๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธรรมะในขั้นกามาวจรกุศล
ซึ่งได้แก่ทานเป็นต้น เป็นเรื่องที่ทำได้ยากลำบากอย่างเหลือเกิน และขั้นที่ ๒ ก็คือในเรื่องของการทำความสงบหรือ
สมาธินั้น ในสมัยปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่า มีความเข้าใจผิดกันอย่างมากมายหลายประการ ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะเหตุว่า
เขาไม่มีทิฏฐุชุกรรมในเรื่องนั้นๆ ส่วนใหญ่จึงไปสร้างมิจฉาสมาธิให้เกิดขึ้น แทนที่จะกลายเป็นบุญ กลายเป็นกุศลหรือ
ความสงบ มันก็กลายเป็นผู้วิเศษกันไปอย่างมากมายหลายประการ ซึ่งเราจะเห็นได้จากหนังสือพิมพ์ก็ดี วิทยุก็ดี ซึ่งเป็น
เรื่องที่น่าเศร้าในการประพฤติปฏิบัติในทางพุทธศาสนาเช่นนี้ นอกจากนั้นแล้วในขั้นโลกุตตรธรรม ก็ยังมีการเข้าใจผิดๆ
พลาดๆ ยังมีการเข้าใจว่าการประพฤติผิดๆ พลาดๆ นั้นเป็นการถูกต้อง โดยลืมนึกถึงพระธรรมคำสอน แต่หันกลับไปยึด
มั่นถือมั่นในคำสั่งสอนของพวกอมนุษย์ โดยที่ตัวเองก็ไม่รู้ว่าอมนุษย์ที่มาสั่งสอนนั้นเป็นอมนุษย์ประเภทไหน เป็นมิจฉาทิฏฐิ
หรือสัมมาทิฏฐิ เพราะเขาลืมนึกไปว่าพวกเทวดาชั้นต่ำก็ดีหรือต่ำกว่าเทวดาก็ดีนั้น ที่เขาไปเกิด เขาเกิดด้วยกามาวจรกุศล
หรืออกุศลจิต ที่เขาไปเกิดเช่นนั้น ผู้ที่จะไปเกิดในระดับของโลกุตตรกุศล พวกนี้ตามความเข้าใจของผม เขาไม่มีโอกาสจะ
ติดต่อได้ เพราะพวกเหล่านี้จะต้องไปเกิดในชั้นดุสิตกับในชั้นรูปพรหมชั้น ๕ ซึ่งเขาไม่เกี่ยวข้อง และไม่มีใครจะมีอำนาจ
ไปเรียกเขาได้ นอกจากบุคคลในระดับเดียวกันเท่านั้น
ฉะนั้นที่มาเข้าทรง มาสั่งมาสอน แน่แล้วหรือว่าท่านเหล่านั้นน่ะเป็นอริยบุคคล ถ้ามองไปให้ดีๆ เราจะเห็นล้วนแต่
อสุรกายที่เชื่อถือในลัทธิที่ตัวเมื่อยังมีชีวิตอยู่เคยประพฤติปฏิบัติทั้งนั้น ฉะนั้นการให้ธรรมะนั้น เราจะต้องให้ธรรมะอัน
ถูกต้องของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อให้ธรรมะอันถูกต้องแล้ว ต้องให้กับบุคคลที่สมควรแก่ประเภทของธรรมะนั้นๆ
คนบางคนก็รับได้เพียงขั้นธรรมะขั้นต้นๆ คือขั้นกามาวจรกุศล บางคนที่สูงหน่อย ก็อาจจะสามารถที่จะรับธรรมในขั้น
รูปาวจร หรืออรูปาวจรได้ หรือบางคนที่เขาได้สะสมกันไปมากแล้ว ก็อาจจะเข้าถึงธรรมะในขั้นโลกุตตรกุศลได้ ไม่ใช่เอาธรรมะขั้นโลกุตตรกุศลมาแจกจ่ายให้กับคนที่ไม่เลือกหน้า เขาทำกันไม่ได้ ไม่ใช่แต่ทำกันไม่ได้เท่านั้น ยังฟังไม่รู้
เรื่องด้วย แล้วมันมีประโยชน์อะไรในปัญหาเรื่องเช่นนี้ ฉะนั้นพวกเราอาจจะเข้าใจผมอย่างไรก็แล้วแต่ ผมเองนี่ ใครจะว่า
ยังไงก็ตามใจ แต่ผมจะเลือกเอาธรรมะเฉพาะที่เป็นประโยชน์กับพวกเราเท่านั้น ใครเขาจะหาว่าไม่มีความรู้อะไรก็ช่าง เพราะว่าถ้าไม่นำเอาสิ่งที่มีประโยชน์มาแจกจ่ายกับพวกเราแล้ว ธรรมะซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้
มันก็ไม่มีประโยชน์กับพวกเรา ฟังหูซ้ายออกหูขวา ฟังแล้วก็ไม่รู้เรื่อง จะนำไปประพฤติปฏิบัติก็ไม่เข้าใจ อย่างนี้ไม่มี
ประโยชน์อะไร ซึ่งคนส่วนใหญ่เขาทำกันเช่นนั้น เพราะเขาจะได้เห็นว่าผู้ที่ให้ธรรมนั้นกลายเป็นศาสดาผู้วิเศษไป แต่ผมไม่ต้องการเช่นนั้น ผมต้องการให้พวกเราทุกคนได้นำเอาธรรมะที่เป็นขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่า
ที่ปรากฏตามหลักฐาน ตามพระอภิธรรมบ้าง ทางในพระไตรปิฎกบ้าง นี่ เอามา analyse กัน มาทดลองประพฤติ
ปฏิบัติกัน เมื่อทดลองประพฤติปฏิบัติได้ผลแล้ว เราก็แจกจ่ายกันไปเท่านี้ ไม่มีอะไรดีวิเศษไปกว่านี้เลย ฉะนั้น
ในการที่เราจะพูดกันในวันนี้ เราก็คงจะมีหลักการอย่างที่ผมกล่าวนั่นเอง ไม่มีสิ่งใดที่จะกล่าว นอกเหนือไปกว่านี้อีก
ในวันก่อนเราได้พูดกันถึงเรื่องการรู้จักกับนามธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับโสภณเจตสิกไปแล้ว ๔ ตัว ซึ่งเรา
พูดกันถึงเรื่องนามธรรมนี้ เจตนาก็เพื่อจะให้มีการฝึกสติ การฝึกสตินั้นผมบอกแล้วว่าเป็นเรื่องสำคัญยิ่งในหลักการ
ของพระพุทธศาสนา เพราะว่าเราจะมีชีวิตอยู่ประจำวันก็ดี ถ้าเรามีสติอยู่เสมอแล้ว เราก็ไม่ล่วงไปในอกุศลกรรมบถ
๑0 ได้โดยง่าย และเมื่อเราจะตายก็ดี ถ้าเรามีสติฝึกไว้สม่ำเสมออยู่แล้ว เราจะตายเมื่อไหร่เป็นเรื่องเล็ก เพราะเหตุไร
เพราะเราพร้อมแล้วซึ่งสติ เมื่อเรามีสติพร้อมแล้วเช่นนี้ การที่เราจะไปสู่ทุคติภูมินั้นมันก็เป็นไปไม่ได้ เพราะว่าสติเราเกิด
ขึ้นแล้ว ซึ่งเป็นการตรงกันข้ามกับผู้ที่ปราศจากสติ แม้แต่มีชีวิตอยู่ประจำวันเราก็หาความสุขความสงบไม่ได้ ทั้งนี้เพราะ
เหตุอะไร เพราะอกุศลเจตสิกทั้งหลายนั้น มันเป็นเครื่องยั่วยุ ยุแหย่ ชักนำให้เราทำแต่ในสิ่งที่ไม่ดี ไม่งาม หรือเรียกกัน
ง่ายๆ ก็ว่าอกุศลนั่นเอง ถ้าเรามีพร้อมแล้วซึ่งสติ เราก็ใฝ่ไปทางข้างกุศล เมื่อเรามีสติระลึกรู้แล้ว เราก็จะต้องรู้จักปรัมตถ
ธรรมต่อไปที่มันเกิดขึ้น นั่นคือรูปหรือนาม ซึ่งรูปนั้นผมได้พูดกันมาแล้ว ๒๘ รูป ไม่ทราบว่ามีท่านผู้ใดสงสัยประการใด
หรือไม่ในระยะหลัง เราก็ศึกษาหาความรู้กันเสีย ทีนี้ในขั้นที่ ๒ ผมก็นำมาให้พวกเราได้รู้จักกันกับนามธรรม คือเจตสิก
๕๒ ส่วนจิต ๘๙ ดวงนั้นเราเก็บไว้ก่อน เอาไว้พูดกันในทีหลัง เพราะมันเป็นเรื่องเราค่อยๆ เดินค่อยๆ ไปดีกว่า การที่
เราต้องนำเอาทฤษฎีในเรื่องของปรมัตถธรรมแต่ละตัวคือรูป ๒๘ เจตสิก ๕๒ และจิต ๘๙ มาชี้แจงกันนี่ เพราะอะไร
เพราะว่าเมื่อเราฝึกสติให้เกิดขึ้นแล้ว เราก็จะสามารถจะใช้มันได้ทันที เมื่อเรารู้ตัวว่าอะไรเป็นรูปเป็นนาม มันเป็นรูป
เป็นนามประเภทไหนอย่างไร เราก็ใช้สติปัญญาพิจารณากันได้ด้วยตนของตนเอง ไม่ต้องไปไถ่ถามใครเขา เพราะว่า
เขาอาจจะรู้เกินมนุษย์ไปก็ได้ ถ้าเช่นนี้มันก็ยุ่ง เมื่อเรารู้อย่างเช่นนี้แล้ว เราก็สามารถที่จะปฏิบัติโลกุตตรกุศลได้โดยไม่
ยากนัก ถ้าเรามีเจตนาจะประพฤติจะปฏิบัติ
เมื่อวันก่อนนี้ เราได้พูดกันถึงเรื่องหิริเจตสิกกับโอตตัปปเจตสิกมาแล้วว่ามันมีประการใด วันนี้เราจะได้พูดกันถึง
อโลภเจตสิก ซึ่งมันเป็นโสภณเจตสิกอีกตัวหนึ่ง อโลภเจตสิกนี้ หมายถึง ความไม่อยากได้ ความไม่ข้องในอารมณ์
ความไม่ติดในอารมณ์
เพียงแต่ความหมาย ๓ ประการว่า ความไม่อยากได้ ความไม่ข้องในอารมณ์ ความไม่ติดในอารมณ์
นี้ ขอให้พวกเราทุกคนจงมีใจเป็นธรรม พิจารณาตัวของตัวเองว่าก่อนที่เราจะได้มาศึกษาหาความรู้กันในเรื่องเจตสิก
เหล่านี้ ในขณะที่เราทำสมถกัมมัฏฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราทำการเพ่งนิมิตก็ดี บางท่านก็สามารถทำความก้าวหน้าไป
ได้ด้วยดีน่าปลาบปลื้มใจ แต่บางท่านตรงกันข้าม ทำไมมันไม่มีความแก่กล้า มันมีแต่ความทรงตัวและถอยหลังอยู่
เพราะอะไร เพราะเราขาดอโลภเจตสิก แต่เรามีโลภเจตสิกอยู่ ซึ่งผมได้เคยพูดไว้แล้วว่า ความอยากได้ ความต้องการ
ความติดอยู่ในอารมณ์ ที่เราประพฤติปฏิบัติเช่นนี้ ซึ่งมันเป็นศัตรูกับการประพฤติปฏิบัติเช่นนั้น เพราะจิตของเราไม่
บริสุทธิ์พอ เหตุนี้แหละเราจึงควรจะได้พิจารณาตัวของเราเองว่า ในขณะที่เราทำเช่นนั้น เรามีความหวัง มีความปรารถนา
ในความสำเร็จในผลปฏิบัติประการใดหรือไม่ ถ้าเรามีเช่นนั้นมันก็เป็นโลภเจตสิกบังเกิดขึ้น เมื่อเช่นนี้แล้วอกุศลเจตสิก
เกิดขึ้นเช่นนี้แล้ว เราจะไปปะปนกันกับกุศลที่เราสร้างขึ้นได้อย่างไร เรื่องนี้ขอให้เราพิจารณาดูในเรื่องความเพียร ๔
ความเพียร ๔ ในเบื้องต้น ๒ ตัวแรกนั้นก็คือ เพียงละอกุศลตัวหนึ่งและเพียรมิให้อกุศลเข้ามากล้ำกรายย่ำยีจิตใจของเราได้
เมื่อเราเพียรที่จะละและเพียรที่จะป้องกันอกุศลแล้ว เราถึงจะเพียรสร้างกุศลต่อไป ก็เมื่อมันเป็นเรื่องที่ตรงกันข้าม
ในขณะที่เรากำลังเพ่งนิมิตก็ดี เราปรารถนาความสำเร็จข้างหน้าเช่นนั้น นั่นอะไร ก็คืออกุศลได้เกิดขึ้นแล้วในจิตของเรา
แต่เราไม่รู้ตัว ดังนั้นเมื่อเรามาได้เห็นอโลภเจตสิกขึ้นเช่นนี้ เราก็ควรจะได้ทำความรู้จักลักษณะของมันต่อไป เราจะได้
ยึดมันไว้ เพื่อประกอบในการสร้างผลในทางสมถะต่อไป เพราะว่าเจตนาของผมนั้น ในการที่เราพบปะเจอะเจอกันในด้าน
ของสมถะ ทีแรกนั้นมันก็มีเป้าหมายเพียงแต่เรื่องความสงบเท่านั้น บังเอิญพวกเราทุกๆ คนทำความสงบได้แล้ว
ก็ไม่ยอมจากกัน ก็มานั่งตื้อกันอยู่เช่นนี้ ผมจะทำยังไง ผมก็ต้องพยายามต่อให้มากยิ่งกว่าความสงบขึ้นไปอีก นี่ เมื่อต่อ
ให้มากยิ่งกว่าความสงบขึ้นไปอีกแล้ว เราก็จำเป็นจะต้องมาศึกษาธรรมะแต่ละตัว คนไหนมีคุณสมบัติอย่างไร คนไหน
ยังไม่มีประการใด เราจะได้ปรับปรุงกันเสีย แต่ผมไม่ทราบว่าพวกเราแต่ละคน หัวข้อธรรมะที่ผมพูดมาแต่ละตัวๆ
นั้นตั้งแต่ต้นนำไปใช้ประโยชน์บ้างหรือเปล่า ผมไม่รู้ เมื่อผมกล่าวมาถึงอโลภเจตสิกแล้ว และโยงไปให้เห็นให้ไปเชื่อม
ทางสมถะแล้วว่าผลมันจะเกิดหรือไม่เกิดขึ้นอยู่กับอโลภเจตสิกกับโลภเจตสิกตัวนี้แหละ เราจะคบกับตัวไหนดี
อโลภเจตสิกนี้นอกจากความหมายดังกล่าวแล้ว ยังมีความไม่ติดในอารมณ์นั้นเป็นลักษณะ พอมาพูดถึงความไม่ติด
ในอารมณ์นั้น ก็ได้แก่พวกเราอีกนั่นแหละ แม้แต่เวลาขณะนี้ผมก็เข้าใจว่าพวกเราที่มาใหม่บางคนก็กำลังติดอยู่คือไม่มี
อโลภเจตสิก แต่มีโลภเจตสิกอยู่ คือติดในอารมณ์ คือเมื่อเพ่งนิมิต บางขณะสุขเวทนามันก็เกิด ก็หลงติดอยู่ ไม่ไปไหน
กันล่ะ ทำไมถึงต้องติดอยู่อย่างนั้น เพราะในชีวิตของเขา เขาไม่เคยได้รับความสุขความสงบ บังเอิญมาได้รับความสุขเข้า
ในขณะทำสมาธิเช่นนี้ เขาก็เกิดการติด ถ้าเรายังไม่พิจารณา ขาดสติ มายึด มาติดอยู่ในความสุขความสงบเช่นนั้นแล้ว
โอกาสที่เขาจะก้าวไปสู่ขั้นสูงๆ ต่อไป รู้สึกว่าจะเป็นการยากลำบาก โลภะเจตสิกเกิดขึ้นยังไม่รู้ตัว นี่
ความไม่ติดในอารมณ์นี้เป็นลักษณะของอโลภเจตสิก ขอให้จำไว้ เวลาผมว่าเข้า บอกเอ้า ทำไมเกิดมีโลภะ ฉันไม่มีสัก
หน่อยนึง เพียงแต่ว่าอ้ายตรงนี้มันสุขดีเท่านั้นเอง มันก็กรรม เพราะเหตุไร เพราะเขาไม่รู้จัก definition ของคำว่า
อโลภเจตสิกมันเป็นแค่ไหน เขาคิดว่าเขาไม่โลภก็แล้วกัน อ้ายโลภะนี่ในที่นี้ไม่ใช่หมายความจะโลภไปอยากได้เงิน
ในกระเป๋าเขาอะไรเขา ไม่ถึงแค่นั้นหรอก เพียงแต่ปรารถนาว่า เอ้อแหมวันนี้ทำได้ไม่ค่อยดี มันควรจะดีแค่นี้ กว่านี้
อ้ายนี่มันก็โลภะเกิดขึ้นแล้ว ประโยชน์อะไร ถึงได้พยายามที่จะสร้างใจพวกเราทุกคนให้เป็นอุเบกขา ความเป็น
อุเบกขานั่นไม่ใช่จะสร้างกันได้ง่ายๆ อย่างที่บางคนเข้าใจ ฉะนั้นในระดับพวกที่ผมแบ่งของผมไปส่งเดชไปนั่นน่ะ พวก
วิเคราะห์ศาสตร์น่ะ ถ้าไม่สามารถที่จะรักษาความบริสุทธิ์ของจิตเอาไว้ให้ได้เป็นอุเบกขาและมีอโลภะตลอดแล้ว ยากที่เรา
จะเข้าถึงในการพิสูจน์ข้อเหล่านั้น หรือวิเคราะห์ข้อเท็จจริงต่างๆ ในทางธรรมชาติประกอบกับธรรมะ นี่จะเป็นของยาก
ฉะนั้นเราเริ่มกันเสียในขั้นต้นว่า เราทำอย่างไรเราถึงจะมีความเป็นอุเบกขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราจำเป็นต้องตัดตัวนี้
ออกก่อน ตัวโลภะ ก็เอาลักษณะของอโลภะนี่แหละมาครอบคลุมจิตใจของเราเข้า
นอกจากมีความไม่ติดในอารมณ์เป็นลักษณะแล้ว ก็มีการไม่หวงแหนเป็นกิจอยู่อีก การไม่หวงแหนในที่นี้ ก็หมาย
ถึงเราสามารถจะละทิ้งเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่มีการห่วง ไม่มีการใย คือไม่ติดแล้ว ไม่ติดแล้วยังไม่มีการหวงแหนอีก นี่
ฉะนั้นเราสังเกตดู การที่เราทำไมบางคนนี่ไม่สามารถจะเลื่อนขั้นฌานจิตขึ้นไปได้ เพราะว่าไปติดอยู่ในอารมณ์ ถ้าเขา
ไม่ติดและเขาไม่หวงแหนแล้ว เขาก็ตัดทิ้งไป เมื่อเขาตัดทิ้งไป เขาก็สามารถที่จะก้าวไปสู่ขั้นฌานจิตขั้นสูงๆ ได้อีก นี่
เห็นไหม เพียงแต่ลักษณะของอโลภเจตสิกตัวเดียว เรารู้จักนำเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์ซี่ แล้วมันจะเกิดประโยชน์ขึ้น
อย่างมากมาย
ประการต่อไป ก็มีการไม่ยึดมั่นเป็นผล ของอโลภเจตสิก คือการไม่ยึดมั่นถือมั่น ฉะนั้นการที่บุคคลเรานี่ ส่วนมาก
พวกเรานี่ส่วนใหญ่ยังมีการยึดมั่นถือมั่นในเรื่องของตัวบุคคล ผมว่าถ้าเราไม่หัดทำลายมันเสียแต่ตอนต้นๆ นี่ มันจะเป็น
การลำบากยากในทางปฏิบัติที่จะให้เกิดผลเช่นนั้น ในเรื่องความเคารพนับถือผมไม่ได้ว่า ผมไม่รังเกียจอะไรเลย ทุกคน
แต่อย่ายึดมั่นถือมั่นในตัวบุคคลเลย ไม่มีประโยชน์อะไรหรอก เพราะเหตุไร อย่างน้อยก็ขัดกับพุทธวัจนะในข้อที่ว่า
อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนของตนนั่นแหละที่จะเป็นที่พึ่งของตนเอง ก็ทำไมคนอื่นเราพึ่งเขาได้ ทำไมเราไม่ฝึกฝน
ตนของตนเองให้เป็นที่พึงของตนเองได้เล่า เมื่อเราสามารถฝึกฝนตนของตนเองให้เป็นที่พึ่งแห่งตนเองได้แล้ว เราก็ยัง
ประโยชน์ตัวของเรานี้ให้เป็นประโยชน์กับคนอื่นได้อีก เรานึกในข้อนี้บ้างหรือเปล่า นี่ ถ้าท่านมีอโลภเจตสิก เราพิจารณา
ถึงเรื่องผลแล้ว เราก็ไม่มีความยึดมั่นถือมั่นในเรื่องนั้นๆ เมื่อเราไม่มีความยึดมั่นในเรื่องนั้นๆ แล้ว ใครล่ะที่จะสามารถมา
หลอกเราได้ ไม่มีทาง พูดมายังไง เข้าหูซ้ายก็ออกหูขวา เพราะเราไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นนี่ และวัตถุมงคลก็ดี เครื่องลางของ
ขลัง อะไรต่างๆ ก็ดี ก็ไม่สามารถที่จะเข้ามายึดเหนี่ยวจิตใจของเราได้ นี่มันเป็นกำไรของชีวิต ธรรมะแต่ละตัวถ้าเรา
ศึกษาทำความเข้าใจแล้ว เราก็จะได้รับประโยชน์เช่นนี้
นอกจากนี้แล้วยังมีอีกตัวหนึ่งคือการเอาใจใส่เป็นอันดีต่ออารมณ์นั้น เป็นเหตุใกล้ นี่เป็นอโลภเจตสิก ซึ่งหมายความ
ว่าโยนิโสมนสิการปทัฏฐาโน คือการมีเอาใจใส่อันดีต่ออารมณ์นั้นเป็นเหตุใกล้ อารมณ์ในที่นี้ผมหมายถึงอารมณ์ของ
กัมมัฏฐาน ถ้าเราทำสมถะ อารมณ์ของกัมมัฏฐานเราก็มีถึง ๔0 อารมณ์ แล้วแต่เราจะกำหนดเอาอารมณ์ไหนมาเป็น
เครื่องมือในการทำกัมมัฏฐานนั้นๆ ถ้าเราเจริญทางวิปัสสนาเราก็จะต้องรู้ว่าอารมณ์ที่เรากำลังพิจารณาอยู่นั้น มันเป็น
รูปารมณ์ หรืออารมณ์ทางนัยน์ตา ที่เกิดขึ้นทางนัยน์ตา หรืออารมณ์ที่เกิดขึ้นทางหูจากการฟังเสียง คือเป็นรูปารมณ์
หรือสัททารมณ์ หรือรสารมณ์ คันธารมณ์ เหล่านี้เราต้องรู้ เมื่อรู้แล้วเราก็เอาใจใส่ในอารมณ์อันดีในเรื่องเหล่านั้น
ถ้าเราไม่มีโยนิโสมนสิการปทัฏฐาโนแล้วนี่ มันก็เป็นการยากที่จะพิจารณาในเรื่องการเห็นต่างๆ เช่นนี้ นี่ ผมขอให้พวก
เราได้รับรู้ไว้ นี่มันเป็นตัวหนึ่ง ไม่ใช่จะมาใช้สติตัวเดียว แล้วเราจะทำความสำเร็จต่างๆ ได้ อ้ายสตินั้นมันเป็นเรื่องของ
มูลฐานขั้นต้นร่วมกับศรัทธา ถ้าเราไม่มีศรัทธาแล้ว เราก็เข้ามาในพุทธศาสนาไม่ได้อย่างเด็ดขาด ฉะนั้นเมื่อเรามีศรัทธา
มีสติแล้ว เราก็จะต้องมีตัวประกอบอื่นๆ ด้วย นี่ ตัวประกอบตัวนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นผลในทางสมถะก็คืออโลภ
เจตสิกตัวหนึ่ง
นอกจากอโลภเจตสิกแล้วยังมีอีกตัวหนึ่ง ซึ่งพวกเราอาจจะไม่เคยได้ยินก็ได้ นั่นคือ อโทสเจตสิก อโทสเจตสิกนี้
หมายถึง ความไม่โกรธ ความไม่หยาบคาย ความไม่มีปองร้าย ความไม่มีประทุษร้าย เพียงแค่นี้ เราพิจารณา
ตัวเราเอง อโทสเจตสิกนี้เป็นโสภณเจตสิก คือเจตสิกฝ่ายข้างดี ข้างงาม เรามีไหม อโทสเจตสิก หรือเรามีแต่โทสเจตสิก
หมายถึงเราได้ยินเสียง อโทสเจตสิกนี้ตามความเห็นของผม ก็เห็นว่ามันเข้ามามีประโยชน์ในเรื่องของการประพฤติ
ปฏิบัติหรือสร้างความเข้มแข็งให้ทางสมถะเช่นเดียวกัน แต่ผมไม่รู้ว่าพวกเราจะรู้สึกตัวหรือไม่ว่า ความไม่โกรธ ความ
ไม่หยาบ ความไม่ปองร้าย ความไม่ประทุษร้ายนั้น มันเป็นคุณสมบัติของพวกเราแล้วหรือยัง หรือมันเป็นแต่เพียงแต่ว่า
เราได้เห็นในสิ่งไม่พอใจ เราก็เกิดไม่พอใจเกิดขึ้น หรือเห็นสิ่งที่ไม่ดีงาม เราก็ไม่มีความพอใจเกิดขึ้น เราได้กลิ่น รู้รส
ฟังเสียง สัมผัสสิ่งที่ไม่ดีงาม เราก็ไม่พอใจเกิดขึ้น เช่นนี้ ก็นับได้ว่าเรายังไม่มีอโทสเจตสิกอยู่ในตัวของเรา แต่เรามีสิ่ง
ที่ตรงกันข้ามคือโทสเจตสิกยังเป็นคุณสมบัติครอบครองจิตใจของเราอยู่ ถ้าเรามีอยู่เช่นนี้แล้ว จิตของเราก็ยังตกอยู่ในฐานะ
๖ คือความบริสุทธิ์เกิดขึ้นไม่ได้ ฉะนั้นปัญหาในเรื่องการที่เราจะนำเอาธรรมะแต่ละตัว มาใช้ประกอบในชีวิตประจำวัน
หรือหลักวิชาต่างๆ นั้น มันไม่ใช่เรื่องการทำกันได้ง่ายๆ แต่ถ้าเราเพียงแต่ว่าเราต้องการความสงบเท่านั้น มันเรื่องเล็ก
ฉะนั้นสมาธินี่เราต้องเข้าใจเสียก่อนว่า ใครๆ ก็ทำได้ ถ้าเจตนาหรือมีความพอใจจะทำเช่นนั้น ความสงบใครๆ ก็หาได้
จากลมหายใจ จากการเพ่งโน่นเพ่งนี่ อะไรๆ มันก็หาได้ แต่การที่จะนำเอามาใช้จริงๆ นั้น มันต้องประกอบกันหลายแง่
หลายมุม ไม่ใช่บอกว่า โอยฉันบริสุทธิ์ ไม่มีอะไรเลย ฉันบริสุทธิ์ ไม่มีอะไรเลย ลักษณะเช่นนี้ ไม่มีทาง เพราะเหตุไร
เพราะว่าคนผู้นั้นอยู่ แต่ในความประมาท ไม่ได้พิจารณาตนเอง ไม่ได้ศึกษาว่าสิ่งนั้นๆ น่ะ ในข้อธรรมนั้นๆ น่ะมัน
มีปรากฏอยู่ในตัวหรือไม่ ทำไมผมถึงได้พูดเช่นนั้น ผมถือว่า เจตสิก ๕๒ ตัว ซึ่งมีทั้งดี ทั้งชั่ว และตัวกลางๆ นั้น
มันกำเนิดเกิดมาพร้อมกันในวัฏฏะของเรา ก็เมื่อเราไม่ได้ฝึกไม่ได้ฝนไม่ได้อบรมาตั้งแต่ในอดีตแล้ว อ้ายความดีความ
งามในเจตสิกเหล่านั้นมันจะเกิดขึ้นได้อย่างไร เรามีแต่หมกมุ่น เราคบค้ากันอยู่กับความชั่วคืออกุศลเจตสิกทั้งหลาย
ฉะนั้นถ้าเราไม่หัดสร้างความบริสุทธิ์ให้แก่จิตใจของเราแล้ว มันก็เป็นการยากลำบากเหลือเกินที่เราจะนำมาใช้
ฉะนั้นพวกเราบางคนจึงได้หาวิธีการทีว่าทำไมเราถึงจะสร้างความบริสุทธิ์ในจิตใจของเราให้เกิดขึ้นได้ ก็ได้นำเอาความ
จริงคือคุณสมบัติของรูปและนามบางตัวเอามาใช้ เช่นตัวอนิจจังก็ดี หรือตัวทุกขังก็ดี หรือตัวอนัตตาก็ดี ตัวใดตัวหนึ่ง
นี่ เอานำมาใช้เพื่ออบรมสั่งสอนจิตของเรา มันก็ทำให้จิตของเรามีความสะอาด มีความบริสุทธิ์อย่างน้อยมันก็ไม่มี
โลภเจตสิกเข้ามาครอบงำ มันก็มีแต่อโลภเจตสิกเข้ามาเป็นตัวแทน และมันก็ไม่มีโทสเจตสิกเข้ามาครอบงำ แต่มีอโทส
เจตสิกเข้ามาครอบงำ มันก็เป็นผลดีในการสร้างในเรื่องของสมถะเช่นนี้ พวกเราทุกคน ถ้าผมไม่หยิบเรื่องนี้ขึ้นมาสาธยาย
ให้พวกเราฟังแล้ว ก็คงจะไม่เห็นความจำเป็น ก็บอกว่า ฉันมีความบริสุทธิ์ของจิตแล้ว แต่ที่จริงยังมีโลภะอยู่ ยังมีโทสะอยู่
สำหรับผู้ต้องการความสงบนั้นก็ไม่จำเป็นต้องสร้าง แต่สำหรับผู้ที่จะเจริญวิปัสสนา จำเป็นอย่างยิ่งต้องสร้าง ถ้าไม่สร้าง
ไม่มีทางสำเร็จ ได้แต่มานั่งยึดมั่นถือมั่นนั่งราบนั่งกรานเขาไปก็แล้วกัน นี่ ฉะนั้นผู้ใดก็ดี ถ้ารู้ตัวว่าเราไม่สามารถที่จะ
สร้างความบริสุทธิ์ให้เกิดขึ้นแก่จิตด้วยเจตสิกต่างๆ ที่ผมพูดมานี้ โปรดบอกผมด้วย จะได้ลบชื่อออกจากกระดานดำเสีย
ซึ่งมันไม่มีประโยชน์อะไร เอาไว้ใส่ชื่อคนที่เขาต้องการ ที่เขาสามรถจะทำได้ดีกว่า
ผมพูดมาถึงเรื่องอโทสเจตสิกเพียงแต่ความหมายเท่านั้น มันก็มากไปแล้ว ทีนี้ผมจะพูดต่อไปถึงลักษณะของมันมี
เป็นอย่างไร ลักษณะของอโทสเจตสิก ก็คือ มีความไม่ดุร้ายเป็นลักษณะ มีคการทำลายความอาฆาตเป็นกิจหรือหน้าที่
มีความร่มเย็นเป็นผล มีการเอาใจใส่เป็นอันดีต่ออารมณ์นั้นเป็นเหตุใกล้ เราจะเห็นได้ อโทสเจตสิกกับอโลภเจตสิกนี่
มันมีลักษณะและคุณสมบัติต่างๆ ใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุใกล้นั้น มันมีลักษณะอันเดียวกัน คือมีการเอาใจใส่
เป็นอันดีต่ออารมณ์นั้นเป็นเหตุใกล้ นี่ ทีนี้ปัญหาในเรื่องเหล่านี้ ผมอยากจะชี้ให้พวกเราได้เห็นสักอย่างหนึ่งว่า อโทสะกับ
ขันตินั้นมันคนละเรื่อง อโทสะนั้นหมายถึง ความไม่โกรธ ไม่หยาบ ไม่มีการปองร้าย ไม่มีการประทุษร้าย นี่เป็นคุณสมบัติ
ที่เกิดขึ้นในจิตของเราก่อนที่จะพบอะไรต่ออะไรทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการพบรูปทางนัยน์ตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย
ทางใจ คุณสมบัติอันนี้มันเกิดขึ้นก่อน แต่ส่วนขันตินั้น ซึ่งหมายถึง ความอดทน ทนตรากตรำ ทนลำบาก ทนต่อเหตุ
ที่ทำให้เจ็บใจ อะไร นี่ อ้ายนี่คุณสมบัติอันนี้มันเกิดขึ้นหลังจากสภาวะธรรมอันนั้นมันเกิดขึ้นแล้ว ต่างกันนะสังเกตดูให้
ดีเถอะ ถ้าเราไม่สังเกตดูว่า เอ๊ะ อ้ายไม่โกรธกับอดทนนี่มันตัวเดียวกัน ไม่ใช่ คนละตัว อ้ายไม่โกรธนี่เป็นคุณสมบัติ
ประจำตัวของเราอ้ายอดทนนั่นมันต้องมีเหตุเกิดขึ้นแล้ว นี่ แต่ผลของมันก็คือความไม่โกรธเหมือนกันนั่นเอง ผลที่ออกมา
ทีนี้ปัญหาอีกเรื่องหนึ่งซึ่งอาจจะมีผู้เข้าใจผิดๆ ในปัญหาในเรื่อง เมตตา เมตตานั้นหมายถึงยังประสงค์ให้ผู้อื่นมี
ความสุขด้วย คือการมีการเล็งเห็นความงดงามแห่งจิตใจของผู้อื่น เป็นฐานที่เกิด แยกกันให้ดีนะ อ้ายเรื่องเมตตากับ
ราคะนี่มันใกล้เคียงกันเหลือเกิน เมตตานั้นมีการเล็งเห็นความงดงามแห่งจิตใจของผู้อื่นเป็นฐานที่เกิด เห็นจิตใจนะ
แต่ส่วนราคะนั้น มีการเพ็งเล็งเห็นความงดงามแห่งร่างกายของผู้อื่นเป็นฐานที่เกิด จิตใจกับร่างกายนะ ระวังให้ดี
ฉะนั้นอ้ายหนุ่มบางคนนี่บอกว่าเมตตากับอีสาว ลองอีสาวปากแหว่งจมูกวิ่นยังจะเมตตาไหม นี่มันเป็นเรื่องของราคะ
แต่เมตตานั้นต้องเข้าไปลึกถึงจิตใจ เอ้อ จะเป็นคนแก่มือสั่นทำอะไรไม่ไหวก็แล้วแต่เถอะ แล้วจะเป็นหูแหว่งจมูกวิ่น
ถ้าเมตตาแล้ว มันเป็นเรื่องของภาวะจิต ไม่ใช่เรื่องของร่างกาย ฉะนั้นเราคือพูดกันง่ายๆ อ้ายเมตตามันเกิดขึ้นภายในน่ะ
จิตต่อจิต แต่อ้ายเรื่องราคะมันเกิดจากอ้ายรูปภายนอกมันเป็นเหตุนำ อันนี้เราต้องรู้นะ เมตตานั้นมันเป็นตัวสร้างกุศล
ธรรมให้เกิดขึ้น ส่วนราคะนั้นมันเป็นตัวทำลายกุศลธรรมให้ฉิบหายวอดวายไป มันคนละตัว มันประเดี๋ยว คือผมรู้สึกว่า
คนหลายคน แม้แต่หนังสือพิมพ์ก็ดี บอกเมตตาอย่างนั้น ทำอย่างนั้นอย่างนี้ ผมเลยหัวร่อกิ๊กเลย พิโธ่ มันเป็นเมตตา
ไปได้ยังไง มันอย่างนี้ ทีนี้เราได้รู้กันแล้วในเรื่องอโลภเจตสิกที่มันมีคุณสมบัติในทางสมถะ และอโทสเจตสิกซึ่งมันมี
คุณสมบัติในทางสมถะเหมือนกัน
ทีนี้อีกตัวหนึ่งพวกเราอาจจะไม่เคยได้ยินเรียกว่า ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก ตัตรมัชฌัตตตเจติสิกนี้ คือการทำใจ
ให้เป็นกลาง เป็นยุติธรรม ไม่มีอคติ ไม่ลำเอียง การวางเฉยในอารมณ์ นี่ เป็นความหมายของเจตสิกตัวนี้ เห็นไหม
ความสำคัญในการเพ่งนิมิต ในทางสมถะ บางคนนี่พอจะเพ่งนิมิต พอจะเห็นอะไรพับใจมันไม่เป็นกลางเสียแล้ว
สั่นพั่บๆๆ ไปเลย นิมิตนั้นสั่นสะเทือนเสียหมด อย่างนี้เพราะเหตุไร เพราะมันไม่มีตัตรมัชฌัตตตาเจตสิกตัวนี้
เมื่อเรารู้ว่ามันไม่มีแล้ว เราก็ฝึกหัดอบรมให้เกิดขึ้น แปลกอะไร ตำราเรามีอยู่ในตู้เยอะแยะไป เราขี้เกียจอ่าน เราก็ไต่
ถามเขา เราไต่ถามเขารู้เรื่องแล้วสติของเราไม่เกิด เราก็วานพรรคพวกเพื่อนฝูงคอยเตือนสติทีนะอ้ายตัวนี้ หนักๆๆ
เข้า เราก็ทำได้ เช่นนี้ เราจะไปอายกันทำไม ฉะนั้นพวกเราบางคนที่เข้าใจผิดๆ ว่าทำไมผมต้องเอาอภิธรรม โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งปรมัตถธรรมนี่มานั่งสั่งสอนพวกคุณอีก อย่าลืมว่าการที่เราจะก้าวขึ้นไปในธรรมะขั้นสูงนั้น เราจำเป็นต้องศึกษา
ให้เข้าใจในเรื่องปรมัตถธรรม ถ้าเราไม่เข้าใจในเรื่องปรมัตถธรรมแล้วนี่ มันยากเหลือเกิน ไม่สามารถที่จะหยิบยื่นให้กันได้
ในเรื่องตัตรมัชฌัตตตาเจตสิกนี้ นอกจากความหมายแล้ว ต่อไปเราก็ควรจะได้รู้ลักษณะของมันไว้ด้วยคือ มีการ
ทรงไว้ซึ่งจิตและเจตสิกให้เสมอภาค เห็นไหม พวกเราบางคน ทำได้แล้ว มีการทรงไว้ซึ่งจิตและเจตสิกให้เสมอภาค
บุคคลประเภทนี้นิมิตเขาจะนิ่งและแน่นไม่กระดุกกระดิก ไม่สั่นไม่คลอนในทางสมถะ เพราะเขามีเจตสิกตัวนี้บังเกิดขึ้น
แล้ว สิ่งที่เขาบังเกิดขึ้นแล้วนั้น ไม่ใช่เขาไปรับทรัพย์มรดกมาจากไหน เขาฝึก เขาหัด เขาอบรม เขาไม่รู้เขาถาม ถาม
เข้าใจแล้ว คอยนั่งเตือนสติของเขาเองอยู่เสมอ มันก็เกิดขึ้นเพียงระยะเวลาไม่นานนัก นี่ผลมันปรากฏขึ้นมาแล้ว และก็
สามารถนำมาใช้ให้ได้ผลแล้ว นี่มันเป็นสิ่งที่น่าอนุโมทนาเขา ฉะนั้นพวกเราบางคนที่นั่งหลับหูหลับตาทำ คิดว่า อ้า ฉัน
แค่นี้รู้แล้วก็อยู่แค่นั้นเถอะ อย่าไปต่อไปเลย ไม่มีทาง
นอกจากลักษณะแล้ว ต่อไปเราก็จะได้รู้ถึงกิจหรือหน้าที่ของมันอีกว่า มันมีเป็นประการใด ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิกนั้น
มันมีการห้ามความยิ่งหย่อนเป็นกิจ เห็นไหม เคร่งก็ไม่เกินไป หย่อนก็ไม่เกินไป มัชฌิมาปฏิปทา เห็นไหม ฉะนั้นเรื่อง
การสร้างจิตของเราให้เกิดภาวะแห่งความบริสุทธิ์ ฉะนั้น พวกที่อยู่ประเภทวิเคราะห์ศาสตร์นี่ ผมจึงจำเป็นต้องให้พวก
คุณนี่สร้างความบริสุทธิ์ในจิตให้เกิดขึ้น คือสิ่งเหล่านี้แหละ ซึ่งเป็นตัวสำคัญ ถ้าเราไม่มีความบริสุทธิ์ในจิตให้เกิดขึ้นแล้ว
ยากที่เราจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ฉะนั้นอย่าลืมว่าไหนๆ เรานี่บากบั่นวิชาทางโลกมาแล้ว เราก็เอาความรู้ในเรื่อง
ธรรมะไปบวกกับวิชาในทางโลกดูซิ มันจะเกิดผลไหม นึกว่าเราเป็นหนูตะเภาก็แล้วกัน แต่ผมคิดว่าธรรมะขององค์สมเด็จ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นแนะไว้แล้ว ถ้าเรารู้จักมีปัญญานำมาใช้แล้วมันจะเกิดประโยชน์อย่างมหาศาลเรามีชีวิตอยู่ไปก็
ไม่กี่สิบปี ฉะนั้นก่อนที่เราจะตายลงเราจงใช้เวลาที่เรามีอยู่ในชีวิตให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด เราไม่มีการงมงาย เราจะ
ทำอะไร เราทำกันด้วยเหตุด้วยผลและหลักวิชาในเรื่องนั้นๆ ดูซิ มันจะเป็นอย่างไร ให้มันรู้ไป
นี่ นอกจากนั้นแล้ว มีความเป็นกลางเป็นผล นี่ ฉะนั้นจิตที่ทำหน้าที่ ๔ ประการนั้นมันจะต้องเป็นจิตที่พอกพูน
ไปด้วยอุเบกขา คือความเป็นกลางตัวนี้แหละ ซึ่งเราเรียกว่าอุเบกขา ฉะนั้นการฝึกทำจิตให้เป็นอุเบกขานั้น เราจะต้อง
ฝึกสร้างจิต ทำความเข้าใจเจตสิกแต่ละตัว อโลภะ อโทสะ ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก นี่ ทำความเข้าใจให้มันรู้จักว่า
อะไรเป็นตัวอะไร ทั้ง ๓ ตัวนี้ ผมอยากให้พวกเราโดยเฉพาะที่จะนำเอาธรรมะไปประกอบวิชาในทางโลกนั้น ได้ตระหนัก
ถึงความสำคัญ ในเรื่องนี้ให้มาก ความสำเร็จในการค้นคว้าและพิสูจน์ของเรานั้นจะบรรลุผลหรือไม่ มันอยู่ที่เราจะสร้าง
จิตของเราประกอบไปด้วยเจตสิก ๓ ตัวได้หรือไม่เท่านั้น แต่ผมคิดว่าพวกเราทุกคนมีความเพียรพยายาม เมื่อมีความ
เพียรพยายามที่ไหนแล้วมันก็จะประสบผลความสำเร็จโดยไม่ยากนัก
นอกจากนี้แล้ว มันก็มีสัมปยุตธรรมเป็นเหตุใกล้ สำหรับตัตรมัชฌัตตตาเจตสิกนี่ ที่ผมพูดมานี่ ผมก็ วานนี้เราได้
พูดกันในเรื่องของการตาย ผมมีข้อสะดุดใจอันหนึ่ง ที่ท่านแพทย์ได้ให้ความคิดกับพวกเราที่มีความรู้ในทางแพทย์ศาสตร์
ว่าให้ศึกษาชีวิตรูปก็ดี ชีวิตินทรียเจตสิกก็ดี ให้รู้จักเป็นขั้นตอนในทางวิชาการแพทย์ และผมก็อยากจะเสริม คืออโลภะ
เจตสิกตัวหนึ่ง อโทสะเจตสิกตัวหนึ่ง ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิกอีกตัวหนึ่ง ประกอบเข้าไปเป็นคุณสมบัติ ถ้าเราได้เจตสิก
ทั้ง ๓ มาเป็นคุณสมบัติ แล้วเราก็เอาชีวิตรูปเข้าไปศึกษาในทางวิชาแพทย์ให้เป็นขั้นเป็นตอนอย่างที่ท่านแนะนำมาแล้ว
ท่านก็บอกว่าเราจะได้ประโยชน์ในทางแพทย์อย่างมหาศาล อ้ายผมเองก็เป็นคนหูหนวกตาบอดไม่มีความรู้จริงๆ ในเรื่อง
ทางแพทย์หรือทางนี้ ก็มีแต่ความรู้ในเรื่องธรรมะเล็กๆ น้อยๆ ผมก็อยากฝากความคิดเห็นของท่านที่หวังดีนั้นต่อพวก
ที่เป็นนายแพทย์ด้วย เพราะว่าอ้ายที่ผมพูด ๓ ตัวนี่ ตัวอโลภะ อโทสะ และตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก นี่ เป็นตัวที่เราจะ
บรรลุเป้าหมาย แต่ทีนี้ตัวที่บรรลุทางหลักวิชานั้นท่านก็ชี้ว่ามีชีวิตรูป ๑ ชีวิตินทรีย์อีก ๑ สองตัวนี่ขอให้พยายามเอามา
ศึกษาโน้มมาทางหลักวิชานี่ มันจะเกิดประโยชน์เกิดขึ้น
เท่าที่ผมพูดมาแค่นี้แล้ว ผมก็อยากจะจบเพียงแค่นี้ เพราะว่าพูดต่อไปเทปมันก็คงจะหมด ไม่สมบูรณ์

เรื่องทำความรู้จักกับนามธรรมตอนที่ ๗ จบ