เรื่องทำความรู้จักกับนามธรรมตอนที่ ๘
--------------------------------------------------------------------

จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี
ผู้มีปัญญา คือรักษาธรรม ( ผู้มีปัญญาพึงรักษาจิต )

พุทธภาษิตดังกล่าวนี้ จะเห็นได้ว่าธรรมะซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนนั้น การประพฤติหรือ
ปฏิบัติและการรักษานั้นมันขึ้นกับผู้ที่มีปัญญาหรือไม่ ถ้าเราประพฤติปฏิบัติด้วยความงมงายผลแห่งการประพฤติปฏิบัติ
มันก็ไม่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการประพฤติปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมนั้น พวกเราได้ประพฤติปฏิบัติกันมาตั้ง
แต่ต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการฝึกจิต ซึ่งเราเรียกกันว่าสมาธิ พวกเราทุกคนก็ประพฤติปฏิบัติกันได้แล้ว ส่วน
ในเรื่องกามาวจรกุศลนั้น เราก็พยายามที่จะชี้ให้เห็นว่า อะไรบ้างเป็นกามาวจรกุศลซึ่งได้แก่บุญกิริยาวัตถุ ๑0 และ
บุญกิริยาวัตถุ ๑ นี่แหละ ตัวไหนเราจะประพฤติปฏิบัติกันอย่างไร เราก็มีภาคปฏิบัติกันขึ้น ซึ่งเราจะ test ได้จากว่า
ผลแห่งการปฏิบัติแล้วมันมีผลเกิดขึ้นอย่างไร แต่เรื่องนี้พวกเราทั้งหลายอาจจะไม่เข้าใจความหมายของผมก็ได้ว่า
เอ๊ะ ทำไมถึงได้ทำกันเช่นนั้น ความจริงนี่ที่ผมทำกันเช่นนั้นนี่ เพราะว่าในการพูดการแนะนำกันนั้น เราพูดหรือแนะนำ
กันได้ ให้ความรู้กันได้เฉพาะภาคทฤษฎีเท่านั้น ส่วนภาคปฏิบัตินั้นต้องขึ้นอยู่กับบุคคลผู้นั้นเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในปัญหาในเรื่องทานนั้น เราก็ได้รู้อยู่แล้วว่า ในทางทฤษฎีนั้นมันเกิดขึ้นกับเจตนา ทีนี้คนที่ไม่รู้ก็เข้าใจว่าเจตนานี่เป็น
ความตั้งใจเอาไว้ แต่ทีนี้ตั้งใจหรือเจตนาเช่นนั้น เราจะต้องมีภาวะจิตประการใด ส่วนใหญ่พวกเราไม่รู้ ก็ได้แนะนำ
ให้รู้จักว่าอ้ายเจตนานั้นนี่มันจะต้องประกอบด้วยจิตในลักษณะอย่างไร มันถึงจะเข้าคำว่าเจตนาในหลักการของพระ
พุทธศาสนา และนอกจากนี้แล้ว ปัญหาเรื่องขององค์ในการปฏิบัติ เราจะต้องปฏิบัติกันอย่างไร มันถึงจะเหมาะสม
ไม่ใช่ประเพณีที่ประพฤติปฏิบัติกันมาอย่างไรเราก็ปฏิบัติไปอย่างนั้น การที่เราจะเข้าได้ถูกต้องแค่ไหนเพียงใดนั้นเรียกว่า
ทิฏฐุชุกรรม คือทำความเห็นในเรื่องนั้นๆ นี่ให้ถูกต้อง ประเด็นอันนี้ผมว่าไม่เคยมีใครหยิบยกขึ้นมาพิจารณา ฉะนั้นผล
แห่งการประพฤติปฏิบัติของพวกเราจึงมีความผิดแผกแตกต่างกับที่อื่นๆ เขาประพฤติปฏิบัติกัน เพราะว่าผลนั้นถ้าวัด
กันแล้วนี่มันเทียบกันไม่ได้ ทำไมมันเทียบกันไม่ได้เช่นนั้น บอกตรงๆ ผมไม่ใช่ว่ามายกย่องพวกเรา เพราะว่าพวกเรา
การที่จะก้าวเข้าไปปฏิบัติในแต่ละขั้นแต่ละตอนน่ะ เริ่มตั้งแต่กามาวจรกุศลขั้นง่ายๆ ไม่ว่าทาน ศีล ภาวนา อะไรนี่
เราทำให้มันถูกต้อง แล้วผลมันก็เกิดขึ้นเช่นนั้น แต่ก็ยังมีพวกเราบางคนผมรู้สึกว่าเศร้าใจ ที่เศร้าใจยังไง เราได้ชี้ให้เห็น
กันแล้วว่าเราควรจะต้องประพฤติปฏิบัติอย่างไร เราควรจะต้องมีจิตมีใจอย่างไรนะ แล้วผลมันก็ออก มันปรากฏออกมา
ในทางประพฤติปฏิบัติ แต่พวกเราที่ทำให้ผมเศร้าใจยังไง ยังอดมายึดมั่นถือมั่นในตัวบุคคลไม่ได้ เช่นนี้ มันเป็นการ
ไม่สมควร เพราะว่าธรรมะที่นำมาประพฤติปฏิบัติกันนั้น ใครๆ ไม่เข้าใจก็เข้าใจว่าเป็นธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมา
สัมพุทธเจ้า ความจริงไม่ใช่ เพราะถ้าเราจะไปค้นดูให้จริงๆ แล้วไม่ใช่ของพระองค์ท่าน แต่พระองค์ท่านเป็นผู้ค้นพบ
มันเป็นเรื่องของธรรมชาติอย่างหนึ่ง พระองค์เป็นผู้ค้นพบเข้า แล้วก็นำมาแจกจ่ายกัน ฉะนั้นถึงได้เรียกว่าตรัสรู้
การตรัสรู้นี่หมายความว่ารู้แจ้งด้วยพระองค์เองในกฏแห่งธรรมชาติเหล่านั้น ฉะนั้นในธรรมะขั้นสูง พอแทนที่ผมว่า
จะเรียกไปตามเขาอย่างอื่นผมก็เรียกมาอย่างนี้ ทำไมถึงเรียกมาอย่างนี้ เรียกให้พวกเรามีความฉงนจะได้ถามกัน
แต่ก็ไม่เคยมีใครถามกันว่าทำไมผมถึงมาใช้เรียกว่ากฏแห่งธรรมชาติ เพราะข้อเท็จจริงมันเป็นเช่นนั้น นี่ ถ้าเราไม่
ศึกษาหาข้อมูลและข้อเท็จจริงแล้ว มันก็เป็นการขัดหลักการประพฤติปฏิบัติทางพุทธศาสนานั่นอีก ทั้งนี้เพราะอะไร
เพระว่าในหลักการศรัทธาของพระพุทธศาสนาหรือความเชื่อนั้น ถ้าเราจะดูตามพระสูตร พระองค์สั่งสอน ไม่ให้เชื่อ
ครูบาอาจารย์หรือแนะนำอะไร คือให้รับฟัง รับฟังแล้วนำมาพิจารณาไตร่ตรองด้วยเหตุด้วยผล และถ้าเห็นว่ามันเป็น
ไปตามเหตุตามผลแล้วเราถึงจะรับมาประพฤติมาปฏิบัติ เมื่อได้ประพฤติได้ปฏิบัติมันเกิดผลขึ้นแล้ว เราจึงให้ความ
เชื่อมั่น ยึดไว้เป็นหลักปฏิบัติ แต่พวกเราบางคนไม่เช่นนั้น เวลาเกิดทุกข์ขึ้นก็หันหน้ามาหาพระพุทธเจ้า เวลาหายทุกข์
แล้วก็ไปคบค้าเข้ากับกิเลสคือหน้าตาทั้งหลาย ซึ่งมันเป็นการไม่สมควร ฉะนั้นผมจึงไม่อยากจะพูดอะไรให้มันมากมายนัก
เพราะว่าในขั้นกามาวจรกุศล เราก็ได้พิสูจน์กันมาแล้ว ว่าการทำผิดหรือทำถูกนั้นผลมันปรากฏขึ้นอย่างไร พวกเรา
ทุกคนส่วนใหญ่ย่อมได้รับผลอันนี้อยู่แล้วเกิดกันทุกคน ส่วนเรื่องการทำความสงบของจิตคือสมาธิ เราก็เริ่มกันตั้ง
แต่การรักษาศีลให้บริบูรณ์ ต่อมาก็ทำความรู้จักอารมณ์ที่สามารถนำมาใช้เจริญสมถกัมมัฏฐาน ๔0 อารมณ์ รู้จักจริตต่างๆ
ตามในวิสุทธิมรรค แล้วก็เลือกอารมณ์กรรมฐานที่เหมาะกับจริตของแต่ละคน แล้วเราก็นำมาประพฤติปฏิบัติกัน ผลมัน
ก็เกิดขึ้น อันนี้ก็แล้วแต่ความเพียรของแต่ละบุคคลว่าจะมีความเพียรพยายามกันแค่ไหน และรูปาวจรกุศลและอรูปาวจร
กุศลผมก็คิดว่าจะปล่อยมือที
ทีนี้ก้าวต่อไป ที่ผมเจตนาที่จะต้องการก้าวต่อไปก็คือ ขั้นโลกุตตรกุศล ในขั้นโลกุตตรกุศลนี่ ผมเองนี่พิจารณาพวก
เราแต่ละคนแล้ว เห็นว่าบางคนนี่แบกลำบาก ที่แบกลำบากเพราะเหตุอะไร ขาดความสนใจในเรื่องนั้นๆ เพราะว่าไม่รู้
คุณค่าของเรื่องนั้นๆ ว่าควรประการใด ทั้งนี้เพราะเหตุไร เพราะเราไม่ได้โฆษณาถึงผลที่จะได้รับ เพราะผมถือว่าการ
ที่ผมจะแนะนำพวกเราทุกคน ผมจะไม่แนะนำที่ผลไม่ต้องการ ทำไมถึงไม่ทำเช่นนั้น เพราะผมไม่อยากจะให้มันแพร่สะพัด
ออกไปโดยไม่มีความจำเป็น เพราะเจตนาของพวกเรานี้ก็ เราคบกันอย่างกันเองเช่นนี้ ก็อยากจะให้ที่เหตุ เพราะผมถือว่า
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนไว้แล้วว่า ผลนั้นย่อมเกิดขึ้นจากเหตุ ถ้าเราทำเหตุให้ดีแล้วผลมันก็จะต้องออกมาดี
ทีนี้สำหรับในขั้นโลกุตตรกุศลนั้นผมมามองดูแล้วทุกแห่งที่เขาสอนกันนั้น เขาสั่งสอนในเรื่องของผลและในเรื่องทฤษฎี
และหลักการที่ผลมันปรากฏออกมา ซึ่งผมมาพิจารณาแล้วทุกๆ แห่งที่ทำเช่นนั้นนี่ ผลมันไม่บังเกิด ทำไมที่ว่ามันไม่
บังเกิดอย่างนั้น เพราะว่าเขาไม่ได้สร้างเหตุให้มันสมควร เหตุนั้นของในเรื่องของการสร้างโลกุตตรกุศลนั้นมันไม่มีอะไร
มันมีสติตัวเดียวเท่านั้น ทีนี้มันก็เป็นปัญหาเกิดขึ้นกะผมว่าก็เมื่อผมรู้เช่นนี้แล้ว ทำไมเราถึงจะให้พวกเราสร้างสติเกิด
ขึ้นได้ล่ะ ผมก็มาได้ความจริงจากหลักการตามข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งว่า สิ่งใดที่เราทำให้มันสม่ำเสมออยู่เป็นนิจแล้วนี่
มันก็จะทำให้สติเกิดขึ้นได้ เมื่อสติเกิดขึ้นได้ อ้ายสัมปชัญญะมันก็เกิดขึ้นตามมา ทั้งนี้ผมถือว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
สั่งสอนในขั้นโลกุตตรกุศลนั้น พระองค์ตรัสไว้ว่า อาตาปี สติมา สัมปชาโน นี่เป็นเครื่องที่เราจะต้องลงทุน สำหรับ
อาตาปีนั้นผมเข้าใจว่าพวกเราบางคนมีพร้อมแล้ว นั่นคือความเพียรความพยายาม แต่ปัญหาเรื่องสติสิ เราไม่สามารถ
ที่จะสร้างขึ้นมาได้ ส่วนสัมปชาโนนั้นถ้าสติมันเกิดขึ้นแล้ว สัมปชาโนมันก็จะต้องเกิดตามขึ้นมาด้วย ไม่มีปัญหา ฉะนั้น
สิ่งที่ผมเพิ่งคิดเวลานี้และทดลองก็คือได้สร้างธรรมชาตินี่ขึ้น เพื่อให้พวกเรานี่ได้เข้าถึงสติโดยไม่รู้ตัวว่าเราเริ่มปลูกสติ
กันแล้ว แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการบังคับใคร แล้วแต่ผู้ใดสนใจ พวกคุณจะเห็นได้ว่าทำไมเราทำอะไรให้มันเกิดขึ้นเป็นธรรมชาติ
และทำไมถึงได้เขียนป้ายปิดเอาไว้ที่โน่นบ้างที่นี่บ้าง ก็เพื่ออยากให้พวกเรานี่ได้มีความสังเกต เมื่อสังเกตแล้วก็พิจารณา
เราผ่านไปบ่อยๆ เราสังเกตบ่อยๆ พิจารณาบ่อยๆ ใช้สติปัญญาพิจารณาบ่อยๆ เช่นนั้น สติมันก็จะเกิดขึ้น นี่เป็นจตนา
ของผม
ฉะนั้นในภาคทฤษฎีนี่ ผมได้เคยพูดมาแล้วในเรื่องรูป ๒๘ และขณะนี้กำลังพูดในเรื่องของนามธรรมคือเจตสิก
ซึ่งเราได้พูดกันมาแล้วถึงเจตสิกตัวที่เป็นกลางๆ และเจตสิกที่เป็นอกุศล และเจตสิกที่เป็นโสภณะหรือเจตสิกที่ดีงาม
เราก็ได้พูดกันมาแล้วถึง ๖ ตัว วันนี้เราจะได้พูดกันต่อไป ถึงเจตสิกตัวต่อไปว่ามันมีอะไรตัวต่อไป วันนี้เราจะได้พูด
กันถึงเจตสิกโสภณะตัวที่ ๗ เรียกว่าตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก เจตสิกตัวนี้คุณประโยชน์นั้นก็คือ เราสามารถจะนำมา
ใช้ในทางสมถกัมมัฏฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักการของสมถะที่จะนำมาใช้นั้น ทำอย่างไรเราถึงจะมีใจเป็นกลาง
คำว่าเป็นกลางในที่นี้หมายถึงอุเบกขานั่นเอง ทีนี้ถ้าเราอยู่ในสมาธิขั้นสูงๆ นั้นเรียกว่าอุเบกขา ได้ ถ้าเราอยู่ในสมาธิ
ขั้นสูงๆ แต่สมถกัมมัฏฐานที่จะนำมาใช้ในชีวิตประจำวันของเราทุกประเภทนั้น มันอยู่เพียงขณิกสมาธิเท่านั้น นี่ ปัญหา
มันถึงได้เกิดขึ้นว่าทำอย่างไรถึงจะสามารถทำใจให้เป็นอุเบกขา เมื่อจิตของเราพอกพูนไปด้วยอุเบกขาแล้ว ความ
บริสุทธิ์ของจิตมันก็เกิดขึ้น เมื่อความบริสุทธิ์ของจิตมันเกิดขึ้นแล้ว เราก็สามารถที่จะนำจิตของเรานี่ไปใช้ในชีวิต
ประจำวันในทางต่างๆ ได้โดยสะดวกและง่ายดาย
ทีนี้ถ้าพวกเราจะสังเกตเห็นว่า ทำไมในการประพฤติปฏิบัติในขั้นที่เข้ามาสู่ความสงบนั้น เราทำได้แล้ว แต่เวลาเรา
จะนำเอาออกไปใช้ในเรื่องอื่น เกี่ยวกับชีวิตประจำวันนั้นนี่ ทำไมเอาไปใช้ไม่ได้ มันถึงยากคือเรื่องนี้ผมอยากจะทำความ
เข้าใจให้กับพวกเราไว้ว่า เรื่องของสมถะนั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนไว้ว่า เพื่อเป็นอุบายเพื่อยังความสงบ
ของจิตให้เกิดขึ้น และทางวิปัสสนานั้นก็เป็นอุบายที่จะสร้างปัญญาให้เกิดขึ้น แต่ทีนี้เราความสงบเกิดขึ้นแล้ว แต่เรา
จะนำมาใช้ในชีวิตประจำวันนี่มันนอกเหนือไปจากหลักการของสมถะ ดังนั้นเราจึงต้องใช้ความพากเพียรพยายาม
ที่ว่าทำอย่างไรถึงจิตจะเป็นอุเบกขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางแพทย์ศาสตร์นั้นก็เมื่อ ๓-๔ วันก่อนก็ทดลองไปก็ได้ผล
ซึ่งวิทยาศาสตร์ทางแพทย์ในแผนปัจจุบันนี่ยังตามไม่ทันพุทธศาสนา ซึ่งเมื่อเราทดลองเอาพุทธศาสนามาบวกเข้า
ในด้านของแพทย์ศาสตร์แล้ว ปรากฏว่าได้ผลดีเกินคาด ซึ่งเรื่องนี้ก็มีพวกเราซึ่งเป็นหมอบางคนถึงได้ยอมอุทิศเวลงเวลา
ซึ่งผมเองก็ไม่เห็นด้วยที่เราจะทุ่มเทไปถึงแค่นั้น เพราะทุกๆ อย่างนี่มันเป็นอนิจจัง แต่เราก็ควรจะมีความเพียรพยายาม
เท่าที่เราจะสามารถทำได้มันก็ดีแล้ว ดีกว่าเราไปงมงาย เพราะว่าอ้ายนี่ถือว่าเป็นกำไรชีวิตของเราก็แล้วกัน
เพราะต้นทุนในเรื่องความสงบนั้นเราได้ผ่านมาบ้างแล้ว
ที่ผมพูดมาอย่างนี้ พวกเราบางคนอาจจะข้องใจว่า เอ๊ะ ก็มันเรื่องของพระพุทธศาสนานี่ ทำไมจะเอาเข้ามาเกี่ยว
ข้องในทางโลก เรื่องนี้ถ้าพวกเราค้นคว้าธรรมะกันอย่างจริงๆ แล้วนี่ ก็จะตัดความข้องใจสงสัยกันได้หมด สมเด็จพระสัมมา
สัมพุทธเจ้าสอนนั้นน่ะ สอนตั้งแต่ขั้นต่ำ หากินไม่ให้อดไม่ให้อยาก จนถึงตั้งหลักตั้งฐานตั้งเนื้อตั้งตัวไม่ให้เบียดเบียนกัน
จนถึงขั้นหลุดพ้น นี่ ไหนๆ เรื่องการหลุดพ้นนั้นเรายังไม่สามารถที่จะหลุดพ้นได้ เราก็ควรจะได้นำธรรมะนั้นมาใช้ใน
ชีวิตประจำวัน และในเรื่องของการหลุดพ้น เราก็ค่อยประพฤติไปปฏิบัติไป ซึ่งผมเรียกว่ากฏแห่งธรรมชาติ อันไหน
ข้องใจสงสัยอย่างไร สนทนาวิสาสะกัน พอสติมันเกิดขึ้นแล้ว ค่ามหาศาลมันจะเกิดขึ้นในตัวเราเองโดยไม่รู้ตัว ถ้าผม
จะมาโฆษณาว่าคุณสมบัติมันเป็นอย่างนั้นคุณสมบัติมันเป็นอย่างนี้ แทนที่พวกเรานี่จะได้ประพฤติปฏิบัติธรรมด้วยศรัทธา
มันจะกลายเป็นปฏิบัติกันด้วยกิเลส ผมไม่ต้องการให้มันเกิดขึ้นเช่นนั้น จึงได้ยับยั้งพวกเราบางคนไว้ไม่ให้ทำโน่น
ไม่ให้ทำนี่ ก็เพื่อเจตนาอันนี้แหละ
ทีนี้เราก็เข้ามาในเรื่อง ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก ตัวนี้ ก็คือการทำใจให้เป็นกลาง เป็นยุติธรรม ไม่มีการอคติ
ไม่มีความลำเอียง มีการวางเฉยในอารมณ์
นี่เป็นความหมายของตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก มีการทรงไว้ซึ่งจิตและ
เจตสิกให้เสมอภาค ตัวนี้ถ้าผู้ใดที่ปฏิบัติในการเพ่งนิมิต เราจะเห็นได้ว่าถ้าใจของเราไม่เป็นกลางนั้น นิมิตที่เห็นนั้น
มันก็ไม่ชัด หรือบางครั้งมันก็เสื่อมหายไป ไม่แจ่มใส ไม่รอบคอบ นี่ ตัวนี้ฉะนั้นเราจำเป็นเราจะต้องหาอุบายทุกสิ่ง
ทุกอย่าง อะไรล่ะที่เราจะทำใจของเราให้มันเป็นกลาง ถ้าใจมันไม่เป็นกลาง นิมิตมันก็เสื่อมไป เพราะอะไร เราต้องรู้ตัว
ว่าเพราะว่าเราขาดตัตรมัชฌัตตตาเจตสิกตัวนี้ คือการทำใจเป็นกลางเป็นอุเบกขาวางเฉยในขั้นอุปจารสมาธินั่นเอง
ในเรื่องนี้ อุเบกขาในเรื่องนี้จำไว้ว่าเราสามารถที่จะเข้าปัญจมฌานได้ นั่นอุเบกขาตัวนั้น แล้วเมื่อเราออกจากฌาน
แล้วเราก็ต้องสร้างอุเบกขาตัวนั้นให้เกิดขึ้น เราถึงจะสามารถที่จะนำเอาจิตของเรานั้นมาใช้ให้เป็นประโยชน์ยิ่งๆ ขึ้น
นอกจากลักษณะที่ผมกล่าวมาแล้วว่า มีการทรงไว้ซึ่งจิตและเจตสิกให้เสมอภาคนั่นเป็นลักษณะแล้ว ยังมีกิจอีกตัว
หนึ่งก็คือ มีการห้ามความยิ่งหย่อนไม่ให้เกิดขึ้นนั่นเป็นกิจ นี่ พอเจตสิกตัวนี้เกิดขึ้นแล้วนี่มันจะทำให้คงที่ ห้ามไม่ให้
เกิดเกินไป ไม่ให้หย่อนไป นี่ตัวนี้มันเกิดขึ้น แล้วทีนี้ ผลก็มีความเป็นกลางเป็นผล มันจะรักษาระดับของความเป็น
อุเบกขาไปตลอดไป ไม่ว่าเราจะอยู่ในขั้นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ขณิกสมาธินี่แหละที่จำเป็นที่จะต้อง
มาใช้ในชีวิตประจำวัน ฉะนั้นพวกเราทุกคนที่เจตนาประสงค์จะก้าวขึ้นไปให้สูงกว่าความสงบแล้ว เราก็จะต้องสร้าง
เจตสิกตัวนี้ให้มันเกิดขึ้น นอกจากมีความเป็นกลางเป็นผลแล้ว มันยังมีสัมปยุตตธรรมนี่เป็นเหตุใกล้นี่ เป็นคุณสมบัติ
ของตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก
ทีนี้ยังมีอีกตัวหนึ่ง เรียกว่า กายปัสสัทธิเจตสิก ตัวหนึ่ง กับ จิตตปัสสัทธิเจตสิก อีกตัวหนึ่ง ทั้งกายปัสสัทธิ
เจตสิกและจิตตปัสสัทธิเจตสิกนี่ผมจะอธิบายให้ฟังอย่างนี้ สำหรับ กายปัสสัทธิเจตสิกนั้นหมายถึง สภาวะที่ทำให้
เจตสิกสงบจากอกุศล ความสงบจากอกุศลของเจตสิก
นี่เป็นความหมาย ความหมายของกายปัสสัทธิเจตสิกนั้น
ก็คือสภาวะที่ทำให้เจตสิกสงบจากอกุศล หรือความสงบจากอกุศลของเจตสิกนั่นเอง ทีนี้เราต้องเข้าใจว่าคำว่าสภาวะ
ทำให้เจตสิกสงบจากอกุศลนั้น อย่าลืมว่าเจตสิกนั้นมันเป็นพี่เลี้ยงของจิต ถ้าเราปล่อยให้พี่เลี้ยงมันไปคบไปค้ากับ
อกุศลเจตสิกแล้ว มันก็จะให้จิตของเรานี่พลอยไปด้วยในสิ่งที่ไม่ถูกไม่ควร ฉะนั้นตัวนี้มันก็คงจะได้กับสตินั่นอีกแหละ
ซึ่งจะเป็นการเตือนให้เจตสิกตัวนี้มันบังเกิดขึ้น ส่วนจิตตปัสสัทธิเจตสิก นั้นเป็นสภาวะทำให้จิตสงบจากอกุศล
ความสงบจากอกุศลของจิต
เห็นไหมคำว่ากายปัสสัทธิเจตสิกนี่ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างเจตสิกต่อเจตสิก ส่วนจิตต
ปัสสัทธิเจตสิกนั้นเป็นความสัมพันธ์ระหว่างเจตสิกกับจิต ฟังดูให้ดีๆ ถ้าเราไม่ฟังให้ละเอียดรอบคอบแล้วมันจะไปปนกัน
หมายความว่าเราจะต้องระวังรักษา นั่นคือจิตทำให้สงบจากอกุศลด้วย และเพื่อนของเราซึ่งเราต้องคบค้าคือเจตสิกนั้น
ก็ต้องทำให้สงบจากอกุศลด้วย นี่ เป็นการ pure ถึง ๒ ชั้น เพราะว่าในเรื่องเราศึกษาธรรมะในขั้นของกามาวจรกุศลนี่
มันไม่ก้าวมาถึงแค่นี้ มันยังหยาบ ฉะนั้นการที่เราจะก้าวขึ้นมาจนถึงโลกุตตรกุศลก็ดี เราจะต้องก้าวเข้าไปในความ
ละเอียดยิ่งขึ้น ฉะนั้นผมถึงได้บอกว่ามันเป็นการยากลำบาก เพราะว่าพวกเราบางคนอาจจะไม่มีความสนใจในการที่จะ
ศึกษาให้ลึกซึ้งเข้าไป แล้วก็ต้องการแต่ผล เมื่อต้องการแต่ผลเท่านั้น พวกเจ้าพ่อเจ้าแม่ก็ขายดี เพราะว่าไม่มีใครเลย
นึกพึ่งตัวของตัวเอง ทำไมต้องไปนึกพึ่งเจ้าพ่อเจ้าแม่เช่นนั้น ทำไมเราไม่นึกถึงที่จะพึ่งตัวของเราเองตามที่สมเด็จพระ
สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้ว่า อตฺตา หิ อตฺตาโน นาโถ ธรรมข้อนี้พระองค์แนะนำให้เราพึ่งตนของตนเอง
แต่พวกเรานี่บางคนไม่ยอม ไม่ยอมที่จะพึ่งตัวของตัวเอง กลับไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในตัวบุคคลบ้างในสิ่งที่
ไม่มีตัวมีตนบ้าง มันเพื่อประโยชน์อะไร เช่นนั้นเพราะเหุตไร ถ้าเราไปยึดมั่นถือมั่นเช่นนั้น เราก็ต้องเป็นขี้ข้าชีวิตเขา
ตลอดชีวิตไป เราก็ไม่มีความเป็นไทแก่ตัวของเราเอง ซึ่งผมไม่ต้องการให้พวกเราเป็นเช่นนี้ แต่คนอื่นจะมีความรู้สึก
ยังไงผมไม่รู้ เพราะว่าธรรมะอันนี้ผมถือว่ามันเป็นธรรมชาติซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงค้นพบ และ
พระองค์ก็นำมาสั่งสอน พระองค์ก็สั่งสอนให้พวกเราทุกคนเป็นที่พึ่งของตนเอง และผมนำมาแจกจ่ายเล่าสู่พวกเราฟัง
นี้ ผมก็ต้องการให้เจริญรอยตามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผมไม่ต้องการ monopoly เอาไว้เป็นสมบัติของผม
ผมไม่ต้องการเช่นนั้น
นอกจากนี้แล้ว เจตสิกทั้ง ๒ ดวงนั้น พูดถึง ลักษณะก็ดีกิจก็ดีหรือเหตุใกล้ก็ดี มันมีลักษณะเหมือนกัน ซึ่งผมจะ
กล่าวให้พวกเราฟังแต่ละตัวดังนี้ คือเรื่องของกายปัสสัทธิก็ดีหรือจิตตปัสสัทธิก็ดี ลักษณะของมันเหมือนกัน เหมือนกัน
ยังไง ภาษาธรรมะว่า กายจิตฺตานํทรถวูปสมลกฺขณา หมายความว่า มีการทำให้เจตสิกและทำให้จิตสงบจากความ
เร่าร้อนเป็นลักษณะ ที่ผมพูดมานี้มีลักษณะเป็น ๒ อย่างนะ ๑. ทำให้เจตสิกสงบจากความเร่าร้อน อันหนึ่ง และ ๒.
ทำให้จิตสงบจากความเร่าร้อนอีกตัวหนึ่ง นี่เป็นลักษณะที่เหมือนกัน แต่แยกกันทำทีละตัว ทำเจตสิกตัวหนึ่ง และก็ไป
ทำจิตอีกตัวหนึ่ง นี่เป็นลักษณะ ส่วนกิจเล่าก็มี ๒ ตัวเช่นกัน คือ ๑. มีการทำลายความเร่าร้อนของเจตสิกเป็นกิจ
นี่สำหรับกายปัสสัทธินะ ทีนี้ส่วนจิตตปัสสัทธิล่ะ ก็มีการทำลายความเร่าร้อนของจิตเป็นกิจ มันแตกต่างระหว่างจิต
กับเจตสิกเท่านั้น ส่วนผลนั้น มีความเยือกเย็นไม่เปลี่ยนแปลงเป็นผล และเหตุใกล้ ก็มีเจตสิก มีจิตเป็นเหตุใกล้
สำหรับกายปัสสัทธินั้นก็มีเจตสิกเป็นเหตุใกล้ สำหรับจิตตปัสสัทธินั้นก็มีจิตเป็นเหตุใกล้
นอกจากกายปัสสัทธิและจิตตปัสสัทธิแล้ว ยังมีอีก ๒ ตัว คือ กายลหุตาเจตสิก และ จิตตลหุตาเจตสิก ๒ ตัวนะ
กายลหุตาเจตสิกตัวหนึ่ง จิตตลหุตาเจตสิกอีกตัวหนึ่ง เมื่อกี้นี้กายปัสสัทธิและจิตตปัสสัทธินั้นเป็นการทำให้สงบจาก
อกุศล แต่สำหรับกายลหุตาเจตสิกและจิตตลหุตาเจตสิกนี้ มันมาอีกอย่างหนึ่ง มันมายังไง มันทำให้เบาจากอกุศล
คือ กายลหุตาเจตสิกนี่ ก็คือ สภาวะที่ทำให้เจตสิกเบาจากอกุศล ความเบาของเจตสิกจากอกุศล นี่เป็น
ความหมายของกายลหุตาเจตสิก ส่วนความหมายของ จิตตลหุตาเจตสิก นั้นก็คือ สภาวะที่ทำให้จิตเบาจากอกุศล
หรือความเบาของจิตจากอกุศล
ความเบากับความสงบนั้นคนละตัวนะ คนละตัว ความสงบนั้นมันเป็นการบังคับให้
เกิดขึ้นเมื่อเราใช้จิตนั้นทำงาน ส่วนความเบานั้นเป็นคุณสมบัติของจิตที่มันจะต้องมีอยู่เสมอ ไม่ละเลยไปไหน หมายความว่า
เบานั้นไม่หนักไปในอกุศล อย่าลืมว่าชีวิตของคนเราในวัฏฏะนั้น กิเลสทั้งหลายมันยังมีอยู่ เมื่อมีอยู่แล้วเราทุกคนนี่
เราก็ต้องแบกอกุศลนี่ไว้มากกว่ากุศล สังเกตดูสิ ในชีวิตประจำวัน วันหนึ่งๆ นั้นของเรานี่ ถ้าเราไม่มีสติแล้ว การที่เรา
จะแบกเอาบาปเอาไว้นี่ มันมากกว่าที่จะแบกกุศล ฉะนั้นถ้าใครมีกายลหุตาเจตสิกหรือจิตตลหุตาเจตสิกสร้างให้มันเกิด
ขึ้นแล้วมันจะเบา เบาหนักเข้าๆๆ มันก็ไม่มีอกุศลอันนั้นที่จะเกิดขึ้น เมื่อไม่มีอกุศลอันนั้นที่จะเกิดขึ้นแล้ว
อะไรเล่าที่เป็นกำไรชีวิตของเรา นั่นคือผลแห่งการประพฤติปฏิบัติในเรื่องกฏของธรรมชาติ เราได้ผลก้าว
หน้าขึ้นมาแล้ว แต่อันนี้มันจะก้าวขึ้นมาเมื่อไหร่เรารู้ไม่ได้ ทั้งนี้ เพราะอะไร เพราะกิเลสของคนเรานั้นมันจะเบาบาง
ลงไปได้นี่ มันก็เหมือนมีดที่เราใช้ มันสึกมันจะหรอไปเมื่อไหร่ เราไม่มีโอกาสจะรู้ได้เลย เราจะรู้เมื่อปรากฏว่ามันสึก
หรอไปได้มากแล้ว แม้แต่พวกเราบางคน นี่ ลองสังเกตตัวของเราเองสิว่า คนบางคนมีความโกรธเป็นเจ้าเรือน มีความ
เอาใจตัวของตัวเองเป็นเจ้าเรือน แล้วเราอยู่กันไป ประพฤติไปปฏิบัติไปอ้ายความโกรธที่เราเคยโกรธเก่ง อะไรเก่ง
ทำไมมันจะค่อยๆ ห่างไปๆๆ จนไม่มี เรานึกสงสัยตัวเราเองหรือเปล่าว่าทำไมมันเป็นเช่นนี้ การประพฤติธรรมปฏิบัติ
ธรรมในสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้นั้น เราจะต้องหาเหตุหาผลว่าทำไมเราถึงได้เปลี่ยนแปลงไป การที่
เราเปลี่ยนแปลงไปเช่นนั้นก็เพราะว่ากิเลสของเรานี่มันร่อยหรอมันสึกกร่อนลงไป แต่ยังไม่หมดนะ อย่า อย่าภูมิใจ
อย่าไปทำเหมือนคนบางคนที่เขาประกาศ เขาเป็นอย่างงั้น เป็นอย่างงี้ เป็นพระอรหันต์บ้าง เป็นเจ้าพ่อเจ้าแม่บ้าง
เป็นพระโพธิสัตว์อะไรบ้าง คนที่เขาเป็นจริงๆ น่ะเขาไม่มาประกาศตัวเขาเองจำไว้ ไม่มี ใครเขาไม่มาเขียนป้ายผูก
คอเขาไว้หรอก การที่เราจะเป็นอะไรมันอยู่ที่การประพฤติการปฏิบัติ สิ่งนี้เราจะรู้กันได้ด้วยปัญญา ไม่ใช่รู้จากการ
ไต่ถาม เพราะว่าผู้ที่บางเบาลงไปนั้นนี่ ชีวิตความเป็นอยู่ก็ดี การประพฤติการปฏิบัติก็ดี มันจะต้องแสดงออก มันปิด
กันไม่ได้ ทุกอย่างปิดกันไม่ได้ นี่ มันไม่ใช่ของวิเศษวิเสโสอะไร เราจะต้องเข้าใจอย่างนั้น
นอกจากความหมายของกายลหุตาเจตสิกและจิตตลหุตาเจตสิกแล้ว ต่อไปนี้เราก็จำเป็นจะต้องรู้จักลักษณะของ
มันว่ามันมียังไง สำหรับกายลหุตาเจตสิกนั้น ก็มีการทำให้เจตสิกสงบจากความหนักเป็นลักษณะ นี่สำหรับกายลหุตา
เจตสิกนะ ส่วนจิตตลหุตาเจตสิกนั้น ก็มีการทำให้จิตสงบจากความหนักเป็นลักษณะ เห็นไหม กายเป็นตัวทำให้เจตสิก
ส่วนจิตเป็นตัวทำให้จิตสงบจากความหนัก ความหนักในที่นี้หนักจากอะไร หนักจากอกุศลที่เราแบกไว้ในวัฏฏะ กรณี
เช่นนี้ถ้าเรานำมาพูดกัน ในแรกๆ พวกเราก็คงไม่ค่อยเข้าใจกัน แม้แต่เดี๋ยวนี้ผมก็เชื่อว่าคงจะไม่มีความเข้าใจกัน
มากมายนัก เพราะว่ามันก้าวเข้ามาถึงขั้นสูงในเรื่องของรูปาวจรกุศลและอรูปาวจรกุศลที่จะต้องนำมาใช้งาน และใน
ขั้นโลกุตตรกุศล ซึ่งเราจะต้องสร้างความรู้ให้เกิดขึ้น ประกอบกับในทางปฏิบัติเราก็ฝึกสติให้มันเกิดขึ้น เราถึงจะ
ประพฤติปฏิบัติได้ผล ก้าวออกไปสู่ข้างหน้า ไม่มัวหลงใหลมัวเมาอยู่ในความผิดๆ อย่างบุคคลบางคน ซึ่งผมไม่ต้องการ
ให้เป็นเช่นนั้น
ส่วนในเรื่องของกิจนั้น สำหรับกายลหุตาเจตสิกก็มีการทำลายความหนักของเจตสิกเป็นกิจ ส่วนจิตตลหุตาเจตสิก
นั้นมีการทำลายความหนักของจิตเป็นกิจ แยกออกจากกันระหว่างเจตสิกกับจิต และผลก็มีความไม่หนักของเจตสิกเป็นผล
นี่สำหรับกายลหุตาเจตสิกมีความไม่หนักของเจตสิกเป็นผล ส่วนจิตตลหุตาเจตสิกนั้นก็มีความไม่หนักของจิตเป็นผล
ส่วนเหตุใกล้นั้น กายลหุตาเจตสิกนั้นก็มีเจตสิกเป็นเหตุใกล้ ส่วนจิตตลหุตาเจตสิกนั้นก็มีจิตเป็นเหตุใกล้
ที่เรามาพูดกันอยู่นี้ เราจะเห็นได้ว่ามันเป็นเรื่องเกี่ยวกับนามธรรมทั้งสิ้น ซึ่งเราไต่ขึ้นไป ค่อยๆ ไต่กันไปในทาง
ภาคทฤษฎีนั้น เพื่ออะไร ก็เพื่อในทางปฏิบัตินั้นถ้าสติมันเกิดขึ้นแล้ว เราก็ได้รับประโยชน์เกิดขึ้นโดยทันที เท่าที่ผมพูด
มานี้ ผมก็ค่อยๆ จะพาให้พวกเราไปกัน ไม่อยากจะให้ไปกันพรวดพราด ดังนั้นที่ผมพูดไปนี้ ถ้าพวกเรามีข้อสงสัยประการ
ใด เราก็ไต่ถามกันเสีย อย่าไปประพฤติปฏิบัติและเข้าใจผิดๆ ดังคนบางคน ถามกันไม่ต้องเกรงใจกันสิ่งใดที่ผมรู้ ผมก็
พร้อมที่จะบอกให้ สิ่งใดไม่รู้มันก็จนใจ แต่การถามนี้ ก็ถามให้อยู่ในขอบเขตของการประพฤติปฏิบัติเถอะ แล้วเราก็จะ
ได้กำไรกัน ที่มาพูดตัวนี้ ที่เราพูดกันนั้น ถ้าเราจะมาพูดในแง่ของเบญจขันธ์แล้ว เจตสิกที่พูดมาแถวนี้ทั้งหมดมัน
อยู่ในเรื่องของสังขารขันธ์ เพราะว่าเมื่อเราตัดสัญญาออกไปตัวหนึ่งและเวทนาออกไปอีกตัวหนึ่ง เหลืออีก ๕0 ตัวนี่
มันสรุปเข้ามาในสังขารขันธ์ คือตัวทำให้เกิดบุญหรือเกิดบาป ถ้าเราเข้ามาในขั้นโลกุตตรกุศล ที่เราจะต้องประพฤติ
ปฏิบัติกันตามความสมัครใจของพวกเราแต่ละคนแล้ว ถ้าเราไม่รู้รายละเอียดพวกนี้ มันก็คงจะกลายเป็นวิปัสสนึกมากกว่า
วิปัสสนาที่จะเป็นบุญกุศลที่จะเกิดขึ้นแก่เราได้ ฉะนั้นเท่าที่ผมพูดมา พวกเรานี่มีใครข้องใจหรือไม่ ถ้าไม่ข้องใจก็ขอจบ
เรื่องทำความรู้จักกับนามธรรมตอนที่ ๘ เพียงแค่นี้

เรื่องทำความรู้จักกับนามธรรมตอนที่ ๘ จบ