สพฺพรติ ธมฺมรติ ชินาติ.
ความยินดีในธรรม ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง.

         ดังกล่าวนี้เป็นพุทธภาษิตในเรื่องธรรม การที่เราจะเข้าถึงธรรมได้นั้น ถ้าเราไม่มีความยินดีหรือพอใจซึ่งเรียกว่าฉันทะ อันเป็นตัวหนึ่งในอิทธิบาท ๔ หรือองค์แห่งความสำเร็จนั้น เราก็ไม่สามารถจะทำให้เกิดศรัทธาขึ้นได้ ทั้งนี้ เพราะความพอใจ
หรือ ยินดีนั้นเป็นบ่อเกิดแห่งศรัทธา และศรัทธานั้นเป็นตัวนำให้เราได้เข้าถึงธรรมะ ซึ่งเป็นตัวหนึ่งใน อินทรีย์ ๕ อันได้แก่
ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา การเข้าถึงธรรมในพระพุทธศาสนานั้น ผู้ที่มีอินทรีย์ ๕ ไม่แก่กล้า เป็นการยากที่จะเข้า
ให้ถึงธรรม ได้โดยแท้จริง เพราะการเข้าถึงธรรมในพระพุทธศาสนานั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการประพฤติธรรมปฏิบัติธรรมอัน
สมควรแก่ ธรรมนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีศรัทธาเป็นตัวนำ ถ้าหากขาดศรัทธาเสียแล้ว เราก็ไม่มีโอกาสที่จะเข้าให้ถึงธรรม
หรือปฏิบัติ ธรรมให้สมควรแก่ธรรมได้แต่ประการใดไม่ นี้เป็นพุทธภาษิต

         เรื่องที่จะได้กล่าวกันวันนี้ จะได้พูดถึงเรื่องการให้รู้จักกับรูปธรรม ตอนที่ ๔ ต่อไป ซึ่งเป็นการพูดค้างไว้ตั้งแต่อาทิตย์ ก่อน เมื่ออาทิตย์ก่อนนั้นเราได้แนะนำให้ทำความรู้จักกันกับ จักขุปสาทรูป ซึ่งมีความใสของมหาภูตรูปที่กระทบอารมณ์เป็น ลักษณะ และมีการแสวงหารูปารมณ์เป็นกิจ มีการทรงคงอยู่ของจักขุวิญญาณเป็นผล และมีมหาภูตรูปอันเกิดจากกรรมเป็น เหตุใกล้ คือ กัมมชรูปนั่นเอง จักขุปสาทรูปนี้ไม่ได้หมายถึงดวงตาหรือลูกตาตามที่พวกเราทุกๆ คนเข้าใจ แต่ความจริงนั้น จักขุปสาทรูปหมายถึงเฉพาะประสาทตาเท่านั้น หรือแก้วตา หรือนัยน์ตาที่อยู่กลางตาดำ นั่น จักขุปสาทรูปนี้เป็นรูปธรรม ซึ่งมี ความสามารถในการรับรูปารมณ์ คำว่ารูปารมณ์ในที่นี้ ถ้าพวกเรายังไม่ลืมก็คือรูปสีนั่นเอง ซึ่งจะรู้ได้ทางตาเท่านั้น รูปารมณ์ นี้เป็นวัตถุอันเป็นที่ตั้ง จักขุปสาทรูปนี่เป็นที่ตั้งแห่งจักขุวิญญาณเราอย่าลืมว่านามธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิญญาณหรือจิตนั้น
จะต้องอาศัยรูปเป็นตัวเกิด จักขุปสาทรูปนี้ก็เช่นเดียวกัน จะต้องให้เป็นที่อาศัยของจักขุวิญญาณ ฉะนั้นเมื่อเวลาเราดูอะไร ถ้า
จักขุปสาทนั้นใส และมีรูปารมณ์กับจักขุปสาทรูปสัมผัสกันแล้ว จักขุวิญญาณซึ่งอาศัยจักขุปสาทรูปก็เกิดขึ้น นั่นคือ การแลเห็น
ของเรานั่นเอง อนึ่ง คำว่าจักษุนี้จำแนกออกเป็น ๒ ประการ นี่ เป็นภาษาธรรมะ คือประการแรกเรียกว่า ปัญญาจักขุ ประการ
ที่สอง เรียกว่า มังสจักขุ

         ปัญญาจักขุนี่มีการใช้เฉพาะในทางธรรมะ ส่วนมังสจักขุนั้นเป็นเรื่องของปุถุชนทั่วๆ ไปที่จะพึงมี เมื่อเรามาพูดถึงปัญญา จักขุแล้ว ก็อยากจะแนะนำให้พวกเราทุกคนได้รู้จักว่าปัญญาจักขุนั้นมันจำแนก ออกได้เป็นประการใดบ้าง ปัญญจักขุ นี้หมายถึง การรู้ด้วยปัญญา เป็นการรู้ทางใจไม่ใช่เป็นการรู้ทางนัยน์ตา ซึ่งมีอยู ๕ ชนิดด้วยกัน

         ๑. พุทธจักขุ เป็นญาณที่รู้อัชฌาสัยของสัตว์โลก ได้แก่ อาสยาสนุสยญาณ เป็นญาณที่รู้อัชฌาสัยของเวไนยสัตว์ทั้ง
หลาย ประการหนึ่ง และความหมายอันที่ ๒ คือ อินทริยปโรปริยัตติญาณ คือเป็นญาณที่สามารถรู้อินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลายว่า
ยิ่งหรือ หย่อนเพียงใด อีกประการหนึ่งองค์ธรรมได้แก่ มหากิริยาญาณสัมปยุตตจิต ๔ โดยเฉพาะอินทริยปโรปริยัตติญาณนี้ หมายถึงรู้ความแก่กล้าของอินทรีย์สัตว์โลกทั้งหลายนั้นมีประการใด

         ๒. สมันตจักขุ หมายถึง คือ สัพพัญญุตญาณ คือเป็นญาณที่สามารถรอบรู้สิ้นปวง สังขตธรรม คือเป็นญาณที่รู้ปวง สังขตธรรมหรืออสังขตธรรม ซึ่งองค์ธรรม ได้แก่ มหากิริยาญาณสัมปยุตตจิตดวงที่ ๑ เราจะเห็นได้ว่าองค์ธรรมของพุทธจักขุ
นั้น องค์ธรรมได้แก่ มหากิริยาญาณสัมปยุตตจิตด้วยจิต ๔ แต่องค์ธรรมของ สมันตจักขุเป็น มหากิริยาญาณสัมปยุตตด้วยจิต ดวงที่ ๑ สังเกตดูจะผิดกัน

         ๓. ญาณจักขุ คือ อรหัตมรรคญาณ ญาณเป็นญาณของพระอรหันต์ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่อรหัตตมัคคจิต

         ๔. ธัมมจักขุ คือเป็นญาณของพระอริยะทั้ง ๓ คือ โสดาหนึ่ง สกาทาคามีหนึ่ง อนาคามีหนึ่ง องค์ธรรมตัวนี้ได้แก่ ปัญญาเจตสิกในมัคคจิตเบื้องต่ำทั้ง ๓ คือโสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค

         ๕. ทิพพจักขุ ญาณที่รู้ด้วยตาทิพย์คืออภิญญา องค์ธรรมได้แก่ อภิญญาจิต ๒ อภิญญาจิต ๒ นี่หมายความถึง โลกีย อภิญญจิต ๑ และ โลกุตตรอภิญญาจิต ๑ นี่ และขอให้พวกเราได้รู้ด้วยว่า พุทธจักขุ ๑ สมันตจักขุ ๑ มีได้เฉพาะองค์สมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น คนอื่นมีไม่ได้ แม้แต่พระอรหันต์ก็ไม่มี ดังนั้น การที่ใครอวดรู้ว่าอินทรีย์ใครแก่กล้า คนไหนอ่อน คน ไหนเบาเพียงใด เป็นเรื่องโกหก

         ทีนี้เราก็มาถึงเมื่อปัญญาญาณเราได้รู้แล้ว ๕ ประการ ต่อไปนี้ก็เป็นเรื่องของ มังสจักขุ คือการเห็นด้วยตาเนื้อ ไม่ใช่รู้ ด้วยตาปัญญา ได้แก่จักษุของสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งองค์ธรรมได้แก่จักขุปสาทรูปที่เรากำลังพูดกันอยู่นี้ ปัญญาจักขุ ๕ มังสจักขุ ๑ รวมเป็น ๖ เรียกสั้นๆว่า จักขุ ๖ เมื่อเอ่ยถึงจักขุ ๖ ก็หมายถึงปัญญาจักขุ ๕ มังสจักขุ ๑ นี่แหละ นี่เป็นการที่เราทำความรู้จัก กับปสาทรูป ตามที่ได้กล่าวมานี้เป็นเรื่องของจักขุปสาทรูป

๖ โสตปสาทรูป

         ต่อไปเราก็จะได้แนะนำให้รู้จักตัวต่อไปคือ โสตปสาทรูป คำว่า โสตปสาทรูปนี้หมายถึงประสาททางหูนั่นเอง มีลักษณะ หรือความหมายเช่นเดียวกับประสาทตา ซึ่งเป็นที่ตั้งของโสตวิญญาณ ถ้าเราพิจารณาดูให้ดีแล้ว ในเรื่องทางนัยน์ตาก็ดี ในเรื่อง ทางหูก็ดี ทำไมบางคนจึงตาบอด ตาใส เห็นถนัดชัดแจ้ง บางคนก็เห็นไม่ถนัด บางคนก็เห็นชัดเจน และในแง่ของการได้ยิน
บาง คนก็หูตึง บางคนก็ได้ยินดี บางคนไม่ได้ยินอะไรเลยซึ่งเราเรียกว่าหูหนวกนั่น สิ่งเหล่านี้หมายถึงประสาททั้งสิ้น ไม่ใช่คนที่
ไม่แลเห็นไม่มีนัยน์ตา นัยน์ตาของเขามี แต่จักขุปสาทนั้นมันเสื่อม หรือบางคนที่ไม่ได้ยินไม่ใช่ว่าไม่มีหู หูเขาก็มีโสตปสาทรูป
นั้นมัน เสื่อม มันจึงไม่สามารถจะได้ยินได้

         เมื่อเรารู้ความหมายของโสตปสาทรูปเช่นนี้แล้ว เราก็ควรจะได้รู้จักรายละเอียดของโสตปสาทรูปต่อไปว่ามันมีลักษณะ เป็นอย่างไร โสตปสาทรูปนั้น มีความใสของมหาภูตรูปที่กระทบกับสัททารมณ์เป็นลักษณะ ในที่นี้หมายถึงประสาทหูมีความ
แจ่ม ใสที่จะรับกระทบกับรูปเสียงนั้นเป็นลักษณะ มีการแสวงหาสัททารมณ์หรือเสียงเป็นกิจ หูนี่มีหน้าที่คอยฟังเสียงเท่านั้น ไม่ได้ดูรูป ส่วนนัยน์ตานั้นมีลักษณะแสวงหาดูแต่รูป แต่ไม่ฟังเสียง เราต้องพยายามเข้าใจอย่างนี้ มีการทรงอยู่ของโสตวิญญาณ
เป็นผล มี มหาภูตรูปอันเกิดจากกรรม ( สัททตัณหา ) เป็นเหตุใกล้ สัททตัณหาอันนี้หมายถึงเหตุใกล้ของโสตปสาทรูปนั้น คือ
เสียงดีมันก็ ตัณหา คือความรักความใคร่ เสียงไม่ดีก็ไม่พอใจ มันเรื่องของตัณหาทั้งสิ้น ไม่มีเรื่องอื่นเลย เมื่อเราได้รู้ถึงลักษณะ
กิจ และผล ประกอบด้วยเหตุใกล้ของโสตปสาทรูปเช่นนี้แล้ว อย่าลืม สิ่งที่สำคัญที่เราจำเป็นจะต้องจดจำเอาไว้คือลักษณะของ
รูปทั้งหลายใน รูป ๒๘ นี้ เราจะต้องรู้ เวลานี้เราพูดกันมาถึงรูปตัวที่ ๖ แล้ว โสตปสาทรูปนี้หมายถึงประสาทหูซึ่งอยู่ในช่องหู มี ลักษณะเป็นวงๆ คล้ายวงแหวน ที่เขาเรียกว่ากระเดื่องหรือฆ้อน อะไรก็ไม่รู้ล่ะ เป็นรูปธรรมที่มีความสามารถในการรับ สัททารมณ์คือรับเสียง เป็นวัตถุอันเป็นที่ตั้งของโสตวิญญาณ ซึ่งเป็นทวารอันเป็นทางให้เกิดโสตทวารวิถีจิตอีกด้วย โดยเฉพาะ อย่างยิ่งคำว่าโสตะนี้จำแนกออกเป็น ๓ ประการ เรียกสั้นๆ ว่าโสตะ ๓ เราต้องเข้าใจอย่างนี้คือ

         ๑. ทิพพโสต คือญาณรู้ด้วยหูทิพย์ นั่นคืออภิญญา ซึ่งองค์ธรรมได้แก่ อภิญญาจิต ๒ ซึ่งถึงโลกียอภิญญาหนึ่ง และโลกุตตรอภิญญาหนึ่ง
         ๒. ตัณหาโสต หมายถึงกระแสของตัณหา หมายความว่า ตัณหานั้นเป็นกระแสพาให้ไหลไปในอารมณ์ทั้ง ๖ ที่ไหลไป
สู่กามภพ รูปภพ และอรูปภพ

         ๓. ปสาทโสต ได้แก่โสตปสาทรูปนั่นเอง ในเรื่องนี้ขอให้เราได้ทำความเข้าใจว่าโสตปสาทรูปนั้นมันเป็นรูปตัวหนึ่ง
และเราได้รู้กันมาคร่าวๆ แล้วว่า เมื่อรูปต่อรูปมันกระทบกันเข้านั้น วิญญาณมันก็เกิดขึ้นคือการรู้ สำหรับโสตปสาทนั้น เมื่อโสต
ปสาทนั้นมันแจ่มใส มันเป็นรูปตัวหนึ่ง และเสียงนั้นคือสัททารมณ์ มันก็เป็นรูปอีกตัวหนึ่ง เมื่อเสียงเข้ากระทบกับโสตปสาทรูป โสตวิญญาณคือการได้ยินมันก็เกิดขึ้น ท่านทั้งหลาย อย่าลืมว่าบางคนทำไมหูตึง บางคนหูหนวก นั่นเป็นเรื่องของโสตปสาทรูป มันไม่ใส มันบกพร่อง มันจึงไม่สามารถจะทำหน้าที่ให้โสตวิญญาณเกิดขึ้นได้ เราจึงไม่สามารถที่จะได้ยินเสียงนั้น ซึ่งเราเรียก
กันว่าคนหูหนวก เมื่อเราได้รู้จักลักษณะของโสตปสาทรูปรูปแล้ว ต่อไปเราก็จะทำความรู้จักกันกับฆานปสาทรูปอีกตัวหนึ่ง

๗. ฆานปสาทรูป

         ฆานปสาทรูป ตัวนี้ เราหมายถึงรูจมูกที่เราหายใจเข้าออกอยู่ทุกวันนี้ ซึ่งในรูจมูกนั้นมีฆานปสาทรูปปรากฏอยู่ด้วย เพราะฆานปสาทรูปนั้น อย่าลืมว่ามันต้องอาศัยมหาภูตรูปเป็นที่เกิด เราได้รู้กันมาแล้วว่า มหาภูตรูป ๔ นั้นมันเกิดด้วยตัวของ มันเอง ยืนอยู่ด้วยขาของมันเอง แต่รูปอีก ๒๔ รูปนั้นต้องอาศัยมหาภูตรูปเป็นที่เกิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งปสาทรูปทั้ง ๕ นี้ ทุกตัว ต้องอาศัยมหาภูตรูปเป็นตัวเกิดและวิญญาณซึ่งเราเรียกว่า ทวิปัญจวิญญาณ นั้น ก็ต้องอาศัยปสาทรูปเป็นตัวเกิด ถ้าไม่มีปสาท รูปเป็นตัวเกิดแล้ว ทวิปัญจวิญญาณจะเกิดขึ้นไม่ได้ เห็นไหมว่าคนเราแต่ละคนนั้นมันสลับซับซ้อนกันแค่ไหน

         เมื่อเราได้กล่าวมาถึงฆานปสาทรูปตัวนี้ เราควรจะได้ทำความรู้จักกับมันถึงความละเอียดของมันว่ามีเป็นอย่างไร ฆาน ปสาทรูปนี้มีความใสของมหาภูตรูปที่กระทบคันธารมณ์ หมายถึงความใสของประสาทจมูกสำหรับกระทบกลิ่น มีความใสนั้นเป็น ลักษณะ ฆานปสาทรูปมีการแสวงหาคันธารมณ์เป็นกิจหรือหน้าที่ เห็นไหมว่าเรามีจมูกนี่สำหรับคอยดมแต่กลิ่นเท่านั้น แต่ไม่ เคยชิมรสทางจมูก หรือไม่เคยดูอะไรทางจมูกเลย ของแต่ละสิ่งแต่ละอย่างที่ธรรมชาติสร้างมานั้นมันไม่ปะปนกันเหมือนมนุษย์ เราทุกวันนี้ หน้าที่ของใครใครก็รักษาอย่างดีที่สุด ซึ่งมันเป็นการแตกต่างกันกับพวกมนุษย์เราในปัจจุบัน ซึ่งไม่รู้จักหน้าที่ของ
ตน ชอบซอกแซกหน้าที่ของคนอื่น แต่ถ้าเราพิจารณาถึงปสาทรูป ๕ แล้ว เราจะเห็นได้ว่ามันรักษหน้าที่ของมันโดยเฉพาะและ
โดยเคร่งครัดแท้ๆ จักขุปสาทรูปไม่เคยทำหน้าที่ได้ยินเสียง โสตปสาทรูปไม่เคยทำหน้าที่ไปดมกลิ่น หรือฆานปสาทรูปไม่เคย
ทำหน้าที่ไปเห็นรูปแต่ประการใด ฉะนั้น เราจะเห็นได้ว่าการบริหารงานของธรรมชาตินั้นมีความแน่นอน ไม่ก้าวก่ายเหมือน มนุษย์ ฉะนั้นเราจะต้องจดจำลักษณะของรูปแต่ละตัวไว้ในรูป ๒๘ ตัวนี้ ซึ่งเราจะได้พบได้เห็น และนำมาใช้เป็นประโยชน์ในการ ประพฤติธรรมปฏิบัติธรรมในขั้นสูงต่อไป นอกจากลักษณะของฆานปสาทรูปที่มีความใสของมหาภตรูปที่กระทบคันธารมณ์ อันหนึ่งแล้ว และนอกจากนั้นเรายังได้มีการรู้ถึงการแสวงหาคันธารมณ์ของฆานปสาทรูปเป็นหน้าที่ ต่อไปเราก็รู้ต่อไปว่าการ ทรงอยู่ของฆานวิญญาณนั้นเป็นผล ของฆานปสาทรูป และมีมหาภูตรูปอันเกิดจากกรรม (คันธตัณหา) เป็นเหตุใกล้ คันธ
ตัณหา อันนี้หมายความว่า กลิ่นหอมบ้าง กลิ่นเหม็นบ้าง เราก็ไม่พอใจ สิ่งเหล่านี้เรียกว่าตัณหาทั้งสิ้น ฉะนั้นในการที่เราจะมี
ศีลอันบริสุทธิ์ ซึ่งผมหมายถึงศีล ๔ อันได้แก่ อินทรียสังวรนั้น ไม่ว่าตาจะเห็นรูปดีหรอืรูปชั่ว หูจะได้ยินเสียงดีหรือชั่วจมูกจะ
ได้กลิ่นดีหรือหอมหรือเหม็น เราก็มีจิตเป็นอุเบกขาทั้งสิ้น นี่เป็นอินทรียสังวรในวิสุทธิศีล ฆานปสาทรูปนี้เป็นประสาทจมูกซึ่ง
อยู่ในช่องจมูกนั่นเองเป็นรูปธรรมซึ่งมีความสามารถที่จะรับคันธารมณ์ เป็นวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งฆานวิญญาณ และเป็นทวารอัน
เป็นทางเกิดแห่งฆานวิญญาณวิถีจิต นี่เราต้องรู้ไว้ เมื่อเราได้รู้จักปสาทรูปมา ๓ ตัวแล้ว ต่อไปเราก็ทำความรู้จักกับปสาทรูป
ตัวที่ ๔ ต่อไป ซึ่งเรียกว่า ชิวหาปสาทรูป

๘. ชิวหาปสาทรูป

         ชิวหาปสาทรูป นี้หมายถึงอะไร ก็หมายถึงประสาทลิ้น สังเกตดูพวกเราทุกคนถ้าชิวหาปสาทดีแล้ว เราจะลิ้ม ไม่ว่า อาหารนั้นจะเป็นจืด เป็นเค็ม เป็นเผ็ด เป็นร้อน สิ่งเหล่านี้เรารู้ได้ด้วยประสาทลิ้นหรือชิวหาปสาทรูปนี่ทั้งสิ้น ชิวหาปสาทรูป ตั้งที่ไหน ตั้งอยู่ท่ามกลางลิ้น มีสัณฐานเหมือนปลายกลีบบัว เป็นรูปธรรมซึ่งสามารถในการรับรสารมณ์ เป็นวัตถุอันเป็นที่ตั้ง แห่งชิวหาวิญญาณ พวกเราทั้งหลายเมื่อกินของ ไม่ว่าขนมนมเนยอาหารต่างๆ ถ้าพวกเรามีสติ ไม่ขาดสติเสียแล้ว เราก็จะรู้ ว่าชิวหาปสาทรูปนี้ของเราดีหรือเก๊ ที่ผมว่าดีนี้หมายความว่ามันสามารถรู้รสได้ แม้รสนั้นจะเป็นเรื่องของการเจือจาง คือเผ็ด น้อยหรือเค็มน้อย หวานน้อยก็รู้ รู้อย่างนี้เพราะอะไร รู้เพราะว่ามันมีสติระลึกรู้ แต่ส่วนมากพวกเราทั้งหลายนั้นไม่รู้ ไม่รู้ไม่ใช่ ว่าไม่รู้เพราะชิวหาปสาทรูปไม่มี ไม่ใช่อย่างนั้น เพราะกิเลสตัณหามันบังหมด เหตุที่พวกเราส่วนใหญ่นั้นกินอาหารผ่านทางลิ้น ไม่รู้รสอาหารนั้น เพราะว่าสติของเรามันไม่มี แต่เรารู้เพียงแต่ว่ามันอร่อยไม่อร่อยด้วยตัณหากิเลสที่มันมาบัง ถ้าอร่อยเราก็กิน มาก ไม่อร่อยเราก็กินน้อย สิ่งเหล่านี้พิจารณาดูให้ดี เรากินด้วยความมีสติหรือกินด้วยโมหะ คือ กินเข้าไปให้มันอิ่มๆ ก็แล้วกัน จะรีบไป หรือกินด้วยโลภะ เราก็เลือกกินสิ่งที่รสสดชื่นหอมหวนยวนใจของเรา หรือบางทีก็กินด้วยไม่ถูกอารมณ์ ไม่ถูกปาก ก็
คือ โทสะ ฉะนั้นเราจะเห็นได้ว่าการลิ้มรสอาหารนั้น แม้แต่ชิวหาปสาทรูปของเราก็ดีจริง แต่เมื่อสติไม่ระลึกรู้แล้ว สิ่งเหล่านั้น
เราก็ไม่รู้ว่ามันเป็นความจริงที่เกิดขึ้นทางลิ้น เมื่อเราได้รู้ข้อเท็จจริงเช่นนี้แล้ว เราก็ครวจะได้รู้ต่อไปว่าชิวหาปสาทรูปนั้นมัน
ก็เป็นรูปๆ หนึ่งและอาหารที่เรากินนั้นซึ่งมีรส มันก็เป็นรูปอีกรูปหนึ่ง เราได้ศึกษากันมาแล้วพูดกันมาแล้วตั้งแต่ต้นคร่าวๆ แล้ว
ว่า เมื่อรูปกระทบรูปนั้นวิญญาณมันก็เกิด ฉะนั้นเมื่อเรากินอะไรเข้าไป ถ้าชิวหาปสาทรูปของเรามี เราก็สามารถรู้รสในสิ่งที่เรา
กินนั้นๆ ได้ ทั้งนี้ แล้วแต่ชิวหาปสาทพวกเราแต่ละคนมีความสดใสแค่ไหน ถ้ามีความสดใสมาก เรากินอะไรนิดนึงเราก็รู้รส ถ้า
มันไม่สดใส เช่นคนบางคนที่บอกว่า กินอะไรรสมันปร่าไปหมดนั้น นั่นแสดงว่าชิวหาปสาทรูปมันบกพร่อง

         ฉะนั้นเรากหันมาดูรายละเอียด ศึกษารายละเอียดในชิวหาปสาทรูปเสีย ว่ามันมีอะไรเป็นลักษณะ ชิวหาปสาทรูปนั้นมี ความใสของมหาภูตรูปที่กระทบอารมณ์เป็นลักษณะ มีการแสวงหารสารมณ์เป็นกิจหรือหน้าที่ มีการทรงอยู่ของชิวหา วิญญาณเป็นผล มีมหาภูตรูปอันเกิดจากรรม ( รสตัณหา ) เป็นเหตุใกล้ เห็นไหม เรากินกันด้วยกิเลสด้วยตัณหาทั้งสิ้น ไม่ใช่ กินด้วยสติ เราฝึกกันมากี่เดือนแล้วไม่รู้ว่าสติของพวกเรา ใครคนไหนบ้างมันตื่นขึ้นหรือยัง มันยังไม่ตื่นก็ปลุกให้มันตื่นเสีย ถ้าขืนยังปลุกไม่ตื่นเราก็เลิกกัน พูดไปทำไมเสียน้ำลายเปล่าๆ เพราะว่าการพูดในเรื่องกฏแห่งธรรมชาตินั้น ต้องการพูดให้พวก เรารู้ให้พวกเราเข้าใจ แล้วนำไปประพฤตินำไปปฏิบัติ อย่างหยิ่งผยอง เพียงแต่ว่าเออฉันสบายแล้วเวลานี้ เพราะสามารถทำ สมถกรรมฐานได้สูงๆ อย่าลืมว่าสมถกรรมฐานนั้นมันเหมือนหินทับหญ้า พอเราออกจากกัมมัฏฐานหรือสมาธิแล้ว มันก็คงจะ วุ่นวายต่อไป มันไม่ได้ลดกิเลส ไม่ได้ลดตัณหาใดๆ ทั้งสิ้น มีสิ่งเดียวเท่านั้น ญาณหรือปัญญาซึ่งเราหาได้จากการฝึกสติเท่านั้น ที่จะทำให้กิเลสตัณหาที่เราสะสมไว้ตลอดวัฏฏะจนถึงปัจจุบันนี้ให้มีความสึกร่อยหรอลงไป การที่พูดมานี้ถ้าพวกเราไม่สนใจที่ จะทำความเข้าใจแล้วนำไปประพฤติปฏิบัติแล้ว มันก็ไม่มีประโยชน์แต่ประการใด จึงเตือนพวกเราทุกคนได้ระลึกรู้ในเรื่องนี้ อย่าให้เผลอสติไปได้ หัดเอาไว้เถอะทางปสาทรูป ๕ นี่ แล้วเราก็จะมีความภาคภูมิใจในทีหลัง

         ตามที่พูดมานี้เราได้ทำความรู้จักกันกับปสาทรูปตัวที่ ๔ แล้ว คือจักขุปสาทรูป ๑ โสตปสาทรูป ๑ ฆานปสาทรูป ๑ ชิวหาปสาทรูป ๑ ต่อไปเราจะได้พูดกันถึงกายปสาทรูปบ้างว่ามันเป็นอย่างไร

๙. กายปสาทรูป

         กายปสาทรูป นี้หมายถึงประสาทกายซึ่งมีสัณฐานคล้ายสำลีที่แผ่ออกไปบางๆ ชุบน้ำมันจนชุ่มซ้อนกันอยู่หลายชั้น
มีอยู่ทั่วไปในสรรพางค์กายของเรา เว้นแต่ปลายผม ปลายขน ที่เล็บ ที่ฟัน ที่กระดูก ที่หนังหนาด้านๆ ซึ่งกายปสาทรูปตั้ง อยู่ไม่ได้ กายปสาทรูปนี้เป็นรูปธรรมที่มีความสามารถในการรับโผฏฐัพพารมณ์ คือการกระทบหรือการสัมผัสนั่นเอง กาย ปสาทรูปนี้มันรองรับอะไรได้บ้าง ในเรื่องโผฏฐัพพารมณ์นั้นมันก็รับได้ เย็นซึ่งเป็นลักษณะของธาตุไฟ ร้อนซึ่งเป็นลักษณะของ
ธาตุไฟเช่นเดียวกัน อ่อนซึ่งเป็นลักษณะของธาตุดินและแข็งก็เป็นลักษณะของธาตุดินเช่นเดียวกัน สิ่งเหล่านั้นเป็นวัตถุที่ตั้ง
แห่งกายวิญญาณ อันเป็นทวารทำให้เกิดกายทวารวิถีจิตเกิดขึ้น อย่าลืมว่าเราสัมผัสอะไร เรารู้ว่ามีความเย็น ร้อน อ่อน แข็ง เป็น ประการใดนั้น นั่นเป็นเรื่องของกายปสาทรูป ถ้าเราไม่มีกายปสาทรูปแล้ว ความสัมผัสเช่นนั้นมันก็ไม่รู้สึก สังเกตดู ถ้าเราตัดผม มันจะไม่รู้สึกเจ็บอะไรเลย เพราะว่าในผมนั้นมันไม่มีกายปสาทรูป มันมีอยู่ตรงโคนผมเท่านั้น ถ้าไม่เชื่อ ลองดึงผมออกมาซักเส้น หนึ่งสิ ที่โคนผมนั่นแหละมีกายปสาทรูปอยู่ เรื่องเหล่านี้เราจะต้องรู้ว่าอะไรมันเป็นอะไร คำว่า กาย นี้ซึ่งมีความสัมพันธ์กับ กายปสาทรูปนั้น อย่าลืมว่ากายนี้ประกอบไปด้วยมหาภูตรูป ๔ ซึ่งเป็นที่อาศัยของรูป ๒๔ ตัว รูป ๒๔ ตัวนี้มีปสาทรูป ๕ ตัว หนึ่งละและปสาทรูป ๕ ก็เป็นที่ตั้งของวิญญาณต่างๆ คือ ทวิปัญจวิญญาณด้วย คำว่ากายในที่นี้ เรียกสั้นๆ ว่ากาย ๔ กาย ๔ นี้หมายถึงอะไร หมายถึง

         ๑. ปสาทกาย หมายถึงกายปสาทรูปซึ่งเรากำลังพูดกันเดี๋ยวนี้
         ๒. รูปกาย อันหมายถึงรูป ๒๗ เว้นแต่กายปสาทรูป รูปกายนะระวังให้ดี รูปกายหมายถึงรูป ๒๗ ซึ่งเกี่ยวข้องกับ กายปสาทตัดกายปสาทออกเสียมันก็เหลือ ๒๗
         ๓. นามกาย หมายถึงจิต ๘๙ ดวง จำย่อๆ ก็เพียงจิตตัวเดียวก็พอ และเจตสิก ๕๒ จำย่อๆ ว่าเจตสิก มันเป็นเครื่อง ปรุงแต่งจิตนั่นหมายถึงนามกาย
         ๔. บัญญัติกาย ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นต่างๆ ในทางบัญญัติอารมณ์ซึ่งมันมีมากมายหลายประการ ผมจะไม่นำมากล่าวในที่ นี้แล้ว

         เมื่อเราได้รู้จักกันถึงเรื่องเกี่ยวข้องของกายปสาทรูปแล้ว ต่อไปเราก็ควรจะได้รู้จักถึงคุณสมบัติของมันเสียบ้างว่ามันมี อะไรบ้าง ๑. ความใสของมหาภูตรูปที่กระทบโผฏฐัพพารมณ์เป็นลักษณะ ความใสนะภาษาธรรมะใช้คำว่าความใส สิ่งที่เรา กระทบได้ ถ้ากระทบไม่ได้ไม่เรียกว่าความใส อย่างเช่นปลายผมเป็นต้น ๒. มีการแสวงหาโผฏฐัพพารมณ์เป็นกิจ ๓. มีการทรง อยู่ของกายวิญญาณเป็นผล ๔. มีมหาภูตรูปอันเกิดจากกรรม ( โผฏฐัพพาตัณหา ) เป็นเหตุใกล้

         ที่ได้กล่าวมาแล้วนี้เป็นเรื่องของปสาทรูปซึ่ง ได้แก่ จักขุปสาทรูป ๑ โสตปสาทรูป ๑ ฆานปสาทรูป ๑ ชิวหาปสาทรูป ๑ และกายปสาทรูป ๑ เมื่อเราได้รู้จักถึงเรื่องปสาทรูปเช่นนี้แล้ว ต่อไปเราก็จะได้ทำความรู้จักโคจรรูป

ประเภทที่ ๓ โคจรรูป

         โคจรรูป ในที่นี้หมายความถึงรูปที่ท่องเที่ยวไปเหมือนโค ซึ่งหมายถึงรูปที่เป็นอารมณ์ได้รูป ๔ ซึ่งเที่ยวไป คือ
๑. รูปารมณ์ ๒. สัททารมณ์ ๓. คันธารมณ์ และ ๔. รสารมณ์ โคจรรูปมีชื่ออีกอย่างหนึ่งเรียกว่า วิสยรูป คำว่าวิสยรูปนี้แปล ว่าวิสัย ซึ่งหมายถึงขอบเขตแดนความเป็นอยู่ ซึ่งเป็นรูปที่ทำอารมณ์ หรือเป็นรูปที่เป็นอารมณ์กับทวารนั้นๆ โครรูปหรือวิสยรูป ในที่นี้มีดังต่อไปนี้ ซึ่งเราจะต้องทำความรู้จักกับมันให้ดี คือ

๑0. รูปารมณ์

         รูปารมณ์ หมายถึง รูปสี หรือ วัณณ หรือ รูปรูป นั่นเอง มีหน้าที่กระทบกับจักขุปสาทรูปและทำให้เกิดจักขุ
วิญญาณเกิดขึ้น วัณณที่มาเป็นอารมณ์ให้แก่จักขุวิญญาณจิตนี้แหละเรียกว่า รูปารมณ์ ฉะนั้นเราจงมาทำความเข้าใจว่าเมื่อ
จักขุปสาทรูปมีความสดใสและมีรูปารมณ์มากระทบ นั่นหมายถึงความว่าคนที่มีตาดีหรือประสาทตาดี และมีรูปสีปรากฏ เราก็จะแลเห็น นั่นคือจักขุวิญญาณได้เกิดขึ้น หมายถึงการแลเห็นนั่นเอง ฉะนั้นเราจะต้องรู้จักลักษณะของรูปารมณ์ซึ่งมีความ
สำคัญดังต่อ ไปนี้คือ มีการกระทบจักขุปสาทรูปเป็นลักษณะ มีการทำอารมณ์ให้แก่จักขุวิญญาณเป็นกิจ มีการเป็นอารมณ์
ให้แก่จักขุวิญญาณเป็นผล มีมหาภูตรูป ๔ เป็นเหตุใกล้ ฉะนั้นในเรื่องรูปนี่ เราจะเห็นได้ว่าอารมณ์ที่เกิดจากจักขุวิญญาณนั้น ไม่ว่าเป็นอารมณ์ดีหรืออารมณ์เสีย รูปนั้นจะต้องปรากฏทางจักขุปสาทขึ้นก่อน มันจึงจะทำอารมณ์ให้เกิดขึ้นได้ สมมติพูดกัน อย่างง่ายๆ ถ้าคนตาบอดเห็นคนขี้ริ้วขี้เหร่หรือคนสวยงดงามยืนอยู่ตรงหน้าตน ก็ไม่มีอารมณ์เกิดขึ้น ทั้งนี้ เพราะจักขุปสาทรูป นั้นมันบกพร่อง ไม่แจ่มใส จึงไม่สามารถที่จะรับรูปารมณ์ที่กระทบได้ ดังนั้นอารมณ์ดีหรือเสียอันเกิดจากจักขุวิญญาณนั้นจึงไม่ เกิดขึ้น นี่เป็นรูปรูปหนึ่งซึ่งเราทุกคนได้ประสบตลอดชีวิต นั่นคือรูปที่ปรากฏทางตาหรือการแลเห็นนั่นเอง แต่เราไม่มีสติระลึกรู้ เรารู้แต่อารมณ์ พอใจไม่พอใจ หรือเฉยๆ ที่เกิดขึ้นเท่านั้น และรูปารมณ์นี้ถ้าจักขุปสาทรูปของผู้นั้นดี คือมีความใสปรากฏอยู่ เมื่อมีรูปารมณ์ที่สวยสดงดงามหรือไม่สวยเป็นสิ่งที่ไม่ต้องการแลเห็น ปรากฏขึ้นต่อหน้าแล้ว รูปารมณ์ซึ่งเป็นที่สวยสดงดงาม ต้องตาต้องใจมากระทบจักขุปสาทรูปก็ทำให้เกิดอารมณ์พอใจ หรือสุขเวทนาเกิดขึ้น เป็นการตรงกันข้าม ถ้ารูปนั้นไม่สวยไม่
งามน่าขยะแขยง เมื่อปรากฏขึ้นหรือสัมผัสกับจักขุปสาทรูปแล้ว ก็ทำให้เกิดความไม่พอใจ คือเกิดอารมณ์ที่ไม่ดีหรือทุกข
เวทนาเกิดขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากรูปารมณ์มาสัมผัสเข้ากับจักขุปสาทรูปจึงได้บังเกิดจักขุวิญญาณเกิดขึ้น นี่เป็นคุณสมบัติของ
รูปารมณ์ เราจะสังเกตได้โดยทั่วไป คนเรานั้นจะมีอารมณ์ดีหรืออารมณ์เสีย รูปารมณ์นี่แหละเป็นตัวๆ หนึ่งที่ทำให้เกิดอารมณ์ ดีหรืออารมณ์เสียเกิดขึ้นได้โดยง่าย

๑๑. สัททารมณ์

         นอกจากอารมณ์ดีหรืออารมณ์เสียซึ่งเกิดขึ้นจากรูปารมณ์ซึ่งสัมผัสเข้ากับจักขุปสาทรูปแล้ว ยังมีอีกตัวหนึ่งซึ่งเราควร จะได้ทำความรู้จักกันเสียในขั้นต้น นั่นคือ สัททารมณ์ ซึ่งหมายถึงเสียง เสียงนี้มีหน้าที่กระทบกับโสตปสาทรูป เมื่อคนเรานั้น ถ้าประสาทหูดี คือมีความใสสามารถที่จะรับสัททารมณ์ได้แล้ว เมื่อเราได้ยินเสียงดีเราก็เกิดความพอใจ เช่นเสียงไพเราะ เพราะพริ้ง เสียงที่ยกยอปอปั้น เหล่านี้เราก็เกิดความพอใจ เพราะตัณหาของพวกเราทุกคนยังมีอยู่เช่นนั้น นอกจากนี้แล้ว ถ้าเสียงนั้นเป็นเสียงที่กล่าวการนินทาว่าร้าย กล่าวด่า กล่าวโจมตีด้วยประการทั้งปวง เสียงนั้นอีกแหละก็ได้มากระทบกับ
ปสาทรูป แต่ทำให้เกิดความไม่พอใจเกิดขึ้น ทั้งนี้เพราะว่ามันทำให้อารมณ์อันเกิดจากโสตวิญญาณนั้นเกิดขึ้น ทั้งนี้เพราะว่า โสตปสาทรูปที่ดีมีความใสนั้นย่อมมีหน้าที่จะรับสัททารมณ์ จึงทำให้เกิดโสตวิญญาณคือการได้ยินเสียงเกิดขึ้น ดังนั้น เราควรจะ ได้รู้เรื่องลักษณะของสัททารมณ์ดังนี้คือ มีการกระทบโสตปสาทเป็นลักษณะ สิ่งเหล่านี้เราต้องจำไว้ว่าสัททารมณ์มีหน้าที่
กระทบโสตปสาทเป็นลักษณะ เท่านั้น ผู้ใดที่มีการสังวรทางอินทรีย์แล้ว ไม่ว่าเสียงนั้นจะเป็นเสียงยกยอปอปั้นหรือเสียงกล่าว นินทาว่าร้ายใดใดก็ดี เราก็ไม่มีความยินดียินร้ายด้วยประการทั้งปวง เพราะมันเป็นเพียงรูปรูปหนึ่งที่ได้ยินทางหูเท่านั้น
นั่นเป็นลักษณะของสัททารมณ์ นอกจากนี้แล้ว เรามาดูหน้าที่หรือกิจของสัททารมณ์บ้างว่ามีเป็นประการใด สัททารมณ์นั้น
มีการทำอารมณ์ให้โสตวิญญาณนั้นเป็นหน้าที่ของสัททารมณ์ พูดกันอย่างง่ายๆ ความพอใจหรือไม่พอใจใดๆ เกี่ยวกับเสียง
นั้น ถ้าสัททารมณ์มากระทบแล้วประกอบกับโสตปสาทรูปของเราใสอารมณ์ซึ่งได้รับรู้จากโสตปสาทรูปมันก็จะเกิดโสต
วิญญาณเกิดขึ้น นั่นคือการ ได้ยิน นอกจากนั้นแล้วมีการเป็นอารมณ์ของโสตวิญญาณเป็นผล และมีมหาภูตรูป ๔ เป็น
เหตุใกล้

๑๒. คันธารมณ์

         นอกจากรูปารมณ์ สัททารมณ์แล้ว ยังมีอีกตัวหนึ่งซึ่งเราควรจะได้รู้นั่นคือ คันธารมณ์ คันธารมณ์ หรือ คันธะ ในที่
นี้ก็คือกลิ่น หมายถึงน้ำมันหอมระเหยหรือกลิ่นต่างๆ ไม่ว่ากลิ่นหอมหรือกลิ่นเหม็นที่กระทบกับฆานปสาทรูปและทำให้เกิด
ฆานวิญญาณเกิดขึ้น คันธารมณ์นี้ทำให้เป็นอารมณ์เกิดแต่ฆานวิญญาณ นี่แหละเราเรียกว่าคันธารมณ์ คันธะนี้แบ่งออกเป็น
๔ ประเภทด้วยกันคือ

         ๑. สีลคันธะ ได้แก่สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ คือหมายถึง วาจาชอบ ความเป็นอยู่ชอบ และสัมมาอาชีวะ นี่เป็น
ศีล กลิ่นของศีล
         ๒. สมาธิคันธะ ได้แก่สัมมาวายามะ คือความเพียรชอบ สัมมาสติ คือความระลึกชอบ และสัมมาสมาธิ คือความ ตั้งมั่นชอบ
         ๓. ปัญญาคันธะ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ คือเห็นชอบ และสัมมาสังกัปปะ คือการดำริชอบ

         คันธะในที่นี้ไม่ได้หมายถึงกลิ่นหอมหรือที่เหม็นนั้น แต่หมายถึงการฟุ้งไป กระจายไป แผ่ไป ทั่วไป นี่เป็นคันธะซึ่งใน ทางระเหยหรือความฟุ้งไปในธรรม ส่วนกลิ่นหอมหรือกลิ่นเหม็นนั้นตามปกติย่อมเป็นไปตามลมและไปในบริเวณแคบ ไม่กว้าง เหมือนศีล สมาธิ และปัญญาแต่ประการใด
         ๔. อายตนคันธะ ได้แก่คันธารมณ์คือกลิ่นที่ดีและกลิ่นที่ไม่ดีเป็นต้น

จบ เรื่องทำความรู้จักกับรูปธรรม ตอนที่ ๔ เพียงเท่านี้