เรื่องทำความรู้จักกับรูปธรรม ตอนที่ ๕

กาโล ฆสติ ภูตานิ     สพฺพาเนว สหตฺตนา.
กาลเวลา ย่อมกินสัตว์ทั้งปวงกับทั้งตัวมันเองด้วย.

         พุทธพจน์ดังกล่าวนี้ ถ้าพวกเราทุกคนจะมีความจำดีแล้ว ก็จะเข้าใจว่าการตั้งอยู่ความประมาทโดยปล่อยให้เวลาผ่าน ไปนั้น มันเป็นการเสียประโยชน์อย่างยิ่ง ทั้งนี้ เพราะเมื่อกาลเวลาผ่านไป อายุของเราก็ผ่านไป ถ้าเราไม่มีสติที่จะประพฤติ
ปฏิบัติธรรม มันก็จะทำให้วัฏฎะของเราต้องยืดยาวออกไปโดยไม่มีสิ้นสุด เพราะเราได้พูดกันมาแล้วว่าวัฏฏะนั้นจะลดน้อยถอย
ลง มันขึ้นอยู่กับสติตัวเดียวเท่านั้น สติในที่นี้ผมหมายถึงการระลึกรู้เป็นปัจจุบันธรรม รู้ความจริงในปรมัตถธรรมที่เกิดขึ้น ซึ่งหมายถึงรูปและนาม ซึ่งเรากำลังพูดกันอยู่นี้หลายอาทิตย์มาแล้วมันยังไม่จบสิ้น ทั้งนี้เพราะเหตุว่าการปฏิบัติธรรมในขั้นสูง
นั้นสติตัวเดียวเท่านั้นซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่ง ถ้าเราไม่สามารถปลุกสติให้ระลึกรู้จนเป็นปัจจุบันธรรมได้แล้ว โอกาสที่จะ
ประพฤติธรรม ปฏิบัติธรรมในขั้นโลกุตตรธรรมจะไม่มีโอกาสทำได้เลย นอกจากเป็นการประพฤติปฏิบัติโดยมีความเข้าใจผิดๆ ซึ่งส่วนใหญ่ ๙0 เปอร์เซนต์มันเป็นเช่นนั้น เพราะการประพฤติธรรมปฏิบัติธรรมในขั้นโลกุตตรนั้น ปัจจัยที่สำคัญตัวเดียวคือสติ ถ้าเราไม่ สามารถจะปลุกสติให้ตื่นได้แล้ว เราก็ทำอะไรไม่ได้เลย ฉะนั้น ก่อนที่เราจะประพฤติปฏิบัติในโลกุตตรธรรมนั้น เราจะต้องทำการ ฝึกสติซึ่งผมได้พูดให้คุณฟังมานานแล้ว ไม่ทราบว่าในปัจจุบันนี้ได้นำไปประพฤติปฏิบัติ และสติเกิดขึ้นบ้าง หรือยัง และหลังจากที่ผมฝึกให้คุณปลุกสติให้ลุกขึ้นแล้ว ก็ได้นำคุณมารู้จักกับรูปธรรม ณ ที่นี้ ซึ่งเป็นอาทิตย์ที่ ๕ สำหรับการ พบกับรูปธรรม ถ้าเราไม่ทำความรู้จักกับรูปธรรมเสียก่อนแล้ว เราจะไม่มีโอกาสที่จะปฏิบัติได้ถูกต้องแต่ประการใด เพราะว่า เมื่อเราฝึกสติให้เกิดขึ้นแล้ว แต่ถ้าเราไม่รู้จักรูปธรรมมันมีลักษณะเป็นอย่างไร เมื่อสติเกิดขึ้น ความยุ่งยากมันก็จะเกิดขึ้นที่หลัง ที่ผมพูดว่าความยุ่งยากมันเกิดขึ้นทีหลังนี่เพราะอะไร เพราะโลกุตตรที่ฝึกด้วยสตินั้นเป็นการสร้างปัญญาในทางธรรมะให้เกิดขึ้น ถ้าเราไม่ได้ศึกษาทำความรู้จักกับรูปธรรมกับนามธรรมมาก่อนแล้ว เมื่อสติมันเกิดขึ้น ประเดี๋ยวก็ต้องวิ่งไปหาหมอ ทำไมถึงได้ เป็นเช่นนั้น ถ้าปัญญาเราเกิดไม่ทันสติที่มันเกิดแล้ว ความทุกข์เวทนามันเกิดขึ้นทันที เพราะมันเป็นการบังคับให้เรารู้ ซึ่งมี
พวกเราบางคนได้ทดลองปฏิบัติดู เวลามันเกิดขึ้นแล้ว เรารู้ไม่ทันก็เกิดทุกข์เวทนาหรือเรียกว่าเจ็บป่วยเกิดขึ้น ที่เจ็บป่วยเกิด
ขึ้นอย่างนี้เพราะอะไร เพราะว่าเราไม่ยอมรับรู้ว่าอ้ายสิ่งที่ประจักษ์ขึ้นนั้นมันเป็นรูปเป็นนาม ต่อเมื่อบางคนก็ถึงไปให้หาหมอ
ตรวจก็ ไม่พบสมุฏฐานของโรค และก็เป็นอยู่เช่นนี้ เมื่อเราได้ทำการฝึกสติอยู่ จนกว่าเราจะรู้ว่าสิ่งนั้นที่ปรากฏนั้นมันเป็นรูป หรือสิ่งที่ ปรากฏนั้นมันเป็นนาม ทุกข์เวทนานั้นมันก็จะหายไปดังปลิดทิ้ง นี่เป็นการปฏิบัติที่ถูกต้อง ซึ่งตรงกันข้าม ซึ่งเราเห็น
เขาเจริญโลกุตตรธรรมกันหลายๆ แห่ง เขารู้ทั้งนั้น รู้จริง รู้อย่างไร รู้จากการศึกษาเล่าเรียน ไม่ใช่รู้ด้วยการปฏิบัติ ในการ
ปฏิบัตินั้นสติ มันต้องเกิดขึ้นก่อน แล้วปัญญามันถึงจะเกิดตามมา ถ้าเราไม่ฝึกเป็น step อย่างนี้แล้ว แทนที่จะเป็นโลกุตตร
ธรรม มันก็คงเป็นโลอะไรผมไม่รู้ เพราะส่วนใหญ่เขาปฏิบัติกันอย่างนั้น และในเรื่องนี้ ถ้าพวกเรามีความละเอียดละออสัก
หน่อย ระหว่างที่เรายังไม่ได้เจริญสมาธิซึ่งเรียกว่าสมถกัมมัฏฐาน กับภายหลังที่เราได้เจริญสมาธิคือสมถกัมมัฏฐานจนได้
ฌานจิตแล้วนั้น ถ้าเราจะแผ่ส่วนกุศลผลบุญแล้ว ผลมันจะแตกต่างกัน ผู้ที่ยังไม่ได้เจริญฌานจิต การแผ่ส่วนกุศลผลบุญนั้น ผู้ที่จะรับก็ได้รับบ้างเพียงเล็กน้อย หรือบางทีก็ไม่ได้รับเลย ฉะนั้นการที่มีพันธะผูกพันกันในเรื่องหนี้ของกรรม พวกเหล่านี้จึงมี โอกาสได้เปรียบกับบุคคลทั่วๆ ไป เพราะบุคคทั่วๆ ไปนั้นเขาไม่สามารถที่จะชดใช้หนึ้เช่นนั้นได้ แต่พวกเรานี้ที่ได้ฌานจิตแล้ว ก็สามารถจะชดใช้เขาได้โดยไม่เสียเวลามากนัก และยิ่งพวกเรามีสติ โดยรับการฝึกสติเกิดขึ้นและปัญญาเกิดขึ้นแล้ว น้ำหนัก แห่งการชดใช้มันก็จะมีความเข้มแข็งมากขึ้น ทั้งนี้เพราะเหตุว่าจิตที่เป็นสมาธินั้นมันเป็นโลกียธรรม มันมีทางเสื่อมไปได้ แต่ถ้า จิตของเราทำทางโลกุตตรธรรมแล้ว เมื่อมีความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป มันก็กลายเป็นโลกุตตรธรรมซึ่งมันไม่เสื่อม เช่นนี้ความได้ เปรียบเสียเปรียบซึ่งเราเคยคิดกันมาว่า การที่เราทำสมาธิได้นั้นเป็นการดีแล้วนั้น ความจริงมันยังไม่ดีตามหลักของพระพุทธ ศาสนา ทั้งนี้เพราะว่าสมาธินั้นมันเป็นการดับหรือทำความสงบความเรียบร้อยให้แก่จิตชั่วขณะที่เราอยู่ในสมาธิเท่านั้น เมื่อเรา ออกจากสมาธิแล้วภาวะจิตของเราก็อยู่ในสภาพเดิมคือความวุ่นวาย เต็มไปด้วยกิเลส ซึ่งเป็นการตรงกันข้าม ถ้าเราฝึกสติ ให้รู้เป็นปัจจุบันธรรมโดยรู้ถึงปรมัตถธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว มันเป็นการถอนหญ้าให้หมดไป ไม่ใช่หินทับหญ้าเหมือนอย่างสมาธิ

         เรื่องทำความรู้จักกับรูปธรรมนั้น เมื่อวันก่อนเราได้พูดกันมาถึงสิ้นสุดในเรื่องคันธารมณ์ ซึ่งหมายถึงกลิ่นนั่นเอง เราถือเป็นรูปคันธารมณ์นี้มีการกระทบกับฆานปสาทเป็นลักษณะ มีการทำอารมณ์ให้ฆานวิญญาณเป็นกิจเป็นหน้าที่ มีการเป็น อารมณ์ของฆานวิญญาณเป็นผล มีมหาภูตรูป ๔ เป็นเหตุใกล้ คันธะหรือกลิ่นนี้หมายถึง น้ำมันระเหยหรือกลิ่นที่เข้ามากระทบ ฆานปสาท และทำให้เกิดฆานวิญญาณขึ้น คันธะที่มาเป็นอารมณ์ให้แก่ฆานวิญญาณนี้แหละ เราเรียกว่าคันธารมณ์ คือรูปกลิ่น นั่นเอง คันธะหรือคันธารมณ์นี้ ถ้าราจะพูดให้ละเอียดออกไป มันมี ๔ ประการคือ

         ๑๑. สีลคันธะ ถ้าเราได้ฟังพุทธพจน์ต่างๆ ในพระสูตรแล้วเราจะเห็นได้ว่าศีลนี้ถือว่าเป็นกลิ่นที่หอมทวนลมได้ นี่ใน หลักภาษาของธรรมะ ฉะนั้น ผู้ที่มีศีลย่อมเป็นที่รักของมนุษย์และอมนุษย์ สีลคันธะนี้ได้แก่ สัมมาวาจา ๑ คือ วาจาเป็นสัมมา ทิฏฐินั้น อีกตัวหนึ่งก็คือ สัมมากัมมันตะ คือการเป็นอยู่ชอบ และตัวที่ ๓ เรียกว่า สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพชอบ ฉะนั้นการ เจรจาชอบ การเป็นอยู่ชอบการมีอาชีพชอบนี้ ถือเข้าในศีลทั้งหมด คำว่าสัมมาวาจานี้ นอกจากเราเว้นวจีกรรม ๔ แล้ว คำว่า สัมมาวาจาเรายังต้องโน้มเอียงเข้าไปในถึงกถาวัตุ ๑0 อีกด้วย คือการจะพูดการเจรจากันนั้น ก็เต็มไปด้วยธรรมะ คือหลักของ ธรรม แทนที่เราจะมาพูดเล่น พูดหัวกัน พูดเพ้อเจ้อกัน เราก็สนทนาวิสาสะกันด้วยธรรมะทั้งสิ้น หรือสัมมากัมมันตะซึ่งเป็นการ อยู่ชอบนั้น เราเป็นอยู่อย่างพวกเราทุกวันนี้ เราพยายามฝึกหัดการเป็นอยู่อย่างสัมมากัมมันตะ คือเป็นอยู่ตามอัตภาพ ไม่ดิ้นรน ไม่เดือดร้อน เรามีสัมมาอาชีวะเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง พวกเราทุกคนไม่มีคนใดที่ไปเป็นมิจฉาอาชีวะ ซึ่งไม่เหมือนในสังคมปัจจุบัน นี้ การมีสัมมาอาชีวะนั้นในสังคมปัจจุบันรู้สึกว่าเขาไม่นิยมกันเพราะว่ามันรวยช้า

         ๒. สมาธิคันธะ สมาธิคันธะนี้ได้แก่ หนึ่ง สัมมาวายามะ คือความเพียรชอบ คำว่าความเพียรชอบอันนี้หมายถึง สัมมัปปทาน ๔ คือความเพียรป้องกันอกุศลเข้ามาในจิต เพียรทำลายอกุศลที่เกิดแล้วให้หมดไป เพียรสร้างกุศลให้เกิดขึ้น และ เพียรรักษากุศลนั้นไว้ให้คงอยู่และเจริญขึ้น นี่สัมมาวายามะ จัดเข้าเป็นสมาธิคันธะ คือกลิ่นของสมาธิ ตัวที่ ๒ ก็ได้แก่สัมมาสติ สัมมาสตินี้แหละเป็นตัวที่เราปลุกปั้นกันมานานนักหนาแล้ว ผมเองก็ไม่รู้ว่าพวกเราตื่นขึ้นบ้างหรือยัง หรือยังหลับหูหลับตาอยู่ เพราะสัมมาสติตัวนี้แหละเป็นตัวระลึกชอบ ระลึกยังไงคำว่าระลึกชอบในที่นี้หมายถึงระลึกถึง สติปัฏฐาน ๔ คือระลึกถึงกาย ๑ เวทนา ๑ จิต ๑ ธรรม ๑ โดยเพาะอย่างยิ่งการระลึกถึงกายพวกเราก็ได้ระลึกกันมาแล้วทุกคน จนมีจิตอันสงบ คำว่ากายในที่นี้ รวมทั้งลมหายใจเข้าออกด้วย นั่นเราใช้สติระลึกรู้ มันจึงเกิดทำความสงบให้แก่จิตขึ้น นี่สัมมาสติตัวนี้แหละ ถ้าเราสร้างมันขึ้น มาได้แล้ว กำไรในชีวิตที่เราจะกล้าพูดกันได้ว่าเราเกิดมาแล้วทั้งชาติ ไม่เสียชาติเกิด เพราะสัมมาสติตัวเดียวนี่แหละที่เราจะ สร้างญาณวิปัสสนาให้เกิดขึ้นได้ ตั้งแต่ญาณที่ ๑ ถึง ญาณที่ ๑๖ นี่ สติตัวเดียวเท่านั้น ฉะนั้นผมพยายามชักชวนตักเตือนคุณ ทุกคนขอให้ปลุกมันลุกขึ้นนะ อย่าให้มันนอนหลับ เหตุที่มันนอนหลับ ทั้งนี้เนื่องจากวัฏฏะที่มานับไม่ถ้วนนั้น พวกเราเต็มไป
ด้วยกิเลสทั้งหลาย เราอย่าลืมว่ากิเลสทั้งหลายนั้นมันเป็นอกุศลเจตสิกที่นองเนื่องกันอยู่ ส่วนสตินั้นมันเป็นโสภณเจตสิก เมื่อเราไปคบกับความชั่ว อ้ายความดีมันก็ไม่ปรากฏ เวลานี้ ๖-๗ วัน เรามาพบกันทีหนึ่ง เราก็ปลุกความดีให้มันลุกขึ้น มันจะ
ปลุกกันไม่ได้ ตลอดไป สัก ๖-๗ วันก็ยังดี ในชีวิตของเราปลุกให้มันลุกขึ้นเถอะ แล้วเราได้รู้ว่าคุณธรรมนั้นนอกจากสัมมาสติ
ที่จัดเข้าไปอยู่ใน สมาธิคันธะแล้ว ก็ยังมีอีกตัวหนึ่งคือ สัมมาสมาธิ ที่เราประพฤติปฏิบัติได้รับความสงบนั้นเป็นสัมมาสมาธิ เพราะว่าเราเอาสติ เข้ามาบวกเข้าไปด้วย แต่มันก็ยังเป็นขั้นโลกียธรรมอยู่ ถ้าเราเปลี่ยนอารมณ์ซึ่งเกิดจากบัญญัติธรรมกลับ
มาเป็นปรมัตถธรรมแล้ว สัมมาสมาธิอันสมบูรณ์ก็จะเกิดขึ้น อย่างเช่นเราเอาลมหายใจเข้าออกมาทำสมาธินี้ นี่เป็นบัญญัติ
ธรรมเรียกว่า สมถกัมมัฏฐาน ถ้าเราเปลี่ยนอารมณ์ในการทำอานาปานสตินั้นเป็นปรมัตถธรรมแล้ว สมาธิที่เราจะได้รับมันก็จะ
ได้ขั้นความสงบ แต่ไม่ถึงขั้นฌานจิต ได้อย่างสูงเพียงขณิกสมาธิเท่านั้น แต่มันก็ได้ฝ่ายปัญญา ทั้ง ๓ ตัวที่ผมกล่าวมานี้จัดอยู่
ในสมาธิคันธะ คือกลิ่นของสมาธิ

         ๓. ปัญญาคันธะ คือถือว่าปัญญานี้ก็เป็นกลิ่นหอมที่ทวนลมได้ นั่นคือตัวอย่างหนึ่งเรียกว่า สัมมาทิฏฐิ หมายถึง ความเห็นชอบ เห็นตรงตามความเป็นจริง ไม่ได้เห็นบิดๆ เบี้ยวๆ กันอย่างทั่วโลกเขาเห็นกัน เห็นในที่นี้เห็นอย่างไร เห็นใน การเกิดในวัฏฏะมันเต็มไปด้วยทุกข์ ที่เราว่าสุขนั้นความจริงมันไม่ใช่ เห็นมัน ก็คือเห็นในทุกข์หรือ ทุกขสัจจะ ความจริงนั้น
เป็นความทุกข์ และทุกขสมุทัยหรือ สมุทัยสัจจะ นี่ ต้นหรือที่มาแห่งทุกข์นั้น และนิโรธสัจจะ คือการพ้นทุกข์นั้น และตัวที่ ๔
ก็คือ มัคคสัจจะ คือทางแห่งความพ้นทุกข์ ซึ่งถือว่าเป็นศีลคันธะสมาธิคันธะและปัญญาคันธะ รวม ๘ ตัวเรียกว่ามรรค ๘ นั่น
เอง นอกจากสัมมาสมาธิที่ถือว่าเป็นปัญญาคันธะแล้ว ยังมีอีกตัวหนึ่งคือ สัมมาสังกัปปะ คือการดำริชอบ ดำริในที่นี้ คำว่า
ชอบในที่นี้หมายถึง การดำริที่จะออกจากวัฏฏะ ไม่ปรารถนาที่คิดจะอยู่อีกต่อไปแล้ว นี่ การที่เราสัมมาสังกัปปะกันนั้น ไม่ใช่ว่า
เรามีความดำริชอบกันแล้ว มันจะหลุดไปได้ทีเดียว ยังไม่ใช่ มันจะอยู่กี่ชาตินับไม่ถ้วนก็ได้ แต่เราเริ่มมีเจตนาเสียเถอะตั้งแต่
บัดนี้ ไม่ต้องกลัวหรอกว่ามันจะไม่เกิดน่ะ มันต้องเกิด ยังไงยังไงมันต้องเกิดแน่ ตราบใดยังมีตายมันต้องมีเกิด มีทางเดียว
เท่านั้นที่จะพ้นไปได้คือ นิโรธสัจจะ หรือปรินิพพาน นั่นเอง ซึ่งพวกเรายังไกลอยู่ อย่าไปสนใจมันเลย เราพยายามทำเหตุให้มัน
ดีเถอะ สิ่งนั้นคือสติและรู้ถึงปรมัตถธรรมให้ถูกต้องแน่นอน ผลมันจะออกยังไงก็ช่างมัน

         คันธะนี้ไม่ได้หมายถึง กลิ่นหอมหรือกลิ่นเหม็นเท่านั้น แต่หมายถึงการฟุ้งไปกระจายไป ดังศีลคันธะ สมาธิคันธะ ปัญญา คันธะ รวม ๘ ตัวนี้คือมรรค ๘ นั้น เป็นคันธะที่มีฟุ้งกระจายไป ตามปกตินั้นกลิ่นหอมหรือกลิ่นเหม็นนั้น ตามปกติมันก็กระจาย ไปตามลม ไปในบริเวณที่แคบ ถ้าเป็นกลิ่นของศีล กลิ่นของสมาธิ กลิ่นของปัญญานั้น มันย่อมหอมหวลทวนลมไป ฉะนั้น พวกเรา ที่มีศีล มีสมาธิ มีปัญญา จงภูมิในเสียเถิดว่า เราย่อมเป็นที่รักของมนุษย์และอมนุษย์

         ๔. อายตนคันธะ ตัวนี้แหละที่เรารู้กันทั่วๆ ไปซึ่งเรียกว่าคันธารมณ์ คือ สุคันธะหรือกลิ่นที่ดี และทุคันธะ กลิ่นไม่ดี หมายความถึงกลิ่นหอมและกลิ่นเหม็นนั่นเอง ผมว่าพวกเราทุกคนที่มาในที่นี้เมื่อสัก ๔-๕ อาทิตย์แรกนั้น เราคงจะได้ทุคันธะ กันด้วยกันทุกคน ขนาดจุดธูปปะปนไปแล้วกลิ่นยังไม่หมด นี่ กลิ่นอายตนคันธะ ตัวนี้แหละที่เราจะใช้เป็นเครื่องทำให้สติระลึก รู้ในการที่จะสร้างปัญญา เรียกว่าคันธารมณ์

๑๓. รสารมณ์

         นอกจากคันธารณ์ที่เราได้พูดกันมานี้แล้ว ตัวต่อไปก็คือ รสารมณ์ รสารมณ์นี้หมายถึง รสะคือรสนั่นเอง รสนี่มีที่ กระทบกับชิวหาปสาทและทำให้เกิดชิวหาวิญญาณเกิดขึ้น รสะที่มาเป็นอารมณ์ให้แก่ชิวหาวิญญาณนี่แหละเราเรียกว่า
รสารมณ์ จากข้อเท็จจริงอันนี้พวกเราที่กินอาหารโดยมีสติ เราจะรู้ว่ารสนั้นมันเป็นอย่างไร มันรู้ได้ทางไหน ฉะนั้นจากข้อเท็จ จริงในเรื่องรสารมณ์นี้ รสารมณ์ก็มีการกระทบกับชิวหาปสาทเป็นลักษณะ ไปกระทบที่อื่นไม่รู้ลักษณะของรส นอกจากกระทบ ที่ลิ้นเท่านั้นเอง มีการทำอารมณ์ให้แก่ชิวหาวิญญาณเป็นกิจ มีการเป็นอารมณ์ของชิวหาวิญญาณเป็นผล มีมหาภูตรูป ๔ เป็น เหตุใกล้ อนึ่ง ในเรื่องของรสนี้ เราแบ่งออกเป็น ๔ รสด้วยกัน เรียกสั้นๆ ว่า รสะ ๔

         ๑. ธัมมรส ได้แก่ มัคคจิตตุปบาท ๔ คือ โสดา สกิทาคา อนาคา และอรหัตถ์ ธัมมรสนี้ได้แก่ มัคคจิตตุปบาท ๔ คือ ตั้งแต่ โสดาถึงอรหัตถมัคคจิต และโลกียจิต โลกียกุศลจิต ๑๗ อกุศลจิต ๑๒ ธรรมอันเป็นกุศลและอกุศลทั้งปวง นี่เป็นธัมมรส พวกเราอาจจะไม่เข้าใจก็ได้ว่าโลกียกุศลจิต ๑๗ นั้นหมายถึงอะไรบ้าง ตัวแรกหมายถึงมหากุศลจิต ๘ ที่พวกเราใช้กันอยู่
ทุกวันๆ นี้ ตัวที่ ๒ รูปาวจรกุศล ๕ ตัวที่ ๓ อรูปาวจรกุศล ๔ รวมเป็น ๑๗ ส่วนอกุศลจิต ๑๒ นั้นได้แก่ โลภมูลจิต ๘
โทสมูลจิต ๒ โมหมูลจิต ๒ นั่นเป็น อกุศลจิต ๑๒

         ๒. อัตถรส ก็ได้แก่ ผลจิตตุปบาท ๔ ซึ่งหมายถึง โสดา สกิทาคา อนาคา และอรหัตถผลจิต ๔ นี่ แล้วยังมีโลกียวิบาก จิต ๓๒ ซึ่งเป็นธรรมอันเป็นผลของกุศลและอกุศลทั้งหมด คำว่าโลกียวิบากจิต ๓๒ นี้ พวกเราอาจจะไม่เข้าใจ ก็ได้แก่ อกุศลวิบาก ๗ กุศลวิบาก ๘ มหาวิบาก ๘ รูปวิบาก ๕ และอรูปวิบาก ๔ รวมทั้งหมด ๓๒ ดวง นี่เรียกว่า อัตถรส คือผลที่เกิด ขึ้นนั่นเอง เกิดขึ้นทั้งทางดีทางชั่วทางเลวอะไรก็ไม่รู้ ไม่รู้ มันเป็นผลอันนี้ อย่างที่พวกเราที่เข้าฌานขั้นไหนล่ะ ก็นับไปสิ ใน รูปฌานก็นับได้ ๕ ถ้าเป็นอรูปฌานก็นับได้ ๔ นี่

         ๓. วิมุตติรส มีตัวเดียวเท่านั้นคือ นิพพาน

         ๔. อายตนรส ตัวนี้แหละที่เราต้องใช้กันอยู่ประจำวันเพื่อเป็นการฝึกสติตัวนี้ ตัวนี้แหละอายตนรสนี้แหละ ซึ่งเรียกว่า รสารมณ์ เมื่อประมวลแล้วรสารมณ์นี่หรือรสนี่ ซึ่งเป็นรูปนี้มันมี ๖ รส คือ เปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด ขม และฝาด นี่

         ตามที่ผมกล่าวมานี่มันก็ครบวิสยรูปหรือโคจรรูป ๔ ซึ่งได้กล่าวมาแล้วตั้งแต่ต้นแล้ว อันได้แก่ วัณณรูป สัททรูป คันธรูป และรสรูปซึ่งเราเรียกกันว่ารสารมณ์ รูปสี รูปเสียง รูปกลิ่น รูปรส นี้เป็นรูปทั้งหมด

ประเภทที่ ๔ ภาวรูป

๑๔. อิตถีภาวรูป

๑๕. ปุริสภาวรูป

         เมื่อเราได้รู้กันมาถึงขั้นนี้แล้ว เราก็ควรจะได้รู้ถึงรูปต่อไปอีกเรียกว่า ภาวรูป คือรูปที่แสดงให้รู้สภาพแห่งความเป็น หญิงหรือเป็นชายนั่นเอง เราเรียกรวมๆ กันว่า ภาวรูป โดยอาศัยรูปร่างสัณฐานเป็นเครื่องหมาย ตลอดจนนิสัยและกิริยา
อาการ เป็นเครื่องแสดงให้รู้ภาวรูป ตัวที่ ๑ ก็เรียกว่า อิตถีภาวรูป มันมีลักษณะอย่างนี้ มีสภาพของหญิงเป็นลักษณะ มีปรากฏการณ์ของหญิงเป็นกิจ มีอาการของหญิงเป็นผล มีมหาภูตรูป ๔ เป็นเหตุใกล้ นี่เป็นคุณสมบัติของอิตถีภาวะรูป คือรูปเป็นหญิง ทีนี้อีกตัวหนึ่งเรียกว่า ปุริสภาวะรูป คือรูปเป็นชายนี่ ก็หมายถึง มีสภาพเป็นชายเป็นลักษณะ มีปรากฏการณ์ของชายเป็นกิจ มีอาการของชายเป็นผล มีมหาภูตรูป ๔ เป็นเหตุใกล้

         ทีนี้เรื่องต่อไปก็คือว่า สิ่งที่แสดงให้รู้ว่าเป็นหญิงหรือเป็นชาย ที่มีสภาพของหญิงหรือชายนั้น พระพุทธเจ้าแบ่งออกเป็น ๔ ประการ

         ตัวที่ ๑ เรียกว่า ลิงคะ หมายถึงรูปสัณฐานซึ่งบอกเพศอันมีมาแต่กำเนิดซึ่งจะปรากฏมาตั้งแต่คลอด คืออวัยวะเพศ
นั่นเอง
         ตัวที่ ๒ เรียกว่า นิมิตตะ หมายถึงเครื่องหมายหรือสภาพความเป็นอยู่ที่ปรากฏนั้น เช่น สำหรับหญิงอกก็เริ่มโตขึ้น สำหรับชายมีหนวดมีเคราขึ้น สภาพเหล่านี้เราเรียกว่า นิมิตตะ คือ เครื่องหมายบอก

         ตัวที่ ๓ เรียกว่า กุตตะ หมายถึงนิสัย คือความประพฤติที่เคยชิน เช่น ผู้หญิงก็ชอบนุ่มนวล อ่อนโยน เรียบร้อย ส่วน
ผู้ชายก็ชอบห้าวหาญ เข้มแข็ง ว่องไว นี่ ทั่วๆ ไปนะ ประเดี๋ยวพวกคุณจะยกว่า เอ๊ะคนนั้นผู้หญิงคนนั้นแท้ๆ ทำไมทำอย่างกับ
ผู้ชายไม่ใช่ อ้ายนั่นมันน้อยเหลือเกิน มันไม่ใช่ทั่วไป ถ้าทั่วไปต้องเป็นไปตามนี้

         ตัวที่ ๔ เรียกว่า อากัปปะ หมายถึงกิริยาหรืออาการ ถ้าผู้หญิงก็แช่มช้อยเอียงอาย ผู้ชายองอาจ เด็ดเดี่ยว การที่คน เราจะเกิดมาเป็นคนนั้น ถ้าเราไม่ได้ทำบุญกุศลมาแล้ว โอกาสที่จะเกิดมาเป็นคนได้ยากลำบากเหลือเกิน เพราะเหตุไร เพราะ จุติจิตกับปฏิสนธิจิตนี่มันเป็นเรื่องชนกกรรม ตัวทำให้เกิด ตัวนี้แหละ พวกที่เกิดมาเป็นหญิงนี่ถือว่า ทุพพลกุศลกรรม หมาย ความว่าสร้างกุศลจริงแต่มันยังอ่อนไป กุศลนั้น ส่วนผู้ชายที่เกิดมาเป็นผู้ชายนั้นเขาเรียกว่า พลวกุศลกรรม คือกุศลที่มีพลัง
มาก มันก็เกิดมาเป็นมนุษย์เหมือนกันแหละ แต่ทีนี้มันคนละเพศ คำว่าเป็นคนละเพศ ที่พูดมานี่หมายถึงชนกกรรม ตัวที่ทำ
ให้เกิดในภพภูมิไหน แล้วก็อย่างเป็นมนุษย์นี่อาจจะเกิดมาเป็นผู้หญิงก็ได้ ผู้ชายก็ได้ แต่ถ้าพวกคุณเกิดไปเป็นเทวดา เราก็คง
จะมีเทวดาเป็นผู้หญิงผู้ชาย นี่ชั้นต่ำๆ ที่เรียกว่าเทวดา นางฟ้า อะไรนี่ แต่ถ้าคุณย่างเข้าไปในชั้น ๔ หรือชั้นดุสิตไม่มีนะผู้หญิง หรือ เทวดาในชั้นดุสิตนี่ถ้าจะจุติเกิดมาเป็นมนุษย์ผู้หญิงนี่ เขาก็ต้องมีหน้าที่ของเขานะ ไม่ใช่เพราะแรงกรรมอันนี้คนละเรื่อง อ้ายการเกิดมาเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายด้วยแรงกรรมอันนี้ มันเป็นเรื่องพลังอ่อนหรือพลังกล้านั่นเอง แต่ถ้าเป็นเทวดาในชั้นดุสิต
จุติมาอาจจะเป็นผู้หญิงก็ได้ อาจจะเป็นผู้ชายก็ได้ นั่นแล้วแต่หน้าที่ หรือที่เขากำหนดลงมาว่าเขาจะมาทำหน้าที่อะไร อ้ายนี่ไม่
เกี่ยวกัน ไม่เกี่ยวกับกรรมตัวนี้ คนละเรื่อง เมื่อเราได้รู้กันมาถึงภาวรูปทั้ง ๒ แล้ว ต่อไปก็จะนำมาให้รู้จัก หทยรูป อีกตัวหนึ่ง

ประเภทที่ ๕

๑๖. หทยรูป

         หทยรูป นี้หมายถึงน้ำเลี้ยงหัวใจซึ่งมีจำนวนประมาณ ๑ ซองมือซึ่งอยู่ภายในหัวใจ นั่นหทยรูป ในเรื่องนี้พวกเราอาจ จะพิสูจน์กันได้ ถ้าเราจะนึกว่าที่เราศึกษากันมาเดิมนั้น ว่ามหาภูตรูป ๔ เกิดนั้นน่ะ ขอให้พวกเราได้นึกย้อนหลังซึ่งเราเคยได้ พูดกันมาแล้ว ว่าที่เราเรียกกันว่า อุปาทายรูปน่ะ คือรูปทั้งหมดรูปปรมัตถ์มันมี ๒๘ รูป ส่วนมหาภูตรูป ๔ นี้มันเกิดขึ้นได้โดย ตัวของมันเอง ส่วนอุปาทายรูปอีก ๒๔ ตัวนั้นมันต้องอาศัยมหาภูตรูปเกิด ผมพูดแค่นี้พวกคุณจะนึกขึ้นได้หรือยัง ถ้านึกได้แล้ว เราก็จะทำความเข้าใจกันกับหทยรูปได้โดยง่าย เพราะอะไร เพราะว่าหทยรูปนี้มันเป็นตัว ๒๔ รูปเรียกว่าอุปทายรูปนั่นเอง เรา ได้ศึกษากันมาแล้วว่ามหาภูตรูป ๔ นั้นมันเกิดได้โดยพลังของมันเอง มันไม่ต้องอาศัยรูปอื่นเกิด แต่อ้ายรูปอีก ๒๔ ตัวนั้นมัน
ต้องอาศัยรูปอื่นเกิด เช่นเดียวกัน หทยรูปนี้มีนต้องอาศัยมหาภูตรูปเป็นแดนเกิด และเราต้องรู้ต่อไปว่า วิญญาณนั้นมันไม่ได้
เกิดขึ้น โดยพละของมันได้ มันต้องอาศัยหทยรูปเป็นแดนเกิดอีก เรื่องนี้เราพิสูจน์ได้ ถ้าพวกเราสนใจอาจจะเข้าสมาธิให้ถึง ฌานที่ ๓ น่ะ มีปีติเป็นตัวนำนั้น เราอย่าลืมว่าปีตินั้นมันเป็นเจตสิก แล้วเราจะต้องรู้ต่อไปว่าเจตสิกนั้นมันเกิดขึ้นพร้อมกับ
วิญญาณ เพราะว่า เจตสิกนี้มันเป็นเครื่องปรุงแต่งจิตให้เกิดขึ้นจิตหรือวิญญาณนี้ตัวเดียวกัน ในการทำสมาธิฌานที่ ๓ นี้ เราสามารถรู้ปีติอย่างแจ่มแจ้ง ท่านลองสาวปีติไปให้ถึงที่สุดว่าปีติมันเกิดมาจากไหน เราก็จะไปจะเอ๊ะเข้ากับหทยรูปนี่แหละ ซึ่งหทยวัตถุรูปมันก็อาศัยมหาภูตรูปนั่นอีกแหละ ทำไมผมถึงบอกว่าให้สาวปีติเจตสิกลงไป ก็เรารู้แล้วนี่ว่าปีติเจตสิกนั้นมันเป็น เครื่องปรุงแต่งจิต เราก็สาวลงไป มันก็ถึงที่ตั้งของจิตหรือวิญญาณ นั่นคือหทยรูปซึ่งเป็นแหล่งเกิดของวิญญาณนั่นเอง ซึ่งตาม ภาษาธรรมะทั่วไปเราเรียกว่า น้ำเลี้ยงหัวใจหรือหทยรูปนี้เราเรียกกันหลายชื่อ เรียกว่า หทยวัตถุ ก็ได้ หรือ หทยวัตถุรูป ก็ได้ มันเป็นรูป และก็มีมากสีด้วยกัน ถ้าเราทำเจริญวิปัสสนาในแง่ของสมถญาณิก โดยอาศัยสมถกัมมัฏฐาน ก็ได้แก่ฌานจิตที่เรา สามารถจะไต่ลงไปได้ง่ายๆ ก็มีพวกปีติตัวหนึ่ง สุขตัวหนึ่ง อ้ายนี่เราไต่ลงไปเถอะ แล้วเราจะพบหทยวัตถุรูปนี่เกิดขึ้นที่ตรงนั้น นั่นเป็นที่เกิดของวิญญาณ ถ้าเรามีปัญญาพิจารณาสักหน่อยในแง่ของสมถญาณิก หรือการทำวิปัสสนาโดยอาศัยสมถะเป็นมูล
ฐาน นั้นเรารู้จักนามได้ เราต้องรู้จักนามก่อน ถ้าเราทำจากสมถญาณิกรู้จักนามยังไง ก็องค์ฌานที่ปรากฏนั่นแหละ เมื่อสาว
องค์ฌาน ที่ปรากฏเข้าไปแล้ว เราก็จะพบรูป แต่ทั้งนี้เราทำได้เฉพาะที่อยู่สมาธิปรากฏเข้าไปแล้ว เราก็จะพบรูป แต่ทั้งนี้เรา
ทำได้เฉพาะ ที่อยู่ในสมาธิเท่านั้นนะ ถ้าเราออก เราก็ต้องมาฝึกสติกัน อย่างที่พวกเรากำลังทำกันอยู่นี่ คือ ฝึกตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เอาให้ มันชำนาญจริงๆ แล้วเราก็สามารถจะเจริญวิปัสสนาได้ตลอดเวลา ไม่ว่าเราจะทำงาน จะกิน จะเล่น จะพูด
อะไรๆ สติเกิดหมด เป็นวิปัสสนาหมด นี่เป็นกำไรของเรา นอกจากนี้ในเรื่องหทยรูปหรือหทยวัตถุรูปนี่ ถ้าบุคคลที่หนาไป
ด้วยราคจริต น้ำเลี้ยงหัว ใจก็สีแดง บุคคลที่หนาไปด้วยโทสจริต น้ำเลี้ยงหัวใจสีดำ และบุคคลที่หนาไปด้วยโมหจริต น้ำเลี้ยง
ก็หม่นเหมือนน้ำล้างเนื้อ พวกวิตกจริตนี้ น้ำเลี้ยงหัวใจเหมือนเยื่อถั่วพู เป็นยังไงไม่รู้ ผมไม่รู้ ท่านว่าไว้อย่างนั้น พวกศรัทธา
จริตนี่ น้ำเลี้ยงหัวใจสีเหลืองอ่อนคล้ายดอกกรรณิการ์ อ้ายนี่รู้ ส่วนพุทธจริตหรือปัญญาจริตนั้น น้ำเลี้ยงหัวใจสีขาว สีเหมือน สีแก้วใส นี่จากตัวนี้แหละ ถ้าเราฝึกฌานจิตประกอบอาโลกกสิณแล้ว เราก็สามารถจะมองดูได้ว่าเป็นอย่างไร นอกจากหทยรูป แล้ว ตัวต่อไปยังมีอีกตัวหนึ่งซึ่งเราจะต้องทำความรู้จักกันเสีย ในที่นี้คือ ชีวิตรูป

ประเภทที่ ๖ ชีวิตรูป

๑๗. ชีวิตรูป

         ชีวิตรูป นี่พวกเราอาจจะสงสัยว่าทำไมมาพูดเรื่องชีวิตรูป ก็คนเรานี้ สังเกตดูซิ เมื่อเรามีชีวิตอยู่นี่ร่างกายมันเป็น อย่างไร ฉะนั้นคำว่าชีวิตรูปนี้สำคัญนะ ในตัวของเราเองนี่ นอกจากทำไมมันทำหน้าที่รักษาสหชาตรูปเป็นลักษณะ อย่าลืมว่า คนเรานี่ถ้าไม่มีชีวิตรูปมาแล้ว ร่างกายมันไม่ทรงอยู่ มันไม่ทรงอยู่ มันแยกกันหมด เราสังเกตดูซิคนตายนี่เมื่อวิญญาณดับ ชีวิตรูปดับ ร่างกายเป็นยังไง เหม็นหึ่งไปเลย นี่เพราะว่าเรามีชีวิตรูปอยู่ เราถึงได้นั่งพูดเล่นเจรจาอยู่กันได้ แต่อ้ายตัวพูดเล่น
นี่ไม่ใช่ชีวิตรูปนะ ชีวิตรูปคุมให้เราทรงอยู่เท่านั้น เพื่อให้เป็นที่อาศัยของวิญญาณให้หทยวตถุ เพราะว่าชีวิตรูปนี่ รูปที่เกิดมา พร้อมกับกัมมชรูปแล้ว มันรักษาหมด ฉะนั้นเขาเรียกว่าสหชาตรูป ที่เกิดมาพร้อมกันมันต้องรักษาหมด คือรักษาทั้ง ๒๗ รูป ตัวของมันอีกตัวเป็นตัว ๒๘ นั่นเอง นอกจากนี้แล้วมีการธำรงไว้ซึ่งรูปเหล่านั้นเป็นกิจ เป็นหน้าที่ของมันเลย และมีการ
ประกอบให้มั่นอยู่เป็นผล มีมหาภูตรูปที่เสมอภาคกันเป็นเหตุใกล้ คนเรานี้ถ้าเราไม่มีชีวิตรูปอยู่แล้ว เมื่อเช้านี้เรายังเห็นๆ
อยู่นี่ พอตกบ่ายอาจจะกลมตะล่อมป้อมเป็นอะไรไปก็ไม่รู้ นี่ ฉะนั้นจำไว้นะ อ้ายชีวิตรูปนี่ แล้วก็ทำไมคนตายแล้วมันถึงได้เน่า และทำไมถ้าพวกเรานี่ฝึกไปอีกหน่อยเถอะ พอเราสามารถแยกรูปกับนามออกไปได้ ไม่มีวิญญาณอยู่ ทำไมรูปไม่เน่าล่ะ เพราะ ชีวิตรูปมันอยู่ อ้ายนี่อย่าสงสัย อ้ายที่เขาตายอึดกันไปแล้วน่ะ ชีวิตรูปมันหมดไป แต่ชีวิตรูปของเรายังอยู่ เพราะว่าตาม ธรรมะแล้วก็ รูปกับนามมันแยกออกจากกันได้ ฉะนั้นพวกเรานี่ คำว่า วิญญาณังอนันตังน่ะ ทำให้มันแก่กล้าขึ้นซี ถ้าออกกันไม่ ได้ก็ให้เหยียบผมเสียเลย ไม่ต้องกลัวหรอก การที่ผมบอกว่าชีวิตรูปรักษาสหชาตรูปอยู่ หมายความว่ารักษากัมมชรูปที่เกิดมา เท่านั้นนะ ไม่ใช่รูปอื่นนะ พูดกันเสียก่อน ต้องมีชีวิตรูปรักษา ถ้าไม่มีชีวิตรูปรักษาแล้ว อ้ายร่างกายมันก็แตกสลายไป สังเกตดู ซีคนเรานี่วิญญาณออกจากร่าง นี่คนตายจริงๆ นะ ไม่ใช่ถอดออกไปนะ ไม่เท่าไหร่หรอกอ้ายน้ำเลือด น้ำหนองเริ่มตก เริ่มขึ้น อึดแล้ว ไม่กี่วันหรอก สามวันหรือเท่าไหร่ ฉะนั้น ชีวิตรูปอยู่ต้องจำเอาไว้ต้องมีรูปที่เกิดจากกรรม จึงมีชีวิตรูปรักษาให้รูปนั้น คงอยู่ได้ ประเดี๋ยวก็ไปบอกว่าอ้ายต้นไม้นี่มีชีวิตนะ อย่าลืมว่าตันไม้มันไม่ได้เกิดจากกรรมนะ จำไว้ด้วย ประเดี๋ยวจะสงสัยกัน ใหญ่บอกว่าต้นไม้เป็นๆ นี่ยังมีชีวิตอยู่ ยุ่งกันใหญ่ละสิ แล้วถ้าคนไหนไม่รู้หน่อย บอกว่าดูซิพระท่านยังบัญญัติเป็นวินัยเลย ไม่ให้ทำลายพืชสีเขียวน่ะ เพราะว่ามันมีชีวิต ความจริงไม่ใช่มันคนละเรื่อง เพราะว่าเรื่องบัญญัติอันนั้นนี่เนื่องจากไปเหยียบ ย่ำข้าวปลาอาหารของเขาเข้า ท่านก็บัญญัติให้พืชภูตคามน่ะ สีเขียวน่ะ แล้วที่ตัดโค่นต้นไม้นั่นน่ะเพราะว่าไปตัดต้นไม้ที่เทวดา อาศัย ท่านไปฟ้องพระพุทธเจ้า ถึงได้บัญญัติสิกขาบทข้อนี้ขึ้น ไม่ใช่เรื่องต้นไม้มีชีวิตนะ พูดกันเสียก่อน ประเดี๋ยวยุ่งกันใหญ่ ฉะนั้น คำว่าชีวิตรูปนี้มันจึงเป็นรูปธรรม นอกจากนั้นถ้าเราได้ศึกษาต่อไป แล้วมันยังมี ชีวิตตินทรีย์ ซึ่งเป็นนามธรรมหรือ
เจตสิกอีกตัวหนึ่ง อ้ายนั่นคุมเจตสิก คุมนาม อ้ายนี่คุมรูป

         ตามที่ผมได้พูดมาวันนี้มันก็ยังไม่จบอีก ได้ไป ๑๗ ตัวเท่านั้นเอง ยังไม่ถึง ฉะนั้นก็ขอยุติไว้แค่นี้ก่อนเพราะว่าเทปมัน จะหมดแล้ว

จบเรื่องทำความรู้จักกับรูปธรรม ตอนที่ ๕