เรื่องทำความรู้จักกับรูปธรรม ตอนที่ ๖

มตฺตญฺญุตา สทา สาธุ
ความรู้จักประมาณ ยังประโยชน์ให้สำเร็จทุกเมื่อ

         พุทธภาษิตดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นธรรมตัวหนึ่งในสัปปุริสธรรม ๗ คือ การรู้จักประมาณ ไม่ว่าเราจะมีชีวิตในทางโลก หรือทางธรรมก็ดี ถ้าเรารู้จักประมาณแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างมันก็จะมีความราบรื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้จักประมาณในทางโลก
นั้น ความยุ่งยากของสังคมทุกวันนี้ สาเหตุมาจากการไม่รู้จักประมาณ ส่วนในทางธรรมนั้น การประพฤติปฏิบัติธรรมให้สมควร แก่ธรรมนั้น ความรู้จักประมาณนี้เป็นตัวหนึ่ง นั่นคือความไม่โลภในผลแห่งการปฏิบัติ แต่คนส่วนใหญ่นั้นจะทำอะไรลงไปก็แล้ว แต่ อย่างเช่นจะทำกามาวจรกุศล ก็หวังจะได้รับกุศลเป็นเอนกประการทั้งๆ ที่ ตนไม่ได้ทำทิฏฐุชุกรรมในเรื่องกามาวจรกุศลใน ประเภทนั้นๆ ว่า เราได้ประพฤติปฏิบัติหรือทำไปแล้วนั้นสมควรหรือไม่ประการใด อย่างประเภทพวกที่ทำทานเป็นต้น คิดว่า เราควักสตางค์ออกไปจากกระเป๋าแล้วคงจะได้บุญกุศล แต่ความจริงอาจจะได้บ้าง แต่มันไม่เป็นไปตามที่ตนปรารถนา ทั้งนี้ เพราะเหตุว่าตนไม่รู้ว่าทิฏฐุชุกรรม ในการสร้างกามาวจรกุศลแต่ละประเภทนั้นเป็นประการใด และนอกจากนั้นแล้ว ในระดับ รูปาวจรกุศล อรูปาวจรกุศล และโลกุตตรกุศลก็เช่นกัน ถ้าเราไม่รู้จักประมาณตัวของเราแล้ว เราสร้างด้วยความโลภ เห็นคน อื่นเขาทำมีปฏิเวธเกิดขึ้น เราก็เกิดมีมานะที่จะทำเช่นนั้นบ้าง สิ่งนี้ถือว่าไม่รู้จักประมาณ เพราะการประพฤติธรรมปฏิบัติธรรม ในพุทธศาสนานั้น ไม่ใช่เอาตัวมานะมาประพฤติปฏิบัติ เพราะตัวมานะนั้นเป็นอกุศลเจตสิก เป็นตัวหนึ่งในกิเลส ๑0 ตัว จึงไม่ สามารถที่จะประพฤติปฏิบัติให้สมความมุ่งมาดปรารถนา เพราะว่าอกุศลเจตสิกนัน้มันเป็นตัวที่มืด แต่เราสร้างกุศลนั้นเป็นตัว ความสว่าง เมื่อเราเอาความมืดมาปนความสว่างนั้น อ้ายความสว่างมันก็หายไป มันจะเกิดขึ้นไม่ได้ เหตุนี้แหละ เราจะสังเกต คนส่วนใหญ่ และถ้าคนไหนสนใจฟังวิทยุหลังจากเวลา ๔ ทุ่มล่วงไปแล้ว ที่เห็นผลของการโฆษณา ผลในการประพฤติปฏิบัติ ซึ่งรู้สึกแปลกว่าทำไมเขาไม่พิจารณากันในเรื่องของเหตุเขาทำแต่ในเรื่องของผล ทำให้เกิดมีความทะเยอทะยาน ทำให้เกิดโลภะ เกิดขึ้น ทำให้มานะเกิดขึ้น แล้วเช่นนี้การประพฤติปฏิบัติ ปฏิเวธมันจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ด้วยเหตุนี้แหละ มันจึงไม่มีผลในทาง ปฏิบัติส่วนมาก แม้แต่พวกเราบางคนที่ประพฤติปฏิบัติขั้นต้นได้มาแล้ว พอจะถึงขั้นต่อไป เราจะเห็นได้ว่าถ้าจิตของเราไม่มี ความสะอาดพอ ผลการประพฤติปฏิบัติในเรื่องนั้นๆ มันก็ไม่บังเกิดผล ทั้งนี้เพราะเหตุใด เพราะจิตของคนเรานั้นปกติมันเต็ม ไปด้วยกิเลส และในการที่จะนำจิตมาใช้งานในทางปฏิบัตินั้นมันต้องเป็นจิตที่อ่อน คำว่าจิตอ่อนนี้ไม่ได้หมายความถึงการอ่อน แอนะ หมายความว่าการอ่อนโยนในการใช้งาน คือ จิตนั้นจะทำหน้าที่แต่เพียงอย่างเดียว หน้าที่แต่เพียงอย่างเดียวนั้นก็คือ จิตได้รับการฝึกหัดนั้นก็คือ หน้าที่ที่หนึ่งเรียกว่า ในกุศลทาน นี่ ผู้ที่จิตเช่นนั้นมีหน้าที่อย่างเดียวเช่นนั้น เขาจะได้กุศลอย่าง เต็มเปี่ยม หน้าที่ประการที่สองก็คือหน้าที่เกี่ยวกับสมถนิมิต ซึ่งพวกเราบางคนกำลังทำอยู่นี้ แต่ถ้าจิตของเราไม่ทำหน้าที่อัน เดียวแล้ว ผลงานอันนั้นมันก็ไม่เกิดขึ้น หน้าที่อันที่ ๓ คือเกี่ยวกับจิตที่นำไปใช้การเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานในขั้นที่เป็น
วิปัสสนา อันแท้จริง นั่นคือ การเกิดและการดับของรูปนามในขั้นนั้น และจิตที่นำไปใช้งานอย่างเดียวอีกอันหนึ่งก็คือ การเห็น
แจ้งซึ่งการหลุดพ้น ฉะนั้นเราจะเห็นได้ว่า จิตนั้นถ้าไม่ได้รับการฝึกหัดให้มีความอ่อนสมควรแก่การงานแล้ว จะนำมาใช้ไม่ได้
เลย ปัญหาในเรื่องนี้เราจะเห็นได้ว่าผู้ที่ทำ ปฏิบัติโดยไม่หวังผลตอบแทน เมื่อมีหน้าที่ปฏิบัติก็ปฏิบัติไป คนประเภทนี้ผลจะเกิด ขึ้นกับเขาโดยไม่รู้สึกตัว นั่นคือเพราะว่าเขาทำจิตให้อ่อนและควรแก่การงาน และสามารถนำไปใช้ได้มากมายหลายประการ สิ่งเหล่านี้แหละโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกเราที่ทำในเรื่องนิมิตนั้น ถ้าพวกเราตัดเสียซึ่งความทะยานอยาก ความมานะความไม่รู้ จักประมาณตน เรามีหน้าที่อย่างไรเราก็ทำไป เราไม่ต้องมีจิตไปคิดอยากได้โน่นได้นี่ ความสำเร็จโน่นสำเร็จนี่ สิ่งนั้นอะไร คือตัวอุปทานนั่นเอง เพราะนิมิตที่เราปรากฏนั้นมันเป็นตัวขันธ์ขันธ์หนึ่ง เมื่อเรารู้แล้วว่ามันเป็นขันธ์ขันธ์หนึ่ง แล้วเราไปยึด มั่นถือมั่นทำไม เราก็พิจารณาให้มันเป็นสามัญลักษณะเสีย มันก็จบ ถ้าเราทำได้อย่างนี้ ความแก่กล้าของนิมิตที่สร้างขึ้นนั้น มันก็ทำได้ผล นี่ จากผลการประพฤติปฏิบัติกันจริงๆ สำหรับวันนี้เราจะได้พูดกันถึงเรื่องการรู้จักกับรูปธรรมกันต่อไป

ประเภทที่ ๗ อาหารรูป

๑๘. อาหารรูป

         เมื่อวันก่อนนั้นเราได้พูดกันถึงชีวิตรูปมาแล้ว ว่ามันลักษณะเป็นอย่างไร มีความสำคัญอย่างไร มันมีหน้าที่อย่างไร วันนี้เราจะได้พูดกันไปอีกตัวหนึ่งถึง อาหารรูป อาหารรูปในที่นี้หมายถึง กพฬีการาหาร คืออาหารรูป หมายถึงโอชาที่
อยู่ในอาหารต่างๆ ที่บุคคลและสัตว์ทั้งหลายบริโภคอาหารนั้นเข้าไป อาหารรูปนี้เป็นส่วนหนึ่งในอวินิพโภครูป ซึ่งอยู่ประจำ
ในร่างกายของเราแล้วนั้น อวินิพโภครูปนี้หมายถึงรูปซึ่งมันเกาะกลุ่มกันอยู่จำนวน ๘ ตัว ซึ่งผมได้เคยพูดกันไปแล้วว่า มันมี อาหารรูป มีวัณณรูป มีกลิ่น มีรส และมหาภูตรูป ๔ ประกอบอยู่ด้วย ซึ่งตามปกติแล้วมันจะไม่แยกออกจากกันต่ำกว่านี้ เพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันจะเกาะกลุ่มกันอยู่ อย่างเล็กที่สุดมันก็เรียกว่า อวินิพโภครูป การที่ร่างกายของเราทรงอยู่ได้นั้น ก็เพราะโอชาในอาหารหรือโอชาธาตุ ซึ่งได้รับการเกื้อหนุนจากอาหารรูปนี้ ซึ่งถ้าขาดอาหารนี้แล้ว รูปเหล่านั้นก็ถึงความ
พินาศ คำว่าถึงความพินาศในที่นี้หมายถึงชีวิตรูปดับไป ฉะนั้น สหชาตรูปที่เกิดขึ้นมาพร้อมกัน ซึ่งเราเรียกว่ากัมมชรูปนั้น มันก็จะแตกสลายไปด้วย ทีนี้ก่อนที่เราจะพูดกันถึงในเรื่องนี้แล้ว ใครจะชี้แจงให้พวกเราทุกคนได้รู้จักคำว่า อาหาร ในภาษา ธรรมะมันมีอยู่มากมายหลายประการ ไม่เหมือนอาหารที่เรากินเข้าไปอยู่ทุกๆ วันนี้ อาหารตามภาษาธรรมะนั้นแบ่งออกเป็น
๔ ประเภท

         ประเภทที่หนึ่งเรียกว่า กพฬีการาหาร คืออาหารธรรมดาที่เรากินๆ เข้าไปอยู่นี่ บางทีเราก็เรียกว่า กพฬีการาหาร นี่พวกหนึ่ง
         อีกพวกหนึ่งเรียกว่า ผัสสาหาร อันนี้นำมาซึ่งเวทนา
         อีกตัวหนึ่งเรียกว่า มโนสัญเจตนาหาร 
         อีกตัวหนึ่งเรียกว่า วิญญาณาหาร

         ก. กพฬีการาหาร อาหารเหล่านี้ ที่พูดมานี้ พวกเราบางคนอาจไม่เคยได้ยินมาก่อน คำว่าอาหารนั้น เราต้องรู้
เสียก่อนว่าตามภาษาธรรมะ หมายถึงธรรมชาติที่เป็นเหตุอุดหนุนหรือส่งเสริมให้เกิดผล ธรรมนั้นมีชื่อว่าอาหารทั้งสิ้น ธรรมใด นำมาซึ่งรูปอันเกิดจากโอชา นำมาซึ่งเวทนา นำมาซึ่งปฏิสนธิวิญญาณ และนำมาซึ่งเจตสิกกับกัมมชรูป สิ่งนั้นเรียกว่าอาหาร ทั้งสิ้น จากคำจำกัดความอันนี้แหละ อาหารจึงจำแนกออกเป็น ๔ ประเภทตามที่ผมบอกมาเมื่อกี้นี้ ในขั้นต้น เราจะต้องทำ ความรู้จักกับกพฬีการาหาร ซึ่งนำรูปอันเป็นโอชะเกิดขึ้นนั้น ก็ได้แก่อาหารที่เรากินเข้าไปทุกวันๆ นี้ พวกข้าวปลาอาหาร
นมเนย อะไรต่างๆ นี่ ทำให้เกิดอาหาร สุทธัฏฐถกลาป ในมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายถือว่าเป็นอาหารแห่งรูปกายของสัตว์
เพราะว่ามันทำหน้าที่หล่อเลี้ยงและทำความเจริญขึ้นให้แก่ร่างกายของสัตว์ ถ้าขาดอาหารตัวนี้เสีย ร่างกายของสัตว์ก็
จะทนอยู่ไม่ได้ และก็จะพังพินาศไปในที่สุด องค์ของกพฬีการาหาร ก็หมายถึงอาหารรูปที่เรากำลังพูดกันอยู่ตัวนี้แหละ

         ข. ผัสสาหาร ผัสสาหารนี่นำมาซึ่งเวทนา ๓ เวทนา ๓ นี้ก็ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอุเบกขาเวทนา เราได้ บอกกันมาแล้วตั้งแต่ต้นว่า ธรรมใดที่นำมาซึ่งรูปอันเกิดจากโอชา ๑ นำมาซึ่งเวทนา ๑ นำมาซึ่งปฏิสนธิวิญญาณ ๑ และนำซึ่ง เจตสิกและกัมมชรูป ๑ เราเรียกว่าอาหาร ผัสสาหารตัวนี้แหละที่พวกเราทำการแจกจ่ายกัน ผัสสาหารนี้เป็นตัวนำมาซึ่งเวทนา คือการเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง ซึ่งเราเรียกว่าอุเบกขา ให้เกิดขึ้นองค์ธรรมของผัสสาหารก็ ได้แก่ ผัสสเจตสิก ซึ่งเป็นเจตสิกตัวกลางๆ ไปทางขวาก็ได้ ไปทางซ้ายก็ได้ ซึ่งเกิดในจิตทั้งหมด และเวทนาทั้งหลาย ถ้าไม่มี ผัสสะแล้วก็เกิดขึ้นไม่ได้ และตัวผัสสะนี้แหละเป็นตัวที่ทำให้เกิดเวทนา เราจึงเรียกว่าผัสสหาร หรือเป็นอาหารของเวทนา ให้เกิดขึ้น พูดมาเพียงแค่นี้พวกเรานึกได้หรือยัง เวลาเราแผ่กุศลผลบุญให้แก่อมนุษย์หรือมนุษย์ทั้งหลาย ก็คือเราให้ผัสสาหาร ตัวนี้แก่เขานั่นเอง เพราะว่าอมนุษย์ทั้งหลายไม่ว่า เปรต อสุรกาย หรือเทวดา อะไรต่างๆ พวกนี้เขาไม่ได้กินอาหาร ไม่ได้กิน กพฬีการาหาร เหมือนอย่างเรา แต่เขากินบุญกินกุศล นั่นคือผัสสะ ผัสสาหารคือธรรมเป็นตัวกระทบที่ทำให้เขาได้รับความสุข ที่ผมพูดมานี้พวกเราอาจสงสัย ถ้าผู้ใดสงสัย เร่งสร้างนิมิตของตัวให้แก่กล้า แล้วเราก็จะมีสักครั้งหนึ่งหรอก เวลาที่เราแผ่ส่วน กุศลผลบุญให้แก่อมุนษย์ที่ยังอยู่ในประเภทอสุรกายก็ดี หรือเทวดาชั้นต่ำๆ ก็ดี ถ้าเราแผ่ให้เขาแล้วนี่ พอแผ่ไปปุ๊บนี่ ความเปล่ง ปลั่ง ความสุขสบาย จะเกิดขึ้นกับเขาทันที นี่แหละ เท่ากับเราให้อาหารเขา ถ้าเราเป็นมนุษย์เวลาเราหิวโหยเหลือเกิน ถ้าเรา ได้รับ กพฬีการาหาร คือเอาขนมนมเนยมากินแล้วมันก็อิ่ม นั่น พวกอมนุษย์ก็เช่นนั้น เพราะว่าเขาไม่ได้กินของหยาบๆ เหมือนอย่างเรา เขากินผัสสะคือเวทนานั่นเอง เพราะว่าทุกๆ คนก็อยากมีความสุข ไม่อยากมีความทุกข์ นี่ตัวนี้

         ค. มโนสัญเจตนาหาร ตัวนี้นำมาซึ่งปฏิสนธิวิญญาณ พูดกันทำไมมีล่ะ มันก็คือกรรมที่นำมาให้ผลก่อนนั่นเองแหละ คือตัวชนกกรรมนั่นเอง แล้วแต่ซี ว่าเราจะทำกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมเอาไว้ ใน ๓๑ ภพภูมินี่ เราจะหนีไปเกิดนอกจากนี้
ไม่ได้ ถ้าเรายังไม่ได้ทำลายกิเลสให้หมดสิ้นไป ยังไงๆ เราจะทำชั่วจะทำดียังไง มันก็ต้องอยู่ในวนเวียนอยู่ใน ๓๑ ภพภูมินี่แหละ คำว่า ๓๑ ภพภูมินี่ พวกเราอาจจะไม่เข้าใจ ซึ่งหมายถึงทุคติภูมิ ๔ ได้แก่ สัตว์นรก ๑ เปรต ๑ อสุรกาย ๑ และเดรัจฉาน ๑ เรียกว่าทุคติภูมิ ๔ ส่วนสุคติภูมินั้นมันได้แก่ มนุษย์อย่างพวกเราหนึ่ง เทวดาตั้งแต่ชั้น ๑ ถึงชั้น ๖ จำแนกให้ละเอียดไป สุคติ ภูมินี้เรียกว่า กามภูมิ ซึ่งได้แก่พวกเรานี่และเทวดาทั้ง ๖ ชั้น ทำไมถึงยังเรียกว่ากามภูมิ เพราะว่าพวกนี้ยังติดอยู่ในวัตถุกาม ๕ คำว่าวัตถุกาม ๕ ก็หมายความว่ายังติดอยู่ในเรื่องรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส นั่นเอง นอกจากนี้แล้วในสุคติภูมิ นี้ก็มีรูปภูมิอีก
๑๖ ชั้น คือรูปพรหมนั่นเอง และอรูปพรหมอีก ๔ ชั้น นี่ ตัวนี้จะได้มาอย่างไร ได้มาโดยมโนสัญเจตนาหาร คือเป็นตัวที่ทำให้ ปฏิสนธิวิญญาณเกิดขึ้น ได้แก่อะไร ได้แก่อกุศลจิต ๑๒ ดวงซึ่งได้แก่ โลภมูลจิต ๘ โทสมูลจิต ๒ โมหมูลจิต ๒ นี่ทางฝ่ายชั่ว แล้วก็ได้แก่ โลกียกุศล ๑๗ นี่ พวกนี้ เราต้องเข้าใจว่าตัวนี้แหละ ที่เป็นตัวทำให้ชนกกรรม คือการกำหนดให้เราเกิดในภพภูมิ ไหน เราเรียกว่า มโนสัญเจตนาหาร

         ง. วิญญาณาหาร อันนี้หมายถึงเจตสิกและกัมมชรูปที่ประกอบกันขึ้น องค์ธรรมของวิญญาณาหารก็ได้แก่จิตทั้งหมด คือจิตทั้งหมด ๘๙ ดวง หรือ ๑๒๑ ดวงนั่น ถ้าเรานับอย่างละเอียดก็เป็น ๑๒๑ ถ้าเรานับตามปกติก็เป็น ๘๙ ดวง เพราะเหตุไร เพราะจิตและเจตสิกนี่มันเป็นของคู่กัน จากความรู้อันนี้ ถ้าพวกเราสนใจอยากจะรู้ ใคร่ที่จะทำแปลงสมถะให้เป็นวิปัสสนานั้น เราก็สามารถจะทำได้โดยเข้าไปอยู่ในฌานระดับที่มีองค์ฌานที่ปรากฏชัด องค์ฌานที่ปรากฏชัดก็ได้แก่ ฌาน ๓ ซึ่งปรากฏตัว ปีติอยู่ และฌาน ๔ ซึ่งปรากฏตัวสุขอยู่ได้อย่างชัดแจ้ง สุขนั้นเรียกว่าเวทนาขันธ์ และปีตินั้นเรียกว่าสังขารขันธ์ ซึ่งมันก็เป็น เจตสิกด้วยกันทั้งคู่ ก็เมื่อเรารู้แล้วนี่ว่าเจตสิกนั้นมันต้องเกิดพร้อมกับจิต ถ้าเราสาวปีติให้ไปถึงที่สุด หรือสาวสุขเข้าไปถึงที่สุด เราก็จะพบที่ตั้งแห่งการเกิดของจิตเรียกว่า หทยวัตถุรูป เราก็จะได้รูปเพราะว่า สุขก็ดี ปีติก็ดี มันเป็นนามธรรมอยู่แล้ว เพราะ ว่ามันเป็นสังขารขันธ์หรือเวทนาขันธ์ นี่ จากที่เราสาวไป ๒ ตัวนี้ แล้วเราก็มาพิจารณาความจริงที่เราสาวได้นั้น เราก็จะแล เห็นไตรลักษณ์ของรูปและนาม ซึ่งเรื่องเหล่านี้เรายังไม่ได้นำมาพูดกันให้ละเอียด เพราะว่าเวลานี้เราเพียงจะทำความรู้จักกัน กับรูปเสียก่อน เพราะว่าถ้าเราไม่รู้จักแต่ละตัวว่าอะไรมันเป็นรูป เพราะว่ารูปนั้น ในรูปปรมัตถ์ที่เราจะต้องนำมาให้สติรู้จักนั้น มันมีเพียง ๒๘ ตัวเท่านั้น

         สำหรับอาหารรูปนี้ เราก็ควรจะได้รู้ความสำคัญของมันต่อไปว่า มีอะไรเป็นตัวสำคัญ คือมีการทำให้รูปเจริญเป็น ลักษณะของอาหารรูป มีการธำรงไว้ซึ่งรูปเป็นกิจ หรือหน้าที่ มีการอุดหนุนไว้ซึ่งรูปกายเป็นผลปรากฏ มีอาหารที่ควรแก่ การบริโภคเป็นเหตุใกล้ ฉะนั้นอาหารรูปในที่นี้เราจึงหมายถึง กพฬีการาหาร หมายถึงอาหารโอชะที่อยู่ในอาหารต่างๆ ที่เราบริโภคเข้าไปทุกวันๆ นี้ เราจะต้องรู้จัก

         ที่เรากล่าวกันมาตั้งแต่ต้น ตั้งแต่มหาภูตรูป ๔ ก็ดี และปสาทรูป ๕ ซึ่งได้แก่ จักขุปสาทรูป โสตปสาทรูป ฆานปสาท
รูป ชิวหาปสาทรูป กายปสาทรูป และวิสยรูปหรือโคจรรูป ๔ ได้แก่ วัณณรูปคือสี สัททรูปคือเสียง คันธรูปคือกลิ่น รสรูปคือรส และภาวรูป คือ อิตถีภาวรูปและปุริสภาวะรูป นอกจากนั้นก็มีหทยรูป และ ชีวิตรูป มาถึงก็ อาหารรูป ตัวนี้ซึ่งเป็นตัวสุดท้าย รวมกันทั้งหมด ๑๘ รูป รูปอันนี้แหละที่เราเรียกว่า นิปผันนรูป นิปผันนรูปนี้เป็นรูปที่ยืนอยู่ด้วยตัวของมันเอง และนิปปผันรูป
๑๘ ตัวนี่แหละ ขอให้พวกเราจำไว้ให้ดี ทั้ง ๑๘ ตัวนี้ เรานำมาใช้ในการพิจารณาถึงสามัญลักษณะของมันและเราจะพบเห็นได้ บ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมหาภูตรูป ๔ กับปสาทรูป ๕ และโคจรรูปอีก ๔ นั้นเป็นเรื่องสำคัญ เพราะว่ามันอยู่ในชีวิตประจำ วันของเรา เราจำเป็นต้องทำความรู้จักกับมันให้ดี ถ้าเราไม่สามารถจะจำรูปทั้ง ๑๘ รูปนี้ได้แล้ว ก็เป็นการที่ยากที่เราจะจำรูป
ทั้ง ๑๘ รูปที่เป็นนิปผันนรูปตามที่ผมกล่าวมาแล้วข้างต้นได้ เราก็เรียกว่าเกือบจะไม่มีโอกาสที่จะเจริญโลกุตตรกุศลได้ ทีนี้ยัง เหลือรูปอีก ๑0 รูป ซึ่งเป็นรูปที่เรียกว่า อนิปผันนรูป คือเป็นรูปที่ต้องอาศัยนิปผันนรูป มีอยู่ ๑0 ตัว ซึ่งผมจะกล่าวให้พวก เราฟังคร่าวๆ เพื่อเป็นความรู้ อ้ายนี่ไม่ใช่ความจำ

ประเภทที่ ๘ ปริจเฉทรูป

๑๙. ปริจเฉทรูป

         ปริเฉทรูป หมายถึงมีการคั่นไว้ซึ่งรูปกลาปเป็นลักษณะ มีการแสดงส่วนของรูปเป็นกิจ มีการจำแนกซึ่งรูปเป็นผล มีรูปที่คั่นไว้เป็นเหตุใกล้ จากคำจำกัดความอันนี้เราจะเห็นได้ว่าปริจเฉทรูป นี้เป็นช่องว่างระหว่างรูปต่อรูป ระหว่างกลาป ต่อกลาป มีได้ทั้งในสิ่งที่มีวิญญาณและไม่มีวิญญาณ ถ้าเรายังสงสัย ฟันของเรานี่มันแต่ละซี่ อ้ายที่ฟันมันไม่ติดกันนี่เราเรียกว่า ปริจเฉทรูป หรือในท้องเรานี่ หัวใจทางหนึ่ง ปอดทางหนึ่ง กระเพาะทางหนึ่ง อ้ายชื่อว่างมันนั่นน่ะเราเรียกว่า ปริจเฉทรูป

ประเภทที่ ๙ วิญญัตติรูป

๒0. กายวิญญัตติรูป

๒๑. วจีวิญญัติรูป

         นอกจากปริจเฉทรูปแล้วมันยังมี วิญญัตติรูป อีก ๒ วิญญัตติรูปนี้ตามปกติเราไม่สามารถจะรู้ได้ทางทวาร ๕ รู้ได้
ทางเดียวคือมโนทวารทางอื่นไม่รู้ วิญญัตติรูปนี้หมายถึงการแสดงออกมีอยู่ ๒ รูปด้วยกันคือ กายวิญญัตติรูปหนึ่ง และ
วจีวิญญัตติรูปหนึ่ง ตามภาษาธรรมะท่านกล่าวไว้ว่ารูปใดที่ทำให้ผู้อื่นรู้ถึงความประสงค์ รูปนั้นเรียกว่าวิญญัตติรูป สำหรับ
วิญญัตติรูปนี้ถ้าจะ แปลกันตามตัวก็แปลว่าการไหวกายหรือไหววาจานั่นเอง เมื่อเรารู้ถึงคำจำกัดความเช่นนี้แล้ว ประการ
แรกเราควรจะได้รู้จัก คำว่ากายวิญญัตติรูป เสียก่อนหมายถึงอะไร

         กายวิญญัตติรูป นี่มีการแสดงให้รู้ถึงความหมายเป็นลักษณะ มีการแสดงซึ่งความหมายเป็นกิจหรือหน้าที่ มีการ
ไหวกายเป็นผล มีวาโยธาตุของจิตสมุฏฐานเป็นเหตุใกล้

         ส่วน วจีวิญญัตติรูป นั้นมีการแสดงออกให้รู้ซึ่งความหมายเป็นลักษณะ มีการแสดงซึ่งความหมายเป็นกิจ มีการกล่าววาจาเป็นผล มีปฐวีธาตุของจิตสมุฏฐานเป็นเหตุใกล้

         เพียงผมกล่าวมาแค่นี้ ผมว่าพวกเราอาจสงสัย และไม่ใช่แต่เฉพาะพวกเราเท่านั้น เราจะเห็นได้ว่าเวลาเขาเจริญ วิปัสสนากันตามมหาสติปักฐาน ๔ ในอริยาบถบรรพะ ซึ่งหมายถึงอิริยาบถเดิน ยืน นั่ง นอน เขาสอนกันว่าอย่างไร เขาสอนว่า รูปยืน รูปนั่ง รูปนอน มีที่ไหน รูปรมัตถ์มี ๒๘ ไม่มี การเดิน ยืน นั่ง นอน เป็นอิริยาบถ ไม่ใช่รูป และถ้าเราจะนำเอากาย วิญญัตติรูปหรือวจีวิญญัตติรูป เราก็ไม่รู้ เอ้าขอที เราพิสูจน์กัน เวลานี้พวกเราไม่รู้เลย ความจริงที่ปรากฏที่เรารู้นั้นมันไม่ใช่ รูปนั่ง แต่เราหมายถึงมหาภูตรูป ๔ ขณะที่เรานั่ง ก้นเรากระทบกับเก้าอี้หรือพื้น นั่นคือ ความแข็งหรือความอ่อน เกิดจาก
สัมผัส นั่นคือรูปดิน ไม่ใช่รูปนั่ง ในเมื่อเราเดิน เท้าเรากระทบพื้น รู้ยังไง รู้ความแข็งหรือความอ่อนของพื้นที่เรากระทบ นั่นก็ คือดินอีก และที่เราก้าวออกไป เดินหรือไม่เดินเราไม่รู้ รู้ได้ทางเดียวทางมโนทวารเท่านั้น เหตุนี้แหละ ถ้าเราไปเจริญโลกุตตร กุศล มัวจะนับรูปยืน รูปเดิน รูปนั่ง รูปนอน จบอย่าทำต่อไปเลย เพราะว่าหลักการในการรู้ความจริงที่ปรากฏจากสตินั้น เป็น การรู้ในปรมัตถธรรม ปรมัตถธรรมเราเรียนกันมาแล้ว เราพูดมาแล้วว่ามีอยู่ ๔ ตัว คือ จิต ๘๙ รูป ๒๘ และเจตสิก ๕๒ อีก ตัวหนึ่งตัดทิ้งได้คือ นิพพาน เท่านี้ การศึกษาโลกุตตรธรรมต้องรู้แค่นี้เท่านั้น แต่ที้นี้การที่เราจะรู้จักความจริงนั้น เขาก็ คือ ไม่รู้จริงๆ มันก็กลายเป็นรูปนั่ง รูปยืน รูปเดิน รูปนอน ล่อกันยุ่ง เอาที่ไหนพระพุทธเจ้าไม่ได้สอนไว้เช่นนี้ เชื่อหรือยังว่ากาย วิญญัตติก็ดี วจีวิญญัตติก็ดี เรารู้ไม่ได้ เอาละ ผมนั่งอยู่นี่ ผมเห็นพวกคุณนั่ง ไม่ใช่รูปนั่งอีกแหละ ผมเห็นแต่วัณณรูป เพราะว่า ตากระทบกับสีเท่านั้น นี่ มันเป็นสีเท่านั้น ฉะนั้นจำไว้ให้ดีนะ ว่าวิญญัตติรูปนี้ไม่สามารถรู้ได้จากวิญญาณทั้ง ๕ รู้ได้ทางเดียว เท่านั้นทางมโนทวาร ฉะนั้นรูปซึ่งพวกเป็นอนิปผันนรูปนี้ เราจึงไม่นำมาพิจารณาในการปฏิบัติทางโลกุตตรกุศลในขั้นต้นๆ เพราะว่ามันเป็นการยากลำบากแก่การรู้นัก นอกจากปริจเฉทรูปและวิญญัตติรูป ซึ่งมีกายวิญญัตติและวจีวิญญัตติแล้ว ต่อมา เราก็มาทำการรู้จักกับ วิการรูป อีกตัวหนึ่ง

ประเภทที่ ๑0 วิการรูป

         วิการรูป นี้ หมายถึงอาการพิเศษของรูป อ้ายสิ่งเหล่านี้เราก็ไม่สามารถที่จะนำมาพิจารณาในทางโลกุตตรกุศลในขั้น
ต้นได้เช่นเดียวกัน วิการรูปแบ่งออกเป็น ๓ รูปด้วยกันคือ

๒๒. ลหุตารูป

         ๑. ลหุตารูป ลหุตารูปนี่มีความเบาเป็นลักษณะ มีการทำลายความหนักของรูปเป็นกิจ มีการทำให้ว่องไวเป็นผล มีรูป ที่เบาเป็นเหตุใกล้ ฟังให้ดี อันนี้เราไม่สามารถที่จะรู้ได้เหมือนกัน ทางทวาร ๕ เราไม่มีโอกาสที่จะรู้ถึงวิการรูปได้เลย รูปตัวนี้ แหละ ลหุตารูปนี่แหละ เอาละถ้าพวกคุณไม่มีลหุตารูปแล้ว คุณก็กองแปะอยู่กับพื้นเท่านั้นเอง ไม่สามารถที่จะลุกขึ้นไปได้ เพราะอะไร เพราะรูปกายของเรานั้นประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ คนหนึ่งๆ มีน้ำหนักเท่าไหร่ ตั้งหลายสิบกิโล ถ้าเราไม่มีลหุตา รูปมาทำให้รูปนั้นเบาไปแล้ว เราลุกขึ้นเดินไม่ไหว หรือ ยกแขนก็ไม่ไหว ในเรื่องนี้ผมจะชี้ให้ดูเห็นเป็นตัวอย่าง ทำไม ตัวคน เรานี่คนละกี่กิโล แต่ทำไมเรานึกจะยืนเราก็ยืน นึกจะเดินเราก็เดิน นึกจะนั่งเราก็นั่ง นึกจะนอนเราก็นอน แต่ขณะเดียวกันที่ น้ำหนักของคนอื่นเท่าๆ กับเรานี่ ก็เราไปแบกเขาซี่ ไปอุ้มเขาเข้าซี ย่ำแย่แทบไม่ไหว เพราะเหตุไร เพราะลหุตารูป นั้นมัน มีอยู่ที่ในตัวเรา แต่มันไม่ได้สัมพันธ์กับตัวคนอื่นเขา นี่มันเป็นอย่างนี้ นี่เป็นความหมายของลหุตารูป

๒๓. มุทุตารูป

         ทีนี้มาถึงตัวที่ ๒ คือ มุทุตารูป มุทุตารูปนี้ก็มีความอ่อนเป็นลักษณะ มีการทำลายความกระด้างของรูปเป็นกิจหรือ
หน้าที่ มีการไม่ขัดแย้งต่อกิจทั่วไปเป็นผล มีรูปที่อ่อนเป็นเหตุใกล้ เอาละ เรามาพูดกัน พวกเราบางคนอาจจะเห็นคนบางคน
นี่ อ้ายที่เส้นสายจับยึดตัว อ้ายมืองอไม่เข้า แขนเหยียดไม่ออกนี่ มันมีลักษณะเป็นอย่างไร หรือเราจะเห็นหนังการ์ตูนนี่ อ้าย พวกหุ่นน่ะ อะไรมันก็ไปทื่อๆ ไปโดนอะไรเข้านั่น เพราะมันไม่มีมุทุตารูป แต่ตัวเรานี่มีมุทุตารูป เราจะเอื้อมมือไปหยิบแก้ว ไปเปิบข้าว มือเราก็อ่อนไหวไปตามส่วนที่เราต้องการจะหยิบจะจับ แต่ถ้าเราไม่มีมุทุตารูปแล้วมันจะไม่เป็นเช่นนั้น มันจะ
กระด้างกระดกกระดนโด่ไป ใช้ไม่ได้เลย หลับตามองดูให้ดี มันก็คล้ายๆ กับหุ่นยนต์นั่นเองแหละ หุ่นยนต์นั่นมันไม่มีมุทุตารูป นี่เป็นรูปที่อาการพิเศษของรูปตัวที่ ๒ นะ จำไว้

๒๔. กัมมัญญตารูป

         กัมมัญญตารูป คืออะไร มีการควรเป็นลักษณะ มีการทำลายการไม่ควรเป็นกิจ มีการทรงไว้ซึ่งพลังเป็นผล มีรูปที่
ควรเป็นเหตุใกล้ ผมพูดมาแค่นี้ พวกเราอาจจะยังไม่เข้าใจคำว่ามีการควรเป็นลักษณะ สมมุติว่าถ้าเราไม่มีกัมมัญญตารูป
แล้ว เราจะยกของหนักๆ ยกไม่ได้ เวลาเราจะยก สมมุติว่าเรายกก้อนหินสักก้อนหนึ่ง เราคงจะไม่ใช้หยิบก้อนหิน เราคงจะ ใช้มือโอบเข้าไปใต้ก้อนหินนั้นๆ แล้วก็ยกขึ้น การที่เราใช้มือโอบเข้าไปใต้หินนี้แหละ เรียกว่า มีการควรเป็นลักษณะ แล้วแต่ ลักษณะของของที่เราหยิบ จะยก จะใช้อะไรนั่น อันหนึ่งนะ ลักษณะนะ มีการทำลายการไม่ควรเป็นหน้าที่ นี่ถ้าเรามันไม่มี กัมมัญญตารูป อ้ายที่เราไปนั่น แทนที่มันจะโอบไปใต้ก้อนหินนั้น มันก็ไม่โอบ มันก็แข็งทื่อไป ยกขึ้นมาอ้ายหินมันก็หลุดออก
ไป นี่เห็นไหม สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์ แต่พระองค์ตรัสไว้เมื่อ ๒,000 กว่าปีก่อนมาแล้ว เดี๋ยวนี้ก็
นำมาเข้ากับหลักวิทยาศาสตร์กันได้โดยไม่ขัดกันเลย และประการที่ ๓ มีการทรงไว้ซึ่งพลังเป็นผล ดูซิทำไมพระองค์ถึงได้
ตรัสอย่างนี้ เห็นไหม เพียงจะหยิบอะไรของอะไรขึ้นมาหน่อย ท่านแยกออกมาได้หมด และมีรูปที่ควรเป็นเหตุใกล้ ทำไม
ถึงใช้คำว่ารูปที่ควร ก็คุณลองอุตริยกภูเขาทั้งลูกมันยกไหวไหม อันนั้นไม่ใช่รูปที่ควรน่ะซิ รูปที่ควรมันหมายความว่าควร
พอแก่กำลังที่เราจะยก และขอให้พวกเราจำไว้ให้ดีว่าวิการรูปนี้เมื่อมันเกิด มันจะต้องเกิดขึ้นพร้อมกันทั้ง ๓ รูป คือลหุตารูป มุทุตารูป และกัมมัญญตารูป ต้องเกิดขึ้นพร้อมกัน เห็นไหม นี่เป็นรื่องรูปในเรื่องของวิการรูป

ประเภทที่ ๑๑ ลักขณรูป

         นอกจากนั้นแล้วยังมี ลักขณรูป อีกตัวหนึ่ง ซึ่งหมายถึงรูปที่มีกาลเวลาเป็นที่กำหนดในการชี้ขาด พอผมพูดขึ้นมา
นี้ พวกเราบางคนอาจจะเข้าใจก็ได้ รูปอะไรมีกาลเวลาเป็นเครื่องชี้ขาด

๒๕. อุปจยรูป

         อุปจยรูป อุปจยรูปหมายถึงอะไร รูปที่เกิดขึ้นขณะแรกหรือการสั่งสมรูปที่เป็นปฐมในปฏิสนธิกาลนั่นเอง คนเราเมื่อ
เกิด อุปจยรูป นี่มันเกิดขึ้นแล้วเป็นรูปแรก ดังนั้นอุปจยรูปจึงมีรายละเอียดประกอบดังนี้ คือ มีการแรกเกิดเป็นลักษณะ จำให้ดีนะตัวนี้สำคัญนะ มีการทำให้บรรดารูปได้เกิดเป็นกิจ มีสภาพที่บริบูรณ์ของรูปเป็นผล มีรูปที่กำลังจะเกิดเป็นเหตุใกล้ เห็นไหม ถ้าเราอยู่ในท้อง เราเรียกอุปจยรูปเมื่อมีการตั้งครรภ์ แต่ถ้าเมื่อเราคลอด ก็มีอุปจยรูปที่ร้องอุแว้ออกมานั่นแหละเป็น ตัวแรกเกิด มีความสมบูรณ์ของรูป คือความสมบูรณ์ของรูปหมายถึงรูป ๒๘ ที่เราพูดกันมาแล้ว ตัวที่หนึ่งนะ ตัวที่หนึ่งนะจำไว้

๒๖. สันตติรูป

         สันตติรูป หมายถึงรูปที่เจริญหรือขยายตัว เป็นการสืบต่อแห่งรูป ถ้าในท้องเมื่อตั้งครรภ์ เราจะเห็นว่าพอมันโตขึ้นๆ นั่นเป็นสันตติรูปที่อยู่ข้างใน ถ้าอุปจยรูปเกิดขึ้น เราเลี้ยงต่อไปๆ สันตติรูปมันบังเกิด ขึ้นคือความเจริญเติบโตนั่นเอง โดยมี
การเจริญอยู่เป็นลักษณะ ใช้คำว่าเจริญอยู่นะ ตราบใดที่ยังมีการเจริญอยู่นี่ต้องเป็นสันตติรูป มีการสืบต่อเป็นกิจ มีการไม่ขาด จากกันเป็นผล และมีรูปที่ยังให้ต่อเนื่องกันเป็นเหตุใกล้ นึกดูให้ดีนะ ตั้งแต่เราจำความได้จนถึงบัดนี้ เป็นหน้าที่ของสันตติรูป ที่เราเจริญเติบโตกันมา ผมไม่รู้นะ ทางวิชาแพทย์นี่อ้ายการเจริญนี้มันเจริญถึงที่สุดอายุกันเท่าไร ผมไม่รู้ แต่ถ้าพูดตาม กฏหมายยี่สิบ แต่ทางแพทย์ผมไม่รู้ แต่ทางธรรมคือว่าเมื่อมันเจริญอยู่ต้องเป็นสันตติรูป

๒๗. ชรตารูป

         ชรตารูป เอาละซี อย่างผมอย่างนี้แหละ หมายถึงความเสื่อมของรูปเป็นลักษณะ เห็นไหม พวกคุณยังไม่รู้หรอก พอฟันหัก ผมหงอก หนังเหี่ยว รู้ละ ชรตารูปเกิดละเกิดละ ทีนี้มีการนำไปซึ่งความเสื่อมเป็นกิจ มีสภาพที่ไม่เกิดใหม่เป็นผล มีไหม คนหัวหงอกแล้วผมโผล่ขึ้นมาอีกแล้วจะเป็นผมดำ มีไหม ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าบอกไว้แล้ว ๒,๕00 กว่าปีไปแล้ว มี รูปที่เสื่อมเป็นเหตุใกล้ เห็นไหมล่ะ หนังเหี่ยวหย่อนยาน หัวสั่นหัวคลอน นี่เป็นลักขณรูปตัวที่ ๓

๒๘. อนิจจตารูป

         อนิจจตารูป มีการเสื่อมเป็นลักษณะ มีการจมดิ่งเป็นกิจ มีการสูญหายเป็นผล มีรูปที่แตกดับเป็นเหตุใกล้ ตาย
ละซี เห็นไหมสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจำแนกเราเอาไว้ ตั้งแต่ตั้งครรภ์จนถึงมีชีวิตอยู่และตายจากไป รวมกันทั้งหมดมี ๒๘ รูป เรียกว่าปรมัตถ์รูป ๒๘ รูป นี่แหละที่จะทำให้เราได้พ้นจากวัฏฏะไปได้ เรา จะต้องจดจำต้องศึกษา ต้องทำความเข้าใจ ต้องแนะนำสติให้มันรู้ ตามที่ผมได้กล่าวมาตั้งแต่ต้นในเรื่องการรู้จักกับรูปนี้ ตัวนี้ ก็เป็นรูปที่ ๒๘ เป็นตัวสุดท้าย เราก็จะยุติในการทำความรู้จักกับรูปธรรมกันแค่นี้ ซึ่งต่อไปเราก็จะได้เริ่มฝึกสติกันใหม่ ให้มันรู้ จักรูปกับนามต่อไปอาทิตย์หน้า

         เท่าที่ผมกล่าวมาในเรื่องการรู้จักกับรูปธรรมนั้น ผู้ใดสงสัยประการใดไต่ถามกันเสีย

         มีท่านผู้สงสัยบอกว่ารูป ๒๘ นี้ เราจะต้องแยกทุกอย่างใช่ไหมถึงจะทำโลกุตตรกุศลได้ โลกุตตรกุศลนี่นะ ในขั้นต้นนี่ เราใช้รูปตัวต้นๆ ครับ สำหรับวิการรูปนี่เราไม่ได้ใช้เสียแล้ว ส่วนใหญ่จะได้แก่มหาภูตรูป ๔ ปสาทรูป ๕ แล้วก็โคจรรูป ๔ นี่แหละครับที่เป็นตัวที่ต้องใช้มากที่สุดเพราะว่าความรู้สึก การฝึกสติให้รู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ต้องใช้รูปพวกนี้ทั้งนั้น

         คือการฝึกสตินั้นนะ ที่ท่านบอกว่าท่านฝึกได้ทางทวารใดทวารหนึ่งคือหนึ่งในหกนี่ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนี่ ถ้า เรารู้ทางหู เราฝึกไป แล้วตัวอื่นๆ มันก็จะเกิดตามขึ้นมาครบทั้ง ๖ น่ะ ไม่ต้องกลัวหรอก เราต้องค่อยทำค่อยไป มันจะปุบปับ จะให้รู้ทันทีน่ะรู้ไม่ได้หรอก

จบเรื่องทำความรู้จักกับรูปธรรม ตอนที่ ๖