เศรษฐกิจพอเพียง

"เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่ พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อ ให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงและปฏบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฬนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัฒน์
ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนใจชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐนักทฤษฏีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรอบรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุสังคมสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

หลักสำคัญ 3 ประการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

อ้างอิงจากปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฉบับพระราชทาน
	1) หลักสายกลาง	:	"ทางสายกลาง"	"ความพอเพียง"
				"ความพอประมาณ"	"ความมีเหตุผล"

	2) หลักประสิทธิภาพ	:	"ระบบภูมิคุ้มกันที่ดี"  ความรอบรู้
				ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างอย่างยิ่งในการ
				นำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการ
				ทุกขั้นตอน"

	3) หลักคุณธรรม	:	"เสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ
				ให้สำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต
				ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร
				มีสติปัญญาและความรอบคอบ"

เศรษฐกิจพอเพียง

ลักษณะสำคัญทั้งในระดับจุลภาคและในระดับมหภาค
  1. ไม่ใช่จ่ายเกินตัว/ไม่ลงทุนเกินขนาด
  2. พึ่งพาตนเองเป็นหลัก/รวมตัวกันและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
  3. ใช้ศักยภาพที่มีอยู่ให้เต็มที่/พัฒนาศักยภาพที่มีอยู่ให้สูงขึ้นและหลากหลายขึ้น
  4. เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยื่น

ที่มา : วารสาร เพื่อการพัฒนาชนบท ; ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ; ISSN 1685 - 2551 ; ภาคผนวก ; 2545