ปกป้องข้อมูลบนเครื่องลูกข่าย
ความท้าทายใหม่ของคน IT


เมื่อคอมพิวเตอร์ประเภทเครื่อง PC Destop หรือ Notebook กลายเป็นปัจจัยในการทำงานขององค์กรสมัยใหม่ และการติดต่อสื่อสารก็อยู่ในรูปของข้อมูล Digital หรือข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น E-mail หรือไฟล์เอกสารต่าง ๆ ดังนั้น ข้อมูลเหล่านั้น จึงไม่ได้อยู่ที่ตัวเซิร์ฟเวอร์อีกต่อไป ข้อมูลที่ว่านี้ กระจายอยู่ในตัว PC หรือ Notebook ถึง 60% แต่อยู่ในตัวเซิร์ฟเวอร์เพียงประมาณ(เฉลี่ย) 40%
แต่ถ้าจะพูดถึงเรื่องการรักษา หรือป้องกันความเสียหายให้กับข้อมูล บางคนเข้าใจว่า ดูแลที่ตัวเซิร์ฟเวอร์เพราะว่าตัวเซิร์ฟเวอร์เป็น แหล่งเก็บข้อมูลขนาดใหญ่และมองเห็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งโดยปกติจะเป็นหน้าที่ห้องเจ้าหน้าหรือผู้เชี่ยวชาญทางด้าน IT แต่เดี๋ยวนี้ ข้อมูลถึง 60% ที่กระจายอยู่ตามเครื่อง PC หรือ Notebook ..ใครจะเป็นผู้ดูแล..?
ปัจจุบันมีองค์กรที่ให้ความสำคัญของข้อมูลบนเครื่องลูกข่าย ได้กำหนดให้มีการจัดการอยู่ 2 รูปแบบ คือ
  • กำหนดนโยบายให้พนักงานทำสำเนางานบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์
    โดยทางผู้ดูแลอาจจะจัดพื้นที่ส่วนหนึ่งบนเซิร์ฟเวอร์ไว้สำหรับให้ผู้ใช้งานสามารถทำสำเนาข้อมูลไว้บนเซิร์ฟเวอร์ ข้อมูลนั้นก็จะถูกดูแลเช่นเดียวกับข้อมูลบนเซิร์ฟเวอร์ วิธีการนี้จะสามารถกระทำได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในเรื่องของซอฟต์แวร์ แต่วิธีการนี้เมื่อเกิดการปฏิบัติจริงก็มักจะพบปัญหาดังต่อไปนี้
    1. ขาดการทำแบคอัพข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ ทำให้การปกป้องข้อมูลไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากไม่สามารถควบคุมได้โดยตรง
    2. สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในด้านฮาร์ดแวร์สูงเกินความจำเป็น การประเมินพื้นที่รองรับการใช้งานทำได้ยาก เนื่องจากการเก็บข้อมูลสถิติเป็นไปด้วยความลำบาก การดูแลทำได้จำกัด
    3. หากมีการสูญเสียของฮาร์ดดิสจะต้องติดตั้งโปรแกรมใหม่ทั้งหมด และไม่สามารถกู้ระบบกลับได้อย่างสมบูรณ์ บางครั้งไฟล์ข้อมูลที่ต้องการใช้อาจจะไม่ใช่ไฟล์ที่ถูก update ครั้งล่าสุด เพราะการสับสนในเรื่องของเวอร์ชั่นของไฟล์ที่จัดเก็บ
    4. การค้นหาไฟล์ข้อมูลจะทำได้ลำบาก ถ้าหากมีการจัดเก็บที่ไม่ดีพอ
    5. การเก็บข้อมูลอาจจะไม่เป็นความลับ และไม่มีความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้
  • จัดหาซอฟต์แวร์ Backup ให้พนักงานใช้ดูแล
    วิธีการนี้เหมาะสำหรับการใช้งานส่วนตัวของพนักงาน หรือองค์กรมีขนาดเล็ก ซึ่งในบางสภาวะก็เกิดปัญหาขึ้นได้ เช่น
    1. เนื่องจากผู้ใช้งานไม่ชำนาญในเรื่องคอมพิวเตอร์ จึงเกิดการละเลยและไม่ปฏิบัติตาม ตลอดจนความไม่สะดวกอันเกิดจากผู้ใช้งานที่อาจต้องเดินทางบ่อย ๆ เช่น ผู้บริหาร หรือพนักงานขาย
    2. เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล backup ที่จะต้องจัดหาให้แก่เครื่องลูกข่าย กรณีที่ไม่ได้ใช้เครื่องมือที่แถมมากับระบบปฏิบัติการ (OS)
    3. การควบคุมดูแลการ backup ไม่สามารถทำได้จากส่วนกลาง

    ความท้าทายใหม่ในการปกป้องข้อมูล

    จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น ทำให้องค์กรต้องมองหาเครื่องมือตัวใหม่ที่จะมารองรับการ backup ข้อมูลของ PC และ Notebook โดยเครื่องมือนั้นจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
    1. เป็นระบบที่สามารถดูแลได้จากส่วนกลาง โดยที่ผู้ดูแลไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของ IT มาคอยดูแลตลอดเวลา และการทำงานมีลักษณะเป็นอัตโนมัติมากที่สุด สามารถกู้ไฟล์ได้อย่างรวดเร็วทั้งตัวเซิร์ฟเวอร์เองและตัวลูกข่าย
    2. สามารถ backup ข้อมูลได้ทุกสภาวะ ทั้งในระบบ LAN, Internet หรือ ระบบ Dial - up มีความยืดหยุ่นสูง
    3. สามารถรองรับการใช้งานได้จากเจ้าของเครื่องเองหรือส่วนกลาง
    4. ต้องกระทบกระเทือนต่อการทำงานในสภาวะปกติน้อยที่สุด
    5. จะต้องประหยัดค่าใช้จ่าย กว่าการ backup ด้วยวิธีเดิมที่เคยใช้อยู่