สภาพทั่วไป

        จังหวัดเพชรบุรี ตั้งอยู่ทางภาคกลางตอนใต้ของประเทศไทย จัดอยู่เป็นกลุ่มจังหวัดภาคกลางกลุ่มตะวันตก อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 สายธนบุรี - ปากท่อ (พระรามที่ 2) บรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ระยะทางประมาณ 120 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 6,225,138 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,890,711.2 ไร่ (เป็นพื้นที่ทำการเกษตร 835,377 ไร่ ร้อยละ 21.47 ของพื้นที่ทั้งหมด ) ทิศเหนือติดกับอำเภอปากท่อจังหวัดราชบุรี อำเภออัมพวา และอำเภอเมืองฯ จังหวัดสมุทรสงคราม ทิศใต้ติดกับอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทิศตะวันออกติดกับชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ทิศตะวันตกติดกับพรมแดนประเทศสหภาพพม่า ลักษณะ ภูมิประเทศแบ่งเป็น 3 เขต คือ

1. เขตเขาและที่ราบสูงด้านตะวันตกอยู่ในอำเภอแก่งกระจานและอำเภอหนองหญ้าปล้อง อุดมด้วยทรัพยากรป่าไม้และแร่ธาตุ เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารต่าง ๆ อากาศเย็นตลอดปีเหมาะแก่การทำเหมืองแร่และพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

2. เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ อยู่ในพื้นที่บางส่วนของอำเภอเมืองฯ อำเภอเขาย้อย อำเภอชะอำ อำเภอท่ายาง อำเภอบ้านลาด และอำเภอบ้านแหลม เหมาะแก่การประกอบเกษตรกรรม

3. เขตที่ราบฝั่งทะเลด้านตะวันออก อยู่ในอำเภอบ้านแหลม อำเภอเมืองฯ และอำเภอ ชะอำ เป็นแหล่งเศรษฐกิจในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านการประมง อุตสาหกรรม การค้า ธุรกิจการบริการและการท่องเที่ยว เป็นต้น

สภาพสังคม การปกครอง และคุณภาพชีวิต

     ประชากรจังหวัดเพชรบุรี ประชากรทั้งสิ้น 456,233 คน เป็นชาย 222,975 คน เป็นหญิง 233,258 คน ความหนาแน่นของประชากรเท่ากับ 73 คน/ตารางกิโลเมตร อำเภอ ที่มีประชากรมากที่สุด ได้แก่ อำเภอเมืองเพชรบุรี อำเภอท่ายาง และอำเภอชะอำ อำเภอที่มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุด ได้แก่ อำเภอเมืองฯ อำเภอบ้านแหลม และอำเภอบ้านลาดตามลำดับ

 

ตาราง แสดงพื้นที่จำนวนประชากรและความหนาแน่นของประชากรเป็นรายอำเภอ

อำเภอ

จำนวนประชากร

(คน)

พื้นที่

(ตร.กม.)

ความหนาแน่นของ

ประชากร (คน: ตร.กม.)

เมืองเพชรบุรี

เขาย้อย

ชะอำ

ท่ายาง

บ้านลาด

บ้านแหลม

หนองหญ้าปล้อง

แก่งกระจาน

121,739

37,779

65,891

84,346

50,316

56,825

13,349

25,988

283.901

305.648

660.662

736.667

298.138

189.885

1,249.799

2,500.478

428.41

123.52

99.61

114.79

169.94

298.67

10.80

10.50

รวมทั้งจังหวัด

456,233

6,225.138

73.39

 

    การปกครอง จังหวัดเพชรบุรี แบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ 93 ตำบล 684 หมู่บ้าน เทศบาล 11 แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบล 69 แห่ง มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 คน และสมาชิกวุฒิสภา 1 คน

ตารางแสดงการปกครองจำแนกเป็นรายอำเภอและเทศบาล

อำเภอ

ตำบล

หมู่บ้าน

เทศบาล

สภาตำบล

อบต.

เมืองเพชรบุรี

เขาย้อย

ชะอำ

ท่ายาง

บ้านลาด

บ้านแหลม

หนองหญ้าปล้อง

แก่งกระจาน

24

10

9

12

18

10

4

6

183

57

66

114

115

68

30

51

3

1

2

2

1

2

-

-

3

1

-

-

6

1

1

1

17

8

5

10

12

9

3

5

รวมทั้งจังหวัด

93

684

11

13

69

    ด้านเศรษฐกิจ สภาพเศรษฐกิจ ปี 2540 ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อคน ต่อปี 57,399 บาท เป็นอันดับ 22 ของประเทศ ผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งจังหวัด (GROSS PROVINCE PRODUCT/GPP) 24,681.370 ล้านบาท อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจร้อยละ 4.07 รายได้ ส่วนใหญ่เป็นภาคเกษตรกรรม การแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร การค้าส่งและค้าปลีก การบริการ การคมนาคมขนส่ง การอุตสาหกรรม การก่อสร้างและการทำเหมืองแร่ เป็นต้น

* พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว สับปะรด อ้อย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผักสด ชมพู่เพชร น้ำตาลโตนด มะละกอ มะนาว มะพร้าว กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ กล้วยหอม เป็นต้น

* เนื่องจากจังหวัดเพชรบุรี ได้รับการประกาศให้เป็นเขตอุตสาหกรรม เฟส 3 จึงมีโรงงานอุตสาหกรรมตั้งกระจายอยู่ในทุกอำเภอ ทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก จำนวน 668 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร เพื่อเพิ่มมูลค่าสนองความต้องการของตลาด เช่น โรงงานผลิตสับปะรดกระป๋อง โรงงานผลิตปูนซีเมนต์ โรงสีข้าว โรงงานถนอมผักหรือผลไม้กวนตากแห้ง โรงงานเกลือ โรงงานผลิตอุปกรณ์ก่อสร้าง เป็นต้น

ตารางแสดงรายได้เฉลี่ยของประชากรรายอำเภอ

อำเภอ

รายได้เฉลี่ย

ตำบลที่รายได้เฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ 20,000 บาท

เมืองเพชรบุรี

22,101

ตำบลนาพันสาม

เขาย้อย

21,344

ตำบลหนองปลาไหล, ตำบลหนองชุมพล

ชะอำ

20,838

ตำบลหนองศาลา

ท่ายาง

 

18,960

ตำบลกลัดหลวง ตำบลท่าไม้รวก ตำบลวังไคร้ ตำบลหนองจอกตำบลปึกเตียน ตำบลเขากระปุก ตำบลท่าแลง

บ้านลาด

24,349

ตำบลไร่โคก

บ้านแหลม

22,058

ตำบลบ้านแหลม

หนองหญ้าปล้อง

 

15,631

 

ตำบลยางน้ำกลัดใต้, ตำบลยางน้ำกลัดเหนือ, ตำบลท่าตะคร้อ
ตำบลหนองหญ้าปล้อง

แก่งกระจาน

 

11,904

 

ตำบลแก่งกระจาน, ตำบลวังจันทร์, ตำบลสองพี่น้อง, ตำบลป่าเด็ง ตำบลพุสวรรค์, ตำบลห้วยแม่เพรียง

รายได้เฉลี่ยระดับจังหวัด

19,790

 

    จากตารางรายได้ประชากรเฉลี่ยทั้งจังหวัดปี 2544 เฉลี่ย 19,790 บาท อำเภอที่มีรายได้สูงสุดคืออำเภอบ้านลาด รองลงไปคืออำเภอเมืองเพชรบุรี และอำเภอบ้านแหลม
อำเภอที่รายได้ต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยคืออำเภอแก่งกระจาน อำเภอหนองหญ้าปล้อง และอำเภอท่ายาง

    ด้านการคมนาคม จังหวัดเพชรบุรี มีเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อกับภาคใต้  และภาคต่างๆ ของประเทศ การเดินทางเข้าสู่จังหวัดเข้าได้หลายทาง

1) ทางบก

- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ( ถนนเพชรเกษม) ระยะทาง 166

กิโลเมตร

- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 (ถนนพระรามที่ 2 ธนบุรี - ปากท่อ)

ระยะทาง 120 กิโลเมตร

- ทางรถไฟ มีขบวนรถไฟวิ่งขึ้นและล่องผ่านจังหวัดเพชรบุรี วันละประมาณ 24 ขบวน ระยะทางจากกรุงเทพฯ เพชรบุรี ประมาณ 167 กิโลเมตร

2) ทางอากาศ มีสนามบินบ่อฝ้าย อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อยู่ห่างจากอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 20 กิโลเมตร

3) ทางน้ำ คาดว่าในอนาคตอันใกล้จะมีบริษัทเอกชนลงทุนในกิจการเดินทะเล ซึ่งจะทำให้สามารถติดต่อกับชายฝั่งทะเลตะวันออก เช่น พัทยาและชลบุรีได้ จะทำให้จังหวัดเพชรบุรีเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งทางน้ำที่สำคัญอย่างยิ่งในภาคตะวันตก
เส้นทางเดินรถยนต์ ระยะทางจากตัวจังหวัดเพชรบุรี ไปยังอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัด มีระยะทาง ดังนี้

                            - อำเภอเมืองฯ 1 กิโลเมตร

                            - อำเภอเขาย้อย 22 กิโลเมตร

                            - อำเภอชะอำ 40 กิโลเมตร

                            - อำเภอท่ายาง 17 กิโลเมตร

                            - อำเภอบ้านลาด 6 กิโลเมตร

                            - อำเภอบ้านแหลม 12 กิโลเมตร

                            - อำเภอหนองหญ้าปล้อง 35 กิโลเมตร

                            - อำเภอแก่งกระจาน 52 กิโลเมตร

     การสื่อสาร จังหวัดเพชรบุรี มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขครบทุกอำเภอ รวม 10 แห่ง มีชุมสายโทรศัพท์ทั้งหมด 39 ชุมสาย มีจำนวนเลขหมาย 70,000 เลขหมาย มีสถานีวิทยุกระจายเสียง 1 แห่ง ตั้งอยู่หลังเขาบันไดอิฐ ตำบลบ้านหม้อ อำเภอเมืองเพชรบุรี มีคลื่นความถี่ FM.95.75 เม๊กกะเฮีร์ซ