1.gif (7438 bytes)
หน้าสารบัญ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด แปด เก้า
สิบ สิบเอ็ด สิบสอง สิบสาม สิบสี่ สิบห้า สิบหก สิบเจ็ด สิบแปด


lo1.gif (2390 bytes)     ๑๑. ถาม คำที่ว่าการปฏิบัติวิปัสสนา เป็นการถ่ายเทความเข้าใจผิดออกจากรูปนามนั้น อยากทราบนักว่า บัดนี้เรากำลังมีความเข้าใจผิดอะไรในรูปนามอยู่เล่า

lo1.gif (2390 bytes)        ตอบ อันที่จริงความเห็นผิดที่ว่า เราเห็น-เราได้ยิน-เรารู้กลิ่น-เราลิ้มรส-เราถูกต้อง-เราเดิน-เรายืน-เรานั่ง-เรานอน เป็นต้น เหล่านี้แหละ มันเป็นความเข้าใจผิดที่ลึกซึ้งเหลือเกินจนคนธรรมดารู้ไม่ได้ว่ามันเป็นความเข้าใจผิด แต่ถ้าเราจะมาพิจารณากันด้วยเหตุผลสักหน่อยหนึ่งว่าd1.GIF (11900 bytes) การเห็น-ได้ยิน-รู้กลิ่น-ลิ้มรส-ถูกต้อง-เดิน-ยืน-นั่ง และนอนเหล่านี้แหละ มันเป็นเราที่ตรงไหน เพียงแค่นี่ก็พอจะสังเกตเห็นได้แล้วว่า มันเป็นความเข้าใจที่เลื่อนลอย หาหลักอะไรไม่ได้เลยตามหลักธรรมะของพระ ท่านว่า "เดินเป็นรูป แม้ นั่ง-นอนก็เป็นรูป"   แต่เราเป็นสาวกของพระพุทธองค์ ทำไมจึงได้ไปตู่เอารูปต่างๆเหล่านั้นมาเป็นเราเสียเล่า เรามันเป็นลูกที่มีความเห็นผิดกับพ่อนี่ ที่จริงสมเด็จพ่อก็สอนไว้ในที่หลายต่อหลายแห่ง เช่นในอนัตตลักขณสูตร ก็มีว่า -รูปไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ก็ถ้าว่ารูปนี้เป็นเราและเป็นของๆเราแล้ว มันก็ไม่ควรที่จะเป็นไปเพื่อป่วยไข้ซิ ควรจะเป็นไปตามความประสงค์ของเรามิใช่หรือ แต่นี่เพราะรูปนามนี้ มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของๆเรา มันจึงได้เปลี่ยนแปลงไปเป็น อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา บังคับบัญชาอะไรไม่ได้เลย เมื่อเราได้พยายามเฝ้าใช้โยนิโสมนสิการคอยสังเกตดูอิริยาบถทุกๆอิริยาบถที่เปลี่ยนไป โดยมีความรู้สึกตามไปในขณะที่จะเปลี่ยนนั้น หนักเข้าๆก็จะรู้สึกขึ้นมาว่า ตนเองไม่มีอำนาจอะไรในอิริยาบถแต่ละอย่างเลย เมื่อถึงคราวที่มันจะเปลี่ยน ก็ฝืนมันไม่ได้ ต้องยอมเปลี่ยนให้มัน มิฉะนั้นก็จะเป็นทุกข์ ทนอยู่ไม่ได้แน่นอน พิจารณาดูก็เหมือนกับคนไข้กับคนที่พยาบาลไข้ไม่ต่างกันเลย คนไข้ก็มีแต่ความเจ็บเสวยทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัส จะช่วยตัวเองก็ไม่ได้ จำต้องอาศัยคนที่พยาบาลคอยพยุงให้ลุก ให้นั่ง อยู่ร่ำไป นับเป็นความลำบากทั้งคนที่เป็นไข้ ลำบากทั้งคนที่พยาบาลไข้อย่างชนิดที่ไม่มีช่องว่างให้พักผ่อนบ้าง ข้อนี้ฉันใด แม้นามรูปที่ปรากฏอยู่ตามอิริยาบถก็เหมือนกับคนที่เป็นไข้ คนที่เข้าไปยึดว่ารูปนามเป็นของเราก็ต้องพยายามเปลี่ยนอิริยาบถแก้ทุกข์กันอยู่วันยังค่ำ คืนยังรุ่งไม่มีที่สิ้นสุด เป็นสภาพที่น่าเบื่อหน่ายอย่างเหลือประมาณ ถ้าเราพยายามปฏิบัติไปด้วยความสังเกตที่สุขุมโดยติดต่อแล้ว ก็จะรู้สึกว่าไม่มีอะไรที่จะนอกเหนือไปจากทุกข์ ทุกข์อยู่ที่นามรูป รูปเก่า ในอิริยาบถเก่าก็ทนอยู่ไม่ได้ ครั้นเปลี่ยนไปสู่อิริยาบถใหม่หนักเข้าก็ทนอยู่ไม่ได้อีก ต้องเปลี่ยนกันอีก ขั้นแรกๆจะเห็นทุกข์ในอิริยาบถเก่าก่อน เพราะมันหยาบเห็นได้ง่ายกว่าทุกข์ในอิริยาบถใหม่ สังขารทุกข์ในอิริยาบถใหม่นั้นเป็นของละเอียดเห็นได้ยากกว่า แต่เมื่อผู้ปฏิบัติใช้ภาวนามยปัญญาสังเกตกำหนดไปๆก็จะเกิดความรู้สึกใหม่ๆขึ้นมาว่า แต่ก่อนเราคิดผิดว่า การเดินเป็นต้นนี้ เป็นเรา จึงทึกทักเอาว่า-เราเดิน-เรานั่ง-เรานอน เป็นต้น ที่จริงแล้วอิริยาบถเดิน-ยืน-นั่ง และนอนเป็นแต่สักว่า-ธรรมะไม่ใช่เรา ความเข้าใจว่าเดิน-ยืน-นั่ง-นอนเป็นเรานั้น เป็นความเห็นผิดที่เรียกว่า "มิจฉาทิฏฐิ" ต่างหาก นี่แหละการปฏิบัติวิปัสสนาd1.GIF (11900 bytes) จึงเป็นการถ่ายเทความเห็นที่ผิดๆออกไป โดยรับเอาแต่ความเข้าใจถูกเข้าสู่จิตใจแทนที่ ความเห็นจึงเป็นวิสุทธิคือ เป็นความเห็นที่หมดจดที่เรียกว่า "ทิฏฐิวิสุทธิ" อันเป็นตัวปัญญาโดยตรงทีเดียว ตรงนี้แหละนับว่าเป็นความประสงค์ในทางพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะทีเดียว อนึ่งในที่ใดมีปัญญา ในที่นั้นก็จะต้องมีศีลและสมาธิ จะขาดเสียไม่ได้ แต่ในที่ใดมีศีล-สมาธิ ปัญญาไม่ต้องมีก็ได้ เช่นขณะทำสมถะกรรมฐาน ศีลและสมาธิมี แต่ปัญญาไม่มีก็ได้ เพราะการเจริญสมถะไม่ได้มุ่งที่จะทำปัญญาให้เกิดขึ้นเพียงแต่อาศัยปัญญาคอยรักษานิมิตรแห่งกรรมฐานขณะที่ยังมิได้เกิดฌานเท่านั้น แต่เมื่อเกิดฌานแล้วไม่จำเป็นใช้ปัญญาก็ได้ในที่ใดมีศีลในที่นั้นจะไม่มีสมาธิและปัญญาก็ได้ เช่น ในขณะที่พระ-เณรบวชอยู่ ที่จริงศีลของท่านมีอยู่แต่ท่านมิได้ทำสมาธิและเจริญปัญญาเท่านั้นแต่นั่นแหละผู้ที่หวังจะทำความเห็นให้เป็นวิสุทธิหากไม่เจริญไตรสิกขาคือศีลสมาธิและปัญญาให้เกิดพร้อมในอารมณ์เดียวกันวิสุทธิเป็นอันว่าเกิดมีขึ้นไม่ได้แน่ๆเพราะการทำงานของไตรสิกขา ไม่ได้เป็นเอกสมังคีในอารมณ์อันเดียวกัน ดังนั้น ประตูที่จะทำให้เข้าถึงตัวศาสนาที่สำคัญก็อยู่ตรงที่ปฏิบัติวิปัสสนาเท่านั้น วิปัสสนามีสติปัฏฐานเป็นเหตุผู้ที่เจริญสติปัฏฐานประเภทกายานุปัสสนาโดยเฉพาะอิริยาบถบรรพดังที่กล่าวมา ก็เป็นวิถีทางหนึ่งที่จะนำออกจากวัฎฏทุกข์ได้แน่นอน จึงขอให้ท่านผู้สนใจในหลักธรรมปฏิบัติพึงมนสิการตามแนว เท่าที่ได้ยกเอาบาลีอรรถกถาฎีกา พร้อมด้วยหลักปฏบัตมาแสดงไว้โดยย่อนี้ด้วยจะเป็นประโยชนแก่ตัวของท่านเองด้วยทั้งจะเป็นอายุของพระพุทธศาสนาอีกส่วนหนึ่งด้วย หากเราไม่ทำเสียแต่ชาตินี้ในชาติต่อไปขออย่าหวังเลย เพราะชาติหน้าต้องทำเป็นนิสัยไปตั้งแต่ชาตินี้ หากไม่ทำไว้จะไปเอานิสัยนิสัยในชาติหน้ามาจากไหนกัน ฯ

mail.gif (4673 bytes)
จัดทำโดย
มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
flower.gif (1468 bytes)